ดิฉัน นางสาววรลักษณ์ ไกรษร กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย HS03
เดือนมิถุนายน
ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงในช่วงสุดท้ายของการปฏิบัติงาน ถึงแม้จะเป็นการปฏิบัติงานในเดือนสุดท้ายแล้วแต่การปฏิบัติก็ยังคงดำเนินต่อไปตามหน้าที่งานที่ได้รับมอบหมายโดยการปฏิบัติงานต่าง ๆ จะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม ผู้ปฏิบัติงานทุกคนก็ได้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรื่อยมา
ถึงแม้ในช่วงนี้จะมีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาด โควิด – 19 สายพันธ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่เริ่มมีการระบาดเข้าในประเทศไทยแล้ว ซึ่งความอันตรายนั้นมีมากกว่าสายพันธ์อื่น ๆ อย่างที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยทีเดียว
“โอไมครอน” อันตรายแค่ไหน
ไวรัสโควิดชนิดใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ เป็นอย่างมาก มีการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และยังมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ขณะที่สายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักครอบงำทั่วโลกอยู่ขณะนี้ มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น นั่นจึงเหตุผลที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง โลกอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง
แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนก “โอไมครอน” น่ากังวล แต่อาจไม่รุนแรง
จากรายงานของ พญ.โคเอตซี ประธานแพทย์สมาคมแห่งแอฟริกาใต้ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอไมครอน มีอาการรุนแรงในระดับใกล้เคียงกับไวรัสเดิมคือ มีอาการไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาการอ่อนเพลีย แต่แตกต่างไปตรงที่ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ไม่มีปัญหาเรื่องการได้กลิ่นกับการรับรส ซึ่งขณะนี้ (29 พ.ย. 64) ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จึงพอสรุปได้ว่า ไวรัสโอไมครอนทำให้เกิดโรคที่มีอาการรุนแรงปานกลาง
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการระบาดของโรคติดต่อ โควิด – 19 เราก็ต้องมีการป้องกันตัวเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โควิด – 19 ดังนี้
วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
- รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น (อย่างน้อย 1 เมตร) แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม
- สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
- รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน
- ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
- เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
แค่เราป้องกันตัวโดยอย่าให้การ์ดตก เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้เมื่อโรคระบาดกลับมาอีกครั้ง
ส่วนการปฏิบัติงานใน เดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม ผู้ปฏิบัติงานทุกคนก็ได้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรื่อยมา โดยงานที่ได้รับมอบหมาย มีดังนี้
19 พฤศจิกายน 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ทุกคน และตัวแทนชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านของตำบลบ้านสิงห์ ได้เดินทางมาเข้าร่วมอบรมที่ ศาลาประชาคม บ้านหนองบัวราย หมู่ 7 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ในหัวข้อเรื่องการติดตามพัฒนารูปแบบโลโก้ของผลิตภัณฑ์ โดย อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ในการอบรมจะมีผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านที่นำมาเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาโลโก้ 3 อย่าง คือ ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี ทองม้วนแม่ทองพูน และกล้วยฉาบแม่อารมณ์ โดยความต้องการของเจ้าของผลิตภัณฑ์จะแตกต่างกันไปดังนี้
กล้วยฉาบแม่อารมย์
- ชื่อผลิตภัณฑ์ : แม่อารมย์
- แม่อารมณ์ต้องการใช้โลโก้เป็นรูปของตัวเอง
- ใช้สีสันที่สดใสเน้นสีเหลืองเหมือนกล้วย
- ช่องทางการติดต่อ : เบอร์โทรศัพท์ 065-0311557
- ใช้คำโฆษณา : กรอบนาน ทานเพลิน
- มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย : กล้วยอบเนย กล้วยเบรกแตก กล้วยรสปาปิกา กล้วยฉาบรสเค็ม กล้วยฉาบรสหวาน
ทองม้วนแม่ทองพูน
- ชื่อผลิตภัณฑ์ : ทองม้วนทองพูน
- ใช้รูปโลโก้เป็นรูปทองม้วนแบบตัวการ์ตูน
- ใช้สีสันสดใสเน้นสีส้มทองคล้ายทองม้วน
- ช่องทางการติดต่อ : บ้านหนองขาม หมู่ 2 ตำบลบ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โทร.092-8782273
- ใช้คำโฆษณา : กรอบ สด ใหม่ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย
บ้าบิ่นแม่มาลี
- ชื่อผลิตภัณฑ์ : บ้าบิ่นน้องอ๋อมแอ๋ม สูตรแม่มาลี
- ใช้โลโก้เป็นรูปเด็กเพื่อสื่อถึงน้องอ๋อมแอ๋ม (ลูกสาวแม่มาลี)
- ใช้สีสันสดใสเน้นสีน้ำตาลเหลืองเหมือนขนมบ้าบิ่น
- ช่องทางการติดต่อ : เบอร์โทรศัพท์ 061-5945173
- ใช้คำโฆษณา : สด ใหม่ ทุกวัน
เมื่อทราบความต้องการการทำโลโก้ของผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างแล้ว ทางวิทยากรได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาโลโก้ให้ดูมีความทันสมัย และเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
27 – 29 พฤศจิกายน 2564
ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังโรคระบาด โควิด-19 ณ บ้านหนองม่วง หมู่ 12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลมาแล้วเพียงบางส่วนนั้น มีข้อมูลจากการสำรวจดังนี้
- มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
– เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
– ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่าง ๆ เป็นต้น หรือไม่
– ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน
- มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ
- เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที
สรุปคือ ชาวบ้านบ้านหนองม่วง หมู่ 12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จบุรีรัมย์ มีการป้องกันและดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เวลาออกไปทำธุระนอกบ้านกลับมาจะอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง มีการแยกของส่วนตัวกันใช้กับคนในครัวเรือน ยกเว้นบางครัวเรือนที่ใช้แก้วน้ำร่วมกันอยู่ ส่วนการทำงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ซึ่งจะทำนา ทำสวน อยู่ในพื้นที่ของตนเองเท่านั้น
4 – 5 ธันวาคม 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ คือ ถอดบทเรียนการดำเนินงานรายตำบล (TSI) ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยเป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กันเพื่อหาข้อมูลและทำแบบฟอร์มการถอดบทเรียนการดำเนินงานรายดำบล ดังนี้
- ข้อมูลพื้นที่ตำบล บรรยายพร้อมภาพประกอบ หรือสามารถนำเสนอในรูปแบบอื่นที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่
- TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐาน 5 มิติของตำบล ทั้งนี้ อาจนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิ กราฟ เป็นต้น
- การพัฒนาพื้นที่ โจทย์พื้นที่ กิจกรรมที่ดำเนินการ
- กลไกการดำเนินงาน นำเสนอกลไก/ขั้นตอน/รูปแบบวิธีการที่ใช้ รวมถึงความร่วมมือต่าง ๆ
- ผลลัพธ์ นำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ใน 4 หัวข้อ
- การจ้างงาน
- การพัฒนาทักษะ
- การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
- Community Big Data
- ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ……บาท/ปี …บาท/ครัวเรือน
- การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) เช่น ต้นทุนที่ลดลง (ร้อยละ) ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) แรงงานที่ลดลง (ร้อยละ) เป็นต้น
- อื่นๆ (โปรดระบุ)
- ผลลัพธ์เชิงสังคม เช่น
- คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง
- ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนในชุมชน
- การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง
- ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ U2T ให้บรรลุเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
- ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ ข้อมูลติดต่อ หน่วยงาน
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมดแล้ว สมาชิกในแต่ละกลุ่มจะนำข้อมูลมาทำในแบบฟอร์มต่อไป โดยมีการสรุปข้อมูลตามแบบฟอร์มดังนี้
6 ธันวาคม 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ทุกคน ได้นัดหมายให้ลงพื้น ณ วัดบ้านสิงห์ (วัดโพธ์คงคา) ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เวลา 12:00 น.โดยเป็นการทำกิจกรรม “จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 HUSOC’S VOLUNTEER ACTIVITY, DOING GOOD DEEDS BY HEART ON THE FATHER’S DAY , 5 DECEMBER 2021 ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยเป็นกิจกรรมการทำความสะอาดในบริเวณวัด เช่น การเก็บขยะตามสถานที่ต่าง ๆ ล้างห้องน้ำ ถางป่า กวาดพื้น และมีการรับประทานอาหารร่วมกัน คือ ขนมจีนและของหวานซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์จัดเตรียมมาให้