ข้าพเจ้า นางสาวระวิวรรณ ฉิมกูล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มกพร. ตำบลบ้านสิงห์ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

ศูนย์ดำรงธรรมจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีสาเหตุมาจากการร้องเรียน ร้องทุกข์ จัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์

“ศูนย์ดำรงธรรม” นั้น มาจากคำว่า “ดำรง” และ “ธรรม” โดย “ดำรง” หมายถึง ทรงไว้ชูไว้ ทำห้คงอยู่ ส่วน “ธรรม” หมายถึงความยุติธรรม ความถูกต้อง ดังนั้น “ศูนย์ดำรงธรรม” จึงหมายถึง แหล่งที่ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม นอกจากนี้ คำว่า “ดำรง” ยังสอดคล้องกับพระนามขององค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนับได้ว่า “ศูนย์ดำรงธรรม” เป็นคำที่มีความหมายและเป็นมงคลยิ่ง โดยให้ “ศูนย์ดำรงธรรม”
มีบทบาทในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนอย่างจริงจัง และเกิดเป็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการตรวจราชการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยภายใต้หลักธรรมาภิบาลพันธกิจ
1. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ และติดตามประเมินผลการพัฒนางานจังหวัด อำเภอ และรวมถึงหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ
2. อำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ในภารกิจของกระทรวงมหาดไทย
3. ติดตาม ตรวจสอบ การบริหารราชการทั่วไปของจังหวัด

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความเป็นธรรมตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชน

ขอบเขตภารกิจภายในห้องศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ     

1 .รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
2 .การบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (ONE STOP SERVICE)
3 .การส่งต่อเรื่องและประสานการดำเนินการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Service Link)
4 .การบริการข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลทางราชการ/บริการให้คำปรึกษา
5 .รับเรื่องราวความต้องการ หรือข้อเสนอแนะของประชาชน
6 .การจัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็ว (Mobile Team) เพื่อความช่วยเหลือประชาชนในกรณีเร่งด่วน
7 .การปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และผู้ว่าราชการจังหวัด

ขั้นตอนการดำเนินงาน

กลุ่มงานอำนวยความเป็นธรรมอำเภอนางรอง (ห้องศูนย์ดำรงธรรม) งานที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ มีคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ ดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน /ร้องทุกข์ของประชาชนในเขตพื้นที่ที่ได้เดินทางมาใช้บริการทางอำเภอและในระบบออนไลน์  รวมทั้งช่วยประสานเร่งรัดติดตามการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ (กระจายงานและติดตามงาน เพื่อต้องการให้หน่วยงานราชการในท้องถิ่น หน่วยงานราชการอื่น ๆได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยกัน เพราะมีเจ้าหน้าที่เฉพาะเรื่องอาจมีข้อมูลมากกว่าทางอำเภอ) อีกยังรับผิดชอบในการประมวลแยกแยะเรื่องร้องทุกข์จากช่องทางในระบบออนไลน์และหน่วยงานต่าง ๆ เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานต่อไป ภายในห้องศูนย์ดำรงธรรมจะมีท่านปลัดและเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อกฎหมายต่าง ๆ กับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติเพื่อนำประกอบข้อมูลในการดำเนินเรื่องต่อไปได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นตัวกลางในการประสานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน) เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมทั้งยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศูนย์ดำรงธรรมให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้ตั้งไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทางอำเภอนางรองจัดตั้งหน่วยประสานการจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วในลงพื้นที่ในเขตที่รับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข้อมูล หลักฐาน และข้อพิพาทต่าง ๆ เพื่อต้องการส่งเสริม สนับสนุนการ และพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนให้รวดเร็วและถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล อีกทั้งยังบริการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (E-Report) เพื่อเร่งรัด ติดตามประเมินผลงานที่ได้รับผิดชอบและรายงานผลการดำเนินงานให้กับทางจังหวัดทราบ

ด้านงานธุรการและด้านเอกสาร  รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบเอกสารแล้วเสร็จ ดำเนินการลงเลขรับในคำร้องพอสังเขปลงในสมุดคุม สมุดคุมจะคอยให้เลขข้อพิพาทในปีนั้น ๆ มี 3 แบบคือ 1. สมุดคุมเรื่องร้องเรียนทั่วไปของอำเภอนางรอง 2. สมุดคุมข้อพิพาททางแพ่งอำเภอนางรองและ3. สมุดคุมเรื่องที่ร้องเรียนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดโดยศดธ.จังหวัดบุรีรัมย์จะส่งเรื่องร้องเรียนของราษฏรที่ร้องเรียนผ่านเว็ปไซน์จังหวัดหรือผ่านเว็ปไซน์ของกรมการปกครอง ทางจังหวัดจะดำเนินการส่งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมดูแลของอำเภอนั้นๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเมื่ออำเภอตรวจสอบข้อพิพาทดังกล่าวเรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะต้องรายงานให้จังหวัดทราบภายในวันและเวลาดังกล่าว เมื่อดำเนินการกระบวนการขั้นตอนแรกเสร็จสิ้นและถูกต้องแล้วนั้น ก็จะนำแบบคำร้องที่ประชาชนเขียนไว้เกษียณหนังสือเสนอให้กับปลัดประจำห้อง โดยปลัดจะร่างหนังสือสำหรับใช้ทางราชการให้กับเจ้าหน้าที่ เมื่อพิมพ์หนังสือเสร็จเรียบร้อยก็นำคำร้อง (ต้นเรื่อง) แนบเอกสารหนังสือที่พิมพ์ ปั้มตรวจทาน  เสนอปลัดอาวุสโส และเดินแฟ้มเข้าห้องนายอำเภอเป็นที่สิ้นสุด เมื่อนำแฟ้มออกมา ตรวจทานลายเซ็นเรียบร้อย ข้าพเจ้าก็จะออกเลขหนังสือผ่านระบบสารบรรรอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจทานผู้รับหนังสือฉบับนั้น หากผู้ร้บเป็นหัวหน้าส่วนราชการทางศดธ.นางรองก็สามารถสแกนหนังสือเป็นไฟล์ PDF ส่งในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้เรย หากส่งถึงประชาชนสามารถส่งได้ที่ไปรษณีย์ตามที่อยู่ในคำร้องและเข้าสู่กระบวนการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนด

กิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ (สำนักงานอำเภอนางรอง)

วันพุธ ที่ 8 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น.
นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานและพนักงานเจ้าหน้าที่ ประชุมคณะกรรมการอำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) ในระดับพื้นที่ โดยใช้ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือในการชี้เป้าการแก้ปัญหาความยากจน ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ (การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ การเข้าถึงบริการภาครัฐ และการเงิน) ยงณ ห้องประชุมอำเภอนางรอง ชั้น 2 จังหวัดบุรีรัมย์

 

วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม 2564
ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้เก็บรวบรวมข้อมูลในการออกหน่วยบริจาคโลหิตในครั้งนี้ โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายกกิ่งกาชาดอำเภอนางรอง พร้อมด้วย คณะกาชาดอำเภอนางรอง ร่วมกับโรงพยาบาลนางรอง ออกหน่วยรับบริจาคโลหิต เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ อุบัติเหตุ และผู้ป่วยต้องการเลือด ณ ร.ร.ราชประชานุเคราะห์ 51 จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับบริจาคโลหิตทั้งสิ้น 74 ราย
  
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น.
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมและเป้นส่วนนึงในกิจกรรมจิตอาสา โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานอำเภอนางรองพร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนจิตอาสาพระราชทานอำเภอนางรอง ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 ในกิจกรรม ” Big Cleaning Day” ทำความสะอาดพื้นที่ผิว เก็บกวาดเศษใบไม้ ถุงพลาสติก จัดเก็บเก้าอี้ ณ หน่วยฉีดวัคซีนประจำอำเภอนางรอง เทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเป็นไปตามมาตรการทางสาธารณสุขในการทำความสะอาดสถานที่ ที่ใช้ดำเนินการในกิจกรรมด้วย
   
วันอาทิตย์ ที่ 5 ธันวาคม 2564
นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานในพิธี พร้อมด้วย ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ ทหารตำรวจ ข้าราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
– เวลา 07.00 น . พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ ศาลาประชาคมอำเภอนางรอง
– เวลา 08.20 น. พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ณ ศาลาประชาคมอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
 
วันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 06.00 น.
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งรวมใจไทยเป็นหนึ่ง โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรองพร้อมด้วย ปลัดอำเภอนางรองเจ้าหน้าที่และประชาชนเข้า ร่วมกิจกรรม Run for Unity วิ่งรวมใจไทยเป็น 1 รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต ณ สวนสาธารณะหนองตาหมู่ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
    

ผลที่ได้รับจากการลงมือปฏิบัติงาน
ทำให้ข้าพเจ้ามีระเบียบวินัยในการทำงาน ทำงานอย่างมีสติ มีความรอบคอบ และต้องคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาหากทำงานผิดพลาด  ต้องมีความตรงต่อเวลา ถ้าเรามาเข้างานสายงานไม่ก็สามารถรันเอกสารเรื่องต่าง ๆ ได้ เพราะส่วนที่เรารับผิดชอบไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และทำให้การดำเนินงานช้าพี่น้องประชาชนไม่ได้รับการอำนวยสะดวก ไและยังรับรู้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง ทำให้เรามีความคิดที่จะตั้งใจเรียนรู้งานได้มากขึ้น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน  ที่ได้รับหมอบหมายแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ เพราะการปฏิบัติงานอาจจะแตกต่างกันไป ทำให้ได้ความรู้ ข้อมูลและวัฒนธรมมของแต่ละองค์กรเพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการปฏิบัติต่อไป และการปฏิบัติงานนั้นต้องเป็นไปตามแผนการดำเนินงานของห้องศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง สืบเนื่องจากการปฏิบัติงานของห้องศูนย์ดำรงธรรมจะยึดหลักธรรมาภิบาล คือ แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันประกอบไปด้วย 6 หลัก ดังต่อไปนี้ 1.หลักนิติธรรม  2.หลักคุณธรรม 3.หลักความโปร่งใส 4.หลักการมีส่วนร่วม 5.หลักรับผิดชอบ และ 6.หลักความคุ้มค่า จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพ ความถูกต้องในแผนงาน รวมไปถึงความภาคภูมิใจของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู