นางสาวรัตนาพร แก้วแจ่มจันทร์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564 ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร HS03 การส่งเสริมและพัฒนาขนมไทย

    เนื่องจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีผู้ติดเชื่อลดลงและรวมไปถึงการได้รับวัคซีนเกิน 60 % ตามที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ก็ตาม การลงพื้นที่ปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าอย่างเคร่งครัด ในการจัดอบรมทุกครั้งมีการสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีการตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “สายพันธุ์โอไมครอน” ที่สามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และยังไม่มีผลวิจัยรับรองในเรื่องของวัคซีนที่ประชาชนได้รับไปจะสามารถป้องกันสายพันธุ์นี้ได้หรือไม่ ดังนั้นการลงพื้นที่หรือการจัดกิจกรรมต่างๆจึงปฏิบัติตามมาตราการป้องกันอย่างเคร่งครัด

การปฏิบัติงานเดือนธันวาคม สืบเนื่องมาจากเดือนพฤศจิกายน โดยมีการปฏิบัติงาน ดังนี้

     วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 อบรมการพัฒนาเครื่องหมายการค้า (logo) ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้ 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตขนมในท้องถิ่นที่สนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้  โดยเนื้อหาการอบรมสรุปได้ดังนี้  โลโก้ (Logo) คือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงภาพสัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ ได้แก่ สินค้าและบริษัทผู้ผลิต การออกแบบโลโก้สินค้า และบริษัทให้มีเอกลักษณ์แบบเฉพาะตนเอง จะช่วยให้มีความน่าเชื่อถือ และตราตรึงต่อผู้บริโภคตลอดไป ดังนั้นโลโก้จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อ ความนิยม และการจดจำเกี่ยวกับองค์กรหรือสินค้าและมันคืองานของ Designer ในการสร้างสรรค์โลโก้ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพราะโลโก้นั้นไม่ได้เป็นแค่เครื่องหมายเฉย ๆ แต่โลโก้นั้นสะท้อนถึงภาพลักษณ์ในทางการตลาดของธุรกิจ

    จุดประสงค์หลักของการออกแบบโลโก้

     โลโก้ (Logo) ที่ปรากฏต่อสายตาเป็นภาพลักษณ์แรกที่ลูกค้าจะได้รู้จัก ดังนั้นจึงมีความหมายต่อธุรกิจอย่างไม่ต้องสงสัย โลโก้ที่ดีจะช่วยสร้างเครดิตให้กับกิจการหรือองค์กรธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าขายสินค้าคุณภาพ โลโก้นั้นต้องสะท้อนสิ่งนี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการออกแบบโลโก้ มีดังนี้คือ

  1. เพื่อทําให้คนอื่นจดจําได้ง่าย สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าโลโก้นี้คือแบรนด์อะไร
  2. เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ เพิ่มความจงรักภักดี (Loyalty) ของแบรนด์
  3. เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมืออาชีพ
  4. เพื่อช่วยสะท้อนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  5. เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึก ความเชื่อมั่น เกิดความเข้าใจในตัวสินค้า และยอมรับในตัวสินค้า                   องค์ประกอบการออกแบบโลโก้    โลโก้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เท่านั้น แต่การออกแบบโลโก้ที่มีประสิทธิภาพนั้น ยังสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือ การแสดงตัวตนและเก็บรักษาความทรงจำของแต่ละบุคคล บริษัทหรือองค์กร และองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบโลโก้ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ดังนี้คือ                                                       1.มีความสอดคล้อง โลโก้จะต้องมีความสอดคล้องกับความหมายในตัวของมันเอง กับสโลแกน ตัวอักษรและแนวความคิดทางการตลาด การเพิ่มองค์ประกอบในส่วนที่มีความคล้ายคลึงกันกับบริบทความแตกต่างกันทางด้านการตลาดจะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงต่อการออกแบบ โลโก้และแบรนด์ของบริษัทได้ 2.มีความน่าจดจำ การสอดคล้องกันจะนำไปสู่ความน่าจดจำ โลโก้ควรจะออกแบบให้มีความเรียบง่าย และชัดเจนเพื่อที่ผู้พบเห็นหรือลูกค้าจะสามารถจดจำมันได้อย่างง่ายดาย ยกตัวอย่าง การออกแบบที่เรียบง่ายของบริษัทแอปเปิล ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้เลย แต่มันก็นำไปสู่การจดจำอย่างไม่จำกัดของลูกค้า3.ต้องมีความหมาย การออกแบบโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถถ่ายทอดข้อความที่มีความหมายของแบรนด์สินค้าไปสู่ลูกค้า การออกแบบของเว็บไซต์อเมซอนของอเมริกา เป็นการบ่งบอกว่าพวกเขาสามารถขายสินค้าได้ทุกอย่างจาก A-Z และลูกค้าก็มีรอยยิ้มด้วยความประทับใจกับการบริการ

    4.ต้องไม่ซ้ำแบบใคร หากจะจินตนาการไปถึงโลโก้ที่มีความคล้ายคลึงกัน เลียนแบบกันกับโลโก้ในตลาด สิ่งที่ผู้ผลิตหรือบริษัทองค์กรจะได้รับก็คือ ลูกค้าจะเกิดความรู้สึกสับสนในชื่อยี่ห้อที่พวกเขาต้องการจะซื้อ ดังนั้นการออกแบบโลโก้ที่ไม่ซ้ำกับใครก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะดูซับซ้อนจนเกินไป อย่างเช่น โลโก้ของแมคโดนัลเป็นหนึ่งในบรรดาของโลโก้ที่ง่ายที่สุดสำหรับการออกแบบอัตลักษณ์ของสินค้าในตลาดที่สังเกตเห็นได้ชัดและแน่นอนว่ามันมีความเป็น เอกลักษณ์ในตัวเองด้วย

    5.มีความเป็นมืออาชีพ บริษัทจะต้องมั่นใจว่าโลโก้ของตนมีการออกแบบให้รองรับการพิมพ์งานได้ทุกวัสดุที่มี และต้องมีคุณภาพสูง นอกจากคุณภาพของกราฟิกก็ควรจะต้องมีความคมชัดและชัดเจน

    6.ไม่มีขอบเขตทางด้านเวลา หมายถึงเวลาไม่สามารถจะทำให้ภาพลักษณ์ หรือความหมายของโลโก้เลือนหายไปได้ง่าย ๆ นอกจากว่าบริษัทจะมีการรีแบรนด์หรือสั่งทำโลโก้ใหม่นั่นเอง ถ้าโลโก้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ และต่อเนื่องกันตลอดก็จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์สินค้า ลูกค้าจะรู้สึกไม่เชื่อถือในสินค้า ไม่รู้สึกเกิดความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่มี

    7.การเลือกใช้สี สีของโลโก้ของบริษัทจะต้องมีความสอดคล้องกันในด้านของทฤษฎีสีและยังสื่อถึงการกำหนดตัวตนของบริษัทด้วย ดังนั้นการกำหนดสีจึงไม่ง่ายที่จะทำให้น่าสนใจแต่คงพื้นฐานไว้ที่สีขาวหรือ สีเทาโทน โมโนโครมหรือเทาซึ่งจะช่วยให้คนตาบอดสีเห็นได้ ดังนั้นองค์ประกอบการออกแบบโลโก้เหล่านี้สามารถที่จะประสบความสำเร็จให้ได้รับความสนใจสำหรับธุรกิจหรือองค์กร ควรรับคำแนะนำหรือความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบแล้วธุรกิจหรือองค์กรจะได้รับโลโก้ที่ดี

       ในการอบรมครั้งนี้ได้เลือกออกแบบโลโก้ให้กับกล้วยฉาบแม่อารมณ์และขนมทองม้วนแม่ทองพูน

     

   กล้วยฉาบแม่อารมณ์ เลือกใช้รูปแม่อารมณ์เป็นต้นฉบับในการสเก็ตภาพให้ออกมาในรูปแบบภาพเสมือนจริงเพื่อให้เหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น มีการเพิ่มช่องทางการติดต่อเช่น ที่อยู่การผลิตและส่งออก เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น  และการเพิ่มชื่อรสชาติกล้วยฉาบลงบยโลโก้เพื่อให้สะดวกต่อการซื้อขาย

    ทองม้วนแม่ทองพูน เลือกใช้รูปขนมทองม้วนในรูปแบบการ์ตูนเป็นสัญลักษณ์บนโลโก้ โดยมีชื่อ ทองม้วนทองพูน เป็นชื่อทางการค้า โดยมีโฆษณาชวนเชื่อคือ “กรอบ สด ใหม่ ไม่ใส้วัตถุกันเสีย” เพื่อเป็นจุดดึงดูดลูกค้า และ มีการเพิ่มช่องทางการติดต่อเช่น ที่อยู่การผลิตและส่งออก เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564  ผู้ควบคุมดูแลโครงการและตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมสัมนาในหัวข้อ “โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ” ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยหลักการสำคัญเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติกำหนดโดยมีทั้งหมด 17 เป้า แบ่งออกเป็นครอบคลุมทั้ง 3 มิติ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ มิติความร่วมมือและ แบ่งออกเป็น 5P ซึ่งปรากฏอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ

  1. ประชาชน
  2. ความเจริญ
  3. โลกธรรม
  4. สันติสุข
  5. การมีส่วนร่วม

4P เป็นผู้ขับเคลื่อน คือ

  1. การร่วมกันดำเนินการ
  2. การทำโดยการส่งเสริมแบบคนเดียว
  3. ร่วมกันทำแบบสาธารณะ
  4. และให้เกิดการดำเนินการระหว่างชุมชน

โดยดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน

  1. พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
  2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
  3. สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
  4. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. ความมั่นคงและการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งยั่งยืน
  6. การบริหารภาครัฐให้เกิดความโปร่งใส

        และประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการจัดสัมมนา “การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการของคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงานมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคือสำนักพัฒนาฝีมือเเรงงานบุรีรัมย์  กศน. วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยเกษตรเเละเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เเละสำนักส่งเสริมวิชาการฯ

 

    ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ ตลาดนัดเย็นสี่แยกบ้านหนองขามและ ตลาดนัดเย็นบ้านโคกไม้แดง

    ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลได้รับความอนุเคราะห์จากพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยสรุปได้ดังนี้

  • มีการกำหนดทางเข้าออกอย่างชัดเจน และมีการคัดกรองพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ พร้อมทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ ตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์ทันทีและห้ามเข้าไปซื้อของในตลาด
  • มีมาตรการให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ
  • จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างเพียงพอ
  • มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิดตามช่องทางต่าง ๆ และสื่อสาร เน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการเจ้าของร้าน/แผงในตลาด รวมถึงผู้ช่วยขายทั้งชาวไทยและแรงงาน ต่างด้าว ให้สังเกตอาการตนเอง หรือถ้าได้เดินทางไป หรือเกี่ยวข้องกับแหล่งที่เกิดการระบาด แนะนำให้ไป ตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยเร็วที่สุด

โดยตลาดนัดเย็นบ้านโคกไม้แดงและตลาดนัดเย็นสี่แยกบ้านหนองขามเป็นตลาดขนาดเล็ก มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าเพียงไม่กี่ร้าน และยังตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก อีกทั้งยังมีพื้นที่กว้างขวางทำให้การจัดตั้งร้านค้ามีระยะห่าง และมีผู้จับจ่ายใช้สอยไม่แออัด

      ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ หมู่ 10 บ้านหนองทะยิง  ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ การเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย จำนวน 50 ครัวเรือน  โดยสรุปข้อมูลได้ดังนี้

  • ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสำรวจว่าตนเองและบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยต่อการติดเชื้อ หรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่
  • มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าข่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง
  • มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร
  • ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่
  • เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที

  วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ประชุมออนไลน์เพื่อมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเเป็นการถอดบทเรียนการดำเนินงานรายตำบล (TSI) ตำบลบ้านสิงห์ อําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  รับผิดชอบโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สามารถถอดบทเรียนมีดังนี้

ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

ตำบลบ้านสิงห์มีเขตการปกครองรวมทั้งสิ้น 14 หมู่บ้าน มีความโดดเด่นในด้านขนมไทย เช่น ขนมทองม้วน ขนมบ้าบิน ขนมกล้วยฉาบและผลิตภัณฑ์อื่นๆจากกล้วย

TPMAP ความต้องการพื้นฐาน มิติ

คนจน จำนวน 198 คน   จากประชากรสำรวจ 4,477 คน

 การพัฒนาพื้นที่
พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชน
ให้ความรู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า
การจัดทำตลาดออนไลน์

 กลไกการดำเนินงาน
ประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน
ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย
-ประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน
-นำผลการประเมินมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป

ผลลัพธ์
-เกิดการจ้างงานกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ประชาชน นักศึกษาจำนวน 25 อัตรา
– ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านดังนี้ ด้านการเงิน ด้านสังคม ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ
– การบูรณาการทักษะใหม่ กำลังคน และโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
– จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนอย่างละเอียด ทำให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ 

พัฒนาเชิงเศรษฐกิจ
รายได้ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30
การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)  ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 20 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ  35 และแรงงานที่ลดลง ร้อยละ 25

ผลลัพธ์เชิงสังคม
รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
รู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น
ช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม
ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น
ประชาชนมีอาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น

8. ข้อเสนอแนะ
   สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชน หากิจกรรมทำที่สามารถเกิดประโยชน์และสร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า ยกระดับมาตรฐานความโดดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก เน้นการทำงานแบบบรูณาการและให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ

วันที่ 6 ธันวาคม 2564  ร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์ ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากองการบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ และประชาชนตำบลบ้านสิงห์ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ กวาดเศษขยะและใบไม้บริเวณโดยรอบวัด กวาดและถูในศาลาวัด และล้างทำความสะอาดห้องน้ำ

อื่นๆ

เมนู