HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง

การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ธันวาคม

ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือน ธันวาคม นี้มีกิจกรรมที่ทำ ดังนี้

– กิจกรรม อบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม

– การถอดบทเรียน

– ประชุมงานออนไลน์

– กิจกรรม อบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น

– ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

 

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

กิจกรรม อบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้เรียนเชิญเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ร่วมโครงการในการพัฒนาในครั้งนี้ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาให้ข้อมูลและสอนวิธีการทำโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์ วิทยากร ได้แก่ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล และสินค้าที่ได้ร่วมกันออกแบบ ได้แก่ กล้วยแปรรูปของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี

 

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2564

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เวลา18:20 น. เป็นต้นไป เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเดือน ธันวาคม ซึ่งในเดือนธันวาคมนี้จะมีการลงพื้นที่เพื่อทำจิตอาสาทำความดีเพื่อพ่อเนื่องในวันพ่อแห่งชาติที่วัดโพธิ์คงคา และมีงานที่ได้รับมอบหมายคือการถอดบทเรียนการปฏิบัติงานโดยการทำงานนี้ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มและช่วยกันทำงานที่ได้รับมอบหมายนี้ให้สำเร็จ

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564

จากที่ได้แบ่งกลุ่มการทำงาน ในการทำงานครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงานตลอดโครงการที่ผ่านมา ซึ่งประโยชน์ของการถอดบทเรียนระยะสั้น คือ สามารถนำไปปรับปรุงเทคนิคการทำงาน การขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม และทำให้ผลการดำเนินงานโครงการดีขึ้น ในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้

วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2564

กิจกรรม อบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อาจารย์ประจำโครงการจึงเข้าร่วมการทำจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกับประชาชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดและล้างห้องน้ำให้กับวัด เพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อไป

 

ในเดือน ธันวาคม มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

เนื่องจากดิฉันรับผิดชอบหมู่ 6 บ้านสระหมู จึงได้ทำการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในเขตพื้นที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบ สรุปข้อมูลได้ดังนี้

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

– มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน

– มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ

– มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่

– มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว

– ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน

– เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน มีการล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย

 

กลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน ซึ่งศาสนสถานในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่

  1. วัดโพธิ์คงคา
  2. สำนักปฏิบัติธรรม วัด ตามุมเวฬวนาราม
  3. วัดบ้านหนองทะยิง
  4. ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
  5. วัดบ้านหนองกง
  6. สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า

แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน

– มีการคัดกรอง โดยการตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ที่ทางเข้า-ออก เพื่อสังเกตตนเอง

– มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ทำกิจกรรม

– มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์ไว้ทุกจุดที่มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ

– มีมาตรการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ให้เยอะจนเกินไปเพื่อลดความแออัด

– มีการจดวางสมุดบันทึกเพื่อลงทะเบียนชื่อและเวลาเข้า-ออก

– มีการทำความสะอาดทุกวันปกติอยู่แล้ว

– มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมออยู่แล้ว

– มีการคัดกรองผู้ที่ปรุงอาหารก่อนเข้าทำการปรุงอาหารทุกครั้ง และมีการรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

 

อื่นๆ

เมนู