กระผม นายปรัตถกร ขาวสระ กลุ่มประชาชน หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่หมู่ที่ 8  บ้านหนองกง  ต.บ้านสิงห์  อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์    ได้ลงพื้นที่กับคณะทำงาน ประจำเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ในวันที่ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายการอบรมกิจกรรม อบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้เรียนเชิญเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ร่วมโครงการในการพัฒนาในครั้งนี้ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาให้ข้อมูลและสอนวิธีการทำตราโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ชินานาง   สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล และสินค้าที่ได้ร่วมกันออกแบบ ได้แก่     กล้วยแปรรูปของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี

ต่อมา ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เวลา18:20 น. เป็นต้นไป เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเดือนธันวาคม ซึ่งในเดือนธันวาคมนี้จะมีการลงพื้นที่เพื่อทำจิตอาสาทำความดีเพื่อพ่อเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ณ วัดโพธิ์คงคา และมีงานที่ได้รับมอบหมายคือการถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน ในรูปแบบรายงาน “การดำเนินงานรายตำบล (TSI)” ซึ่งมีหัวข้อรายละเอียดหลัก ๆ เช่น ข้อมูลพื้นที่ตำบล  ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ การพัฒนาพื้นที่  กลไกการดำเนินงาน  ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ  ผลลัพธ์เชิงสังคม และข้อเสนอแนะ โดยให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มต้องช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายนี้ให้สำเร็จ

   

ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564 กระผมได้ร่วมระดมสมอง และทำงานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายซึ่งหัวข้อที่กระผมได้รับผิดชอบ คือ ด้านกลไกการดำเนินงาน กระผมได้นำขั้นตอนการดำเนินงานในรูปแบบ PDCA มาบูรณาการเข้ากับการ ในการปฏิบัติงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ซึ่งมีแนวคิด และรายละเอียด ที่ได้นำเสนอต่อสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งในการปฏิบัติงานภายใต้โครงการ​ยก​ระดับ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ราย​ตำบล​แบบ​บูรณ​าการ​ (1 ตำบล​ 1 มหา​วิทยา​ลัย​) มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บุรี​รัม​ย์ HS03-คณะ​มนุษยศาสตร์​และ​สังคม​ศาสตร์​ ตำบล​บ้าน​สิงห์​ อำเภอ​นาง​รอง​ จังหวัด​บุรี​รัม​ย์ นั้น การดำเนินงานโครงการมีลักษณะสอดคล้องกับกลไกและรูปแบบขั้นตอน PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (Deming, W. Edwards: 1986)   ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน ดังต่อไปนี้

P = Plan (วางแผน) โครงการดังกล่าวนี้อยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บุรี​รัม​ย์ และตำบลบ้านสิงห์ มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลขับเคลื่อนโครงการ โดยมีการจัดปฐมนิเทศก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน และทางคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้จัดประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน  ก่อนการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งสมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ประชุม ปรึกษาหารือ วางแผนในการที่จะลงไปปฏิบัติงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย ซึ่งมีการลงไปนัดหมายกับชุมชนและการจัดทำตารางวัน เวลา ที่ลงปฏิบัติกิจกรรม

D = Do (ปฏิบัติตามแผน) เมื่อประชุมวางแผนได้ข้อสรุปและนัดหมายกับชุมชน และจัดทำตารางการทำกิจกรรม และแจ้งให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มทราบแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล สะท้อนปัญหาจากชุมชน เพื่อนำมาหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในชุมชนในลำดับต่อไป

C = Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) เมื่อปฏิบัติงานตามแผนแล้วเกิดปัญหา อุปสรรคระหว่างการปฏิบัติงาน ได้มีการการประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน รวมทั้งได้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เพื่อให้โตรงการได้เกิดการพัฒนา ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

A = Act (ปรับปรุงแก้ไข)   สมาชิกในกลุ่มได้นำผลการประเมินมาทำการมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป

 

และในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2564  กระผมได้ร่วมกิจกรรมการอบรมด้านจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบล  บ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเข้าร่วมการทำจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกับประชาชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดและล้างห้องน้ำให้กับวัด เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อไป

นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 7 ธันวาคม 2546 นี้ กระผมและคณะทำงานได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ตามแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)  ซึ่งกระผมรับผิดชอบหมู่ 8 บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในเขตพื้นที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบ สรุปข้อมูลได้ดังนี้

สำหรับการสำรวจด้านที่พักอาศัยนั้น มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน การสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ การดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน  เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน มีการล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย

สำหรับกลุ่มประชาชนนั้น ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน ซึ่งศาสนสถานในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ วัดโพธิ์คงคา  สำนักปฏิบัติธรรมวัดตามุมเวฬวนาราม  วัดบ้านหนองทะยิง  ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง  วัดบ้านหนองกง  และ สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า สำหรับศาสนสถาน ได้มีการคัดกรอง โดยการตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ที่ทางเข้า-ออก เพื่อสังเกตตนเอง  มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ทำกิจกรรม มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์ไว้ทุกจุดที่มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ  มีมาตรการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ให้เยอะจนเกินไปเพื่อลดความแออัด  มีการจดวางสมุดบันทึกเพื่อลงทะเบียนชื่อและเวลาเข้า-ออก มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมออยู่แล้ว  มีการคัดกรองผู้ที่ปรุงอาหารก่อนเข้าทำการปรุงอาหารทุกครั้ง และมีการรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

 

อื่นๆ

เมนู