ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13:00 ร่วมกิจกรรมอบรมออกแบบพัฒนาตราสินค้า ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย

ในการอบรมการออกแบบตราสินค้าอาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานเชิญตัวแทนชุมชนในตำบลบ้านสิงห์ที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับขนมไทยซึ่งมีตัวแทนคือ แม่อารมณ์ทำขนมกล้วยฉาบ แม่มาลีทำขนมบ้าบิน และแม่ทองพูนทำขนมทองม้วน เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ในการอบรมมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจารย์ชินานาง สวัสรัมย์  อาจารย์ประจำวิชาศิลปะดิจิตทัล  เป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้ร่วมอบรมทุกท่าน ในกิจกรรมให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่อารมณ์ กลุ่มแม่มาลีและกลุ่มแม่ทองพูน เพื่อช่วยออกแบบตราสินค้าให้มีความสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น ข้าพเจ้าได้อยู่กลุ่มแม่มาลี ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานอีก 5 ท่าน ได้สอบถามรายละเอียดต่าง ของผลิตภัณฑ์ และความต้องการของแม่มาลีเกี่ยวกับรูปแบบตราสินค้า ได้ความว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน จึงอยากให้ตราสินค้ามีความน่ารักเข้าถึงง่าย อยากใช้ชื่อลูกสาวแทนชื่อตนเอง และใส่ข้อมูลรายละเอียดการติดต่อติดต่อต่างๆ เพื่อความสะดวกหากลูกค้าต้องการซื้อเพิ่ม

 

สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด

จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

 

สำรวจข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 4 ท่าน

ในตำบลบ้านสิงห์มีสถานศึกษาจำนวน 5 แห่งได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
3.โรงเรียนบ้านสิงห์ราษฎร์นุสรณ์
4.โรงเรียนบ้านหนองกง
5.โรงเรียนสิงวิทยาคม
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่ดีขึ้นในช่วงนี้ทำให้ทำให้โรงเรียนสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบปกติได้ ดังนั้นโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์มีมาตรการณ์ในการดูแลนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนดังนี้

ด้านความปลอดภัยเพื่อการลดการแพร่เชื้อโรค
มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
มีการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนในสถานศึกษา
มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ และมีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหารอย่างเพียงพอ
มีการจัดโต๊ะเรียนเก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
การกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟันผ้าเช็ดหน้า

ด้านการเรียนรู้
มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอดคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา

ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง
มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน
มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม
มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรรวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน
มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน

ด้านนโยบาย
มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครองโดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน
มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน

ด้านการบริหารการเงิน
มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา เช่นเจ้าหน้าที่่สาธารณะสุขและอสม.

 

ถอดบทเรียนการดำเนินงานรายตำบล (TSI) ตำบลบ้านสิงห์ อําเภอนํางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาจารย์อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันวิเคราะห์ถอดบทเรียนการดำเนินงานรายตำบลตลอดทั้งโครงการที่ได้ทำกิจกรรมตามหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ สามารถถอดบทเรียนได้ดังนี้

1. ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม

หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม
หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์
หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง
หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี
หมู่ที่ 6 บ้านสระหมู
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย
หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง
หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง
หมู่ที่ 10 บ้านหนองทะยิง
หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน
หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง
หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง
หมู่ที่ 14 บ้านโพธิ์ทอง
มีความโดดเด่นในด้านขนมไทย เช่น ขนมทองม้วน ขนมบ้าบิน ขนมกล้วยฉาบ

2. TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ

คนจน จำนวน 198 คน
จากประชากรสำรวจ 4,477 คน

3. การพัฒนาพื้นที่
-โจทก์พื้นที่
1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชน
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กิจกรรมการพัฒนา
การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าในตำบลบ้านสิงห์
1) สอบถามข้อมูลและความต้องการของผู้ประกอบการ
2) ให้ความรู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า
3) การจัดทำตลาดออนไลน์
การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
-รณรงค์การฉีดวัคซีนและให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

4. กลไกการดำเนินงาน
1) ประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน
2) ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในชุมชนในลำดับต่อไป
3) ประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน
4) นำผลการประเมินมามาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป

5. ผลลัพธ์
1) เกิดการจ้างงานกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ประชาชน นักศึกษาจำนวน 25 อัตรา
2) ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านดังนี้
1. ด้านการเงิน
2. ด้านสังคม
3. ด้านดิจิทัล
4. ด้านภาษาอังกฤษ
3) การบูรณาการทักษะใหม่ กำลังคน และโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
4) จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนอย่างละเอียด ทำให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. พัฒนาเชิงเศรษฐกิจ
1) รายได้ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30
840,000 บาท/ปี
60,000 บาท/ปี
2) การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)
ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 20
ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ  35
แรงงานที่ลดลง ร้อยละ 25

7. ผลลัพธ์เชิงสังคม
1) รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
2) รู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น
3) ช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม
4) ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น
5) ประชาชนมีวิชาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น

8. ข้อเสนอแนะ
สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชน หากิจกรรมทำที่สามารถเกิดประโยชน์และสร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า ยกระดับมาตรฐานความโดดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก เน้นการทำงานแบบบรูณาการและให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ

 

กิจกรรมอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น

ในวันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 13:00 น. ร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์ ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมีกิจกรรมดังนี้
-กวาดเศษขยะและใบไม้บริเวณโดยรอบวัด
-กวาดและถูในศาลาวัด
-เก็บขยะและเศษใบไม้
-ล้างทำความสะอาดห้องน้ำ

 

วิดีโอการปฎิบัติงานประจำเดือน

 

 

 

อื่นๆ

เมนู