1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง การสร้างความรับรู้และกำลังใจชาว (U2T) สู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-2019 ตำบลบ้านสิงห์ครั้งที่ 7

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง การสร้างความรับรู้และกำลังใจชาว (U2T) สู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-2019 ตำบลบ้านสิงห์ครั้งที่ 7

ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

       ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ซึ่งยังคงพบ เหตุการณ์การระบาดของโรคกระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันโรค ฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งใน ระดับชุมชนและโรงพยาบาล โดยมีมติเห็นชอบออกข้อสั่งการแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน และโรงพยาบาล พร้อมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค การปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประกาศการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ของจังหวัดบุรีรัมย์

        ประเด็นที่จะกล่าวเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานและการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ที่น่าเป็นห่วงและเป็นกังวลในขณะนี้ การดำเนินงานจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบและรอบด้านเพื่อรักษาสุขภาพและการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการต้องสอดคล้องกับมาตราการการป้องกันของจังหวัดบุรีรัมย์ และลักษณะศูนย์กักตัว Local Quarantine ที่แบ่งตามศักยภาพของตำบล และความกังวลของคนในชุมชน 

 

แนวทางการดูแลสุขอนามัยขณะลงพื้นที่ปฏิบัติงาน  เพื่อป้องกันและลดการแพร่เชื้อโควิด 19

  1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด
  1. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน
  2. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ
  3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
  4. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  5. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ๆ ทานอาหารแยก
  6. ปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
  7. หมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

การดำเนินงาน

        วันที่ 31 กรกฏาคม 2564 อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก และ อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ได้นำทีมผู้ปฏิบัติงานบริจาคอาหารแห้งและสิ่งของในนาม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยรายตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ณ ที่วัดโพธ์คงคา / วัดบ้านสิงห์ เป็นศูนย์กักตัวผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัด ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ศูนย์กักตัวระดับตำบล ความสร้างสรรค์ในข้อจำกัด หน้าตาของศูนย์กักตัวระดับตำบลหรือ Local Quarantine ในพื้นที่ ซึ่งมีตามศักยภาพของตำบลแต่ละแห่งตามเขตการปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ใช้วัดและโรงเรียน เป็นที่ตั้ง เพราะมีศาลาเป็นแถวและห้องเรียนเป็นห้อง ๆ มีห้องน้ำรวม มีพื้นที่กว้างพอ และมีรั้วรอบ ความสร้างสรรค์ภายใต้ข้อจำกัดตามบริบทจึงเกิดขึ้นอย่างน่าชื่นชม
        ที่ศูนย์กักตัววัดโพธ์คงคา เป็นศูนย์แรกในพื้นที่ตำบลที่มีผู้กลับจากมาจากต่างจังหวัดกักตัวอยู่จริง ศาลาถูกแบ่งเป็นล็อก และมีพลาสติกใสเป็นที่กั้นห้องด้วยและกั้นแดน ทุกคนมีเต็นท์มุ้งให้นอน พร้อมจาน ช้อน ถังซักผ้า ทิชชู น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ถังใส่ขยะ ขันน้ำ ชั้นเก็บเสื้อผ้าเล็ก ๆ ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด เป็นต้น เพื่อให้อยู่อาศัย 14 วันแบบพึ่งตนเอง เนื่องจากจะไม่มีแม่บ้านมาบริการเช่นโรงแรม ผู้ที่พักกักตัวที่นี่ สามารถมาเดินเล่นนอกห้องได้ ออกกำลังกายได้ ญาติมาเยี่ยมมาฝากขนมอาหารได้ แต่ยืนคุยกันไกล ๆ มีการแบ่งเขตเป็นตัวแบ่งกั้นแดนไว้ จะมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ไปเยี่ยมสอบถามอาการทุกวัน หากมีไข้หรือป่วยก็ตามรถโรงพยาบาลมารับไปทำ swab จะมี อาสาสมัครหรือ ทีมท้องถิ่นท้องที่เฝ้ายามเป็นเพื่อนตลอดเวลา มีการส่งอาหารสามมื้อแก่ทุกคนเผื่อว่าญาติไม่มี เพราะเราสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในจังหวัดได้ดีมากแล้ว หัวใจประการสำคัญก็คือ เฝ้าระวังการนำเชื้อเข้าในตำบลการกักตัวผู้ที่กลับจากต่างจังหวัด 14 วัน จึงเป็นมาตรการที่สำคัญ ครั้นจะกักตัวที่ Home Quarantine หรือการกักตัวที่บ้านก็ไม่ง่าย เพราะคนไปทำงานต่างจังหวัดส่วนใหญ่ไม่ได้ร่ำรวย บ้านหลังไม่ใหญ่ เป็นครอบครัวใหญ่ และอาจขาดวินัยในการกักตัว ครั้นจะกักตัวที่ส่วนกลางหรือ State Quarantine ก็ได้ ต้นทุนสูง เป็นภาระการจัดการมาก คำตอบจึงมาอยู่ที่ Local Quarantine กักตัวในอำเภอหรือตำบล ญาติมาเยี่ยมฝากอาหารคุยกันไกล ๆ ได้ กระจายภาระแต่ก็แน่นอนว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในการระบาดในพื้นที่ด้วยแม้จะไม่มาก แต่ก็ดีที่สุด นี่คือระบบและหน้าตาของศูนย์กักตัวระดับตำบล แต่ละแห่งก็สร้างสรรค์ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามแต่ท้องถิ่นนั้น นับเป็นอีกความงดงามของพลังท้องถิ่นและพลังชุมชนของประเทศไทยครับ

ความกังวลของคนในชุมชน

        ชุมชนก็มีสิทธิที่จะกังวล เมื่อทางการกำหนดให้ทุกตำบลต้องมีสถานที่กักตัวผู้ที่กลับจากต่างจังหวัด ประกอบกับความกลัวติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ที่อยู่ในระดับความตื่นตัวมากในสังคมไทย แล้วทางออกที่ดีคืออะไร ทางการได้ให้ผู้ที่ทำงานต่างจังหวัดที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศ ขณะนี้ยอดการติดเชื้อพุ่งสูงจนเป็นที่น่าวิตกกังวลอย่างมาก แนวทางการลดความกังวล หากไม่มีอาการเข้าเกณฑ์ก็ส่งกลับมากักตัวในระดับตำบล คำถามใหญ่ที่ชาวบ้านถามคือ “ก็หมอบอกว่าส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย แล้วหมอจะมั่นใจได้อย่างไรว่า คนกลุ่มนี้ปลอดโควิดจริง ๆ” บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าชาวบ้านมีความรู้และความเข้าใจ และเขาก็มีสิทธิที่จะกังวล เพราะการกักตัวในชุมชนนั้น มีบุคคลที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดโรคกลับไปในชุมชนนั้นมีมากกว่าการกักตัวในโรงพยาบาลหรือค่ายทหาร
        ภาพการที่ชุมชนแสดงความกังวลออกมานั้นมีอยู่หลายพื้นที่ แสดงออกในหลากหลายรูปแบบ การเข้าไปเคลียร์ไปคุยนั้น แม้จะใช้เหตุใช้ผลแต่ก็ยากที่จะคลายความกังวล จึงมักจบด้วยการใช้อำนาจ หากอำนาจชุมชนเหนือกว่า ศูนย์กักตัวในพื้นที่นั้น ๆ ก็จะถูกย้ายไปจุดอื่น หากอำนาจฝ่ายปกครองสูงกว่า ชาวบ้านก็ต้องทำใจหรือจำใจยอมรับ ต้นทุนความวิตกกังวลของชุมชนนั้นมีราคา ทำให้บรรยากาศในชุมชนเงียบเหงา เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ พอมีใครเป็นหวัดไอมีไข้นิดหน่อยสักคน ความวิตกก็ยิ่งแผ่ไกลไปทั้งละแวก ว่าในชุมชนเราติดกันบ้างแล้วหรือยัง ตลาดจะเงียบเหงา เศรษฐกิจชุมชนจะซบเซา ผู้คนจะยิ่งลำบาก หากส่วนราชการออกแบบระบบใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อ และความมั่นใจให้กับประชาชน กำหนดให้ทุกคนที่กลับจากต่างจังหวัด หรือในพื้นที่เสี่ยงต้องตรวจ swab ทุกครั้ง ก่อนที่นำส่งกลับมากักตัวในศูนย์กักตัวระดับใด ๆ หากผลเป็นบวกก็นอนโรงพยาบาล หากผลเป็นลบก็กักในชุมชนยาวจนครบ 14 วัน แบบนี้น่าจะดีกว่าครับ

พลังชุมชนป้องกันโควิด

        วิถีชีวิตคนไทยที่ผ่านมาจะชอบรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเรือนใกล้ ๆ กัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ห่วงใยกันทั้งที่เป็นเครือญาติหรือไม่ใช่ ก็ตาม จนดูเหมือนจะผูกพันกันเป็นเครือญาติทั้งชุมชน ทุกครั้งที่คนในชุมชนมีปัญหาจะร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค ต่อสู้ผ่านร้อนผ่านหนาวไม่ทอดทิ้งกัน อีกทั้งร่วมแรงร่วมใจพัฒนา ชุมชนที่ตนรักให้เข้มแข็ง สงบร่มเย็น จนคนในชุมชนมีความสุขตลอดมา วิถีชีวิตเหล่านี้ เป็น “แบบไทย ๆ ” ของคนในชุมชนไทย เมื่อมี สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยทั่วทุกภาค จึงเป็นโอกาส ที่ดีที่คนในชุมชนจะได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะก้าวผ่านวิกฤตไปได้ ด้วยการรวมพลังชุมชนท้าชนโควิด- 19 สู้จนได้ชัยชนะให้ได้ ให้คนในชุมชนทุกคนปลอดภัย ถึงแม้ลูกหลานบ้านใครที่พ่ายแพ้โควิด-19 กลับมา แต่เมื่อมาอยู่ในชุมชนของพวกเราแล้ว ทุกคนต้องสู้และชนะไปด้วยกัน เราจะไม่ทอดทิ้งกัน ไม่รังเกียจกัน ไม่ทำเหมือนดึงต้นหญ้า ที่ไม่ต้องการออกจากนาข้าวแล้วโยนทิ้ง….เพราะที่ผ่านมาทุกคนต่างหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว มาช้านาน ถึงเวลาแล้วที่ชุมชนของพวกเราจะเป็นฮีโร่ได้ช่วยประเทศชาติ ตามที่รัฐบาลขอร้องให้ ทุกคนอยู่บ้านไม่ไปรับเชื้อจากที่ต่าง ๆ เพื่อหยุดไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วชุมชน ดังนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฮีโร่ทุกคนในชุมชนที่ต้องร่วมมือทำตามอย่างเคร่งครัด และร่วมกันตั้งเป้าหมายเป็นพันธสัญญาใจว่าชุมชนของพวกเราจะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อ หรือถ้ามี ผู้ติดเชื้อที่กลับมาบ้านก็จะควบคุมการแพร่กระจายไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อเป็นผลงาน ที่ประจักษ์สายตาแก่ชุมชนอื่น ทำให้ชุมชนอื่น ๆ ต้องมาเอาแบบอย่าง

ความพร้อมการรับมือและกำลังใจ

       แสดงให้เราเห็นในหลายพื้นที่ที่เราไม่ได้เตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด – การขาดอุปกรณ์ที่เพียงพอเป็นเพียงตัวอย่างเดียวเราทุกคนรู้สึกกลัวและหงุดหงิดเมื่อตระหนักว่าทางการแพทย์อาจไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอ และไม่รู้จะจัดหาได้จากที่ใด สิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ขั้นตอนต่อไปของเราควรเรียนรู้จากประสบการณ์โรงพยาบาลรัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพ รวมถึงหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ซึ่งจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการเตรียมความพร้อม และจัดเก็บอุปกรณ์ป้องกันสำหรับการเจ็บป่วยครั้งใหญ่ครั้งต่อไป และไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยเราสามารถใช้การระบาดของโควิด-19 เป็นประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการตอบโต้และวางแผนการระบาดรอบถัดไปที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดทั้งปีมีเรื่องราวของความกล้าหาญความเมตตาและความเสียสละจากผู้คนทั่วโลกนับไม่ถ้วน ทุกคนต่างเร่งช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ เราเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ มีความกล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อ และพวกเขาใช้เวลาในปีนี้ในการทำงานหนักกว่าที่เคย แม้จะมีผู้ป่วยจำนวนมาก อีกทั้่งยังขาดทรัพยากรที่จำเป็น และมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อผู้ป่วย

สุดท้ายนี้ บุคคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ : “ขอบคุณทุกท่านที่ได้แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และความเสียสละอย่างมากในปีนี้ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งครับ

 

 

อื่นๆ

เมนู