หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมนี้เป็นการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากการระบาดของโรคโควิด 19 เป็นหลัก ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้งผู้ปฏิบัติงานได้ทำตามมาตรการการป้องกันตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัดโดยมีกิจกรรมดังนี้

วันเสาร์ ที่ 31 กรกฏาคม 2564 อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก และ อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ได้นำทีมผู้ปฏิบัติงานบริจาคอาหารแห้งและสิ่งของในนาม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมราตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยรายตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ณ ที่วัดโพธิ์คงคา / วัดบ้านสิงห์ เป็นศูนย์กักตัวผู้เดินทางมาจากต่างจังหวัด และ วัดป่าหนองทะยิง ที่เป็นศูนย์พักคอย สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19)   ประเด็นที่จะกล่าวเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานและการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ที่น่าเป็นห่วงและเป็นกังวลในขณะนี้ ณ วันที่ไปนั้นสำหรับศูนย์กักตัวมีประชาชนกักตัวทั้งหมด 28 คน แต่ยอดยังไม่นิ่งเพราะมีประชาชนขอเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดเรื่อย ๆ ส่วนศูนย์พักคอยมีจำนวน 8 คน แต่ยอดยังไม่นิ่งเหมือนกันเพราะมีผู้ติดเชื้อ ขอกกลับมารักษาตัว เรื่อย ๆ ส่วนการดำเนินงานนั้นจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบและรอบด้านเพื่อรักษาสุขภาพและการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการต้องสอดคล้องกับมาตราการการป้องกันของจังหวัดบุรีรัมย์ และลักษระศูนย์กักตัว Local Quarantine ที่แบ่งตามศักยภาพของตำบล และความกังวลของคนในชุมชน 

          ความเข้าใจต่อโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ศูนย์กักตัวระดับตำบล ความสร้างสรรค์ในข้อจำกัด หน้าตาของศูนย์กักตัวระดับตำบลหรือ Local Quarantine ในพื้นที่ ซึ่งมีตามศักยภาพของตำบลแต่ละแห่งตามเขตการปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ใช้วัดและโรงเรียน เป็นที่ตั้ง เพราะมีศาลาเป็นแถวและห้องเรียนเป็นห้อง ๆ มีห้องน้ำรวม มีพื้นที่กว้างพอ และมีรั้วรอบ ความสร้างสรรค์ภายใต้ข้อจำกัดตามบริบทจึงเกิดขึ้นอย่างน่าชื่นชม ถึงเวลาแล้วที่ชุมชนของพวกเราได้ช่วยประเทศชาติ ตามที่รัฐบาลขอร้องให้ ทุกคนอยู่บ้านไม่ไปรับเชื้อจากที่ต่าง ๆ เพื่อหยุดไม่ให้ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) แพร่กระจายไปทั่วชุมชน ดังนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฮีโร่ทุกคนในชุมชนที่ต้องร่วมมือทำตามอย่างเคร่งครัด

          ที่ศูนย์กักตัววัดโพธิ์คงคา เป็นศูนย์แรกในพื้นที่ตำบลที่มีผู้กลับจากมาจากต่างจังหวัดกักตัวอยู่จริง และต่อมาก็มีศูนย์พักคอยวัดหนองทะยิงตามมา เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อขอกับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนา ทั้งสองศูนย์มีการจัดระบบการอยู่การรักษาที่คล้ายกัน ศาลาถูกแบ่งเป็นล็อก และมีพลาสติกใสเป็นที่กั้นห้องด้วยและกั้นแดน ทุกคนมีเต็นท์มุ้งให้นอน พร้อมจาน ช้อน ถังซักผ้า ทิชชู น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ถังใส่ขยะ ขันน้ำ ชั้นเก็บเสื้อผ้าเล็ก ๆ ไม้แขวนเสื้อ ไม้กวาด เป็นต้น สำหรักกักตัวเพื่อให้อยู่อาศัย 14 วัน ผู้กักตัวแต่ละคนจะถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่ของตนอย่างเคร่งคัด ผู้ที่พักกักตัวที่นี่ สามารถมาเดินเล่นนอกห้องได้ ออกกำลังกายได้ แต่ห้ามสัมผัสกับบุคคลอื่น ญาติมาเยี่ยมมาฝากขนมอาหารได้ แต่ยืนคุยกันไกล ๆ มีการแบ่งเขตเป็นตัวแบ่งกั้นแดนไว้ ส่วนศูนย์พักคอยงดการเยี่ยมและการเดินเล่นให้อยู่แค่ในที่จัดให้เท่านั้น ทั้งสองศูนย์จะมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ไปเยี่ยมสอบถามอาการทุกวัน หากมีไข้หรือป่วยก็ตามรถโรงพยาบาลมารับไปทำ swab จะมี อส.หรือ ทีมท้องถิ่นท้องที่เฝ้ายามเป็นเพื่อนตลอดเวลา มีการส่งอาหารสามมื้อแก่ทุกคนเผื่อว่าญาติไม่มี คำตอบจึงมาอยู่ที่ Local Quarantine กักตัวในอำเภอหรือตำบล ญาติมาเยี่ยมฝากอาหารคุยกันไกล ๆ ได้ กระจายภาระแต่ก็แน่นอนว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในการระบาดในพื้นที่ด้วย

          ชุมชนเขาก็มีสิทธิที่จะกังวล เมื่อทางการกำหนดให้ทุกตำบลต้องมีสถานที่กักตัวผู้ที่กลับจากต่างจังหวัด ประกอบกับความกลัวติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ที่อยู่ในระดับความตื่นตัวมากในสังคมไทย แล้วทางออกที่ดีคืออะไร ภาพการที่ชุมชนแสดงความกังวลออกมานั้นมีอยู่หลายพื้นที่ แสดงออกในหลากหลายรูปแบบ การเข้าไปเคลียร์ไปคุยนั้น แม้จะใช้เหตุใช้ผลแต่ก็ยากที่จะคลายความกังวล จึงมักจบด้วยการใช้อำนาจ หากอำนาจชุมชนเหนือกว่า ศูนย์กักตัวในพื้นที่นั้น ๆ ก็จะถูกย้ายไปจุดอื่น หากอำนาจฝ่ายปกครองสูงกว่า ชาวบ้านก็ต้องทำใจยอมรับ

ต้นทุนความวิตกกังวลของชุมชนนั้นมีราคา ทำให้บรรยากาศในชุมชนเงียบเหงา เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ พอมีใครเป็นหวัดไอมีไข้นิดหน่อยสักคน ความวิตกก็ยิ่งแผ่ไกลไปทั้งละแวก ว่าในชุมชนเราติดกันบ้างแล้วยัง ตลาดจะเงียบเหงา เศรษฐกิจชุมชนจะซบเซา ผู้คนจะยิ่งลำบาก หากส่วนราชการออกแบบระบบใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจให้กับประชาชน กำหนดให้ทุกคนที่กลับจากต่างจังหวัด หรือในพื้นที่เสี่ยงต้องตรวจ swab ทุกครั้ง ก่อนที่นำส่งกลับมากักตัวในศูนย์กักตัวระดับใด ๆ หากผลเป็นบวกก็นอนโรงพยาบาลถ้าโรงพยาบาลไม่มีเตียงก็นำส่งศูนย์พักคอยของทางตำบล ที่จัดไว้วัดหนองทะยิง หากผลเป็นลบก็กักในชุมชนยาวจนครบ 14 วัน แล้วก็กลับสู่ครอบครัว

ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจ้งรายละเอียดงานและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานดังนี้
1.นัดหมายอบรมแปรรูปและออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่มประชาชนในชุมชนบ้านสิงห์ที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขนมไทยในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 โดยผลิตภัณฑ์ที่จะร่วมพัฒนาคือขนมกล้วยทอดของแม่อารมณ์ และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการอบรมแบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยคณะวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นผู้ให้ความรู้ และได้มอบหมายหน้าที่ให้กลุ่มนักศึกษารับผิดชอบดูแลการถ่ายทอดสดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบดูแลการถ่ายทอดสดในพื้นที่
2.มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด 19 สถานที่ที่ต้องสำรวจคือที่พักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
2.1 การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน  กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
2.2 การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
2.3 การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบโดยแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม

 

     

 

จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยหมู่ 2 บ้านหนองขาม พบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
-เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
-ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
-ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

ส่วนในการสำรวจข้อมููลสำหรับตลาดในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 4 ท่านได้ลงสำรวจตาลาดนัดในวันเสาร์และอาทิตย์ ที่ 6 – 7 สิงหาคม วันเสาร์เป็นตลาดบ้านหนองโคลน และ วันอาทิตย์เป็นตลาดบ้านโคกไม้แดง ตลาดก็มีมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัดสำหรับประชชาชนมี่จะมาใช้บริการ ต้องใส่แมด เว้นระยะห่าง และก่อนเข้าตลาดทุกครั้ง มีการครัดกรอง วัดอุณภูมิ ฉีดสเปรแอลกอฮอล และลงชื่อทุกครั้งก่อนเข้ามาใช้บริการ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          แสดงให้เราเห็นในหลายพื้นที่ที่เราไม่ได้เตรียมรับมือกับการแพร่ระบาด – การขาดอุปกรณ์ที่เพียงพอเป็นเพียงตัวอย่างเดียวเราทุกคนรู้สึกกลัวและหงุดหงิดเมื่อตระหนักว่าทางการแพทย์อาจไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอ และไม่รู้จะจัดหาได้จากที่ใด สิ่งนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ขั้นตอนต่อไปของเราควรเรียนรู้จากประสบการณ์โรงพยาบาลรัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพ รวมถึงหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ซึ่งจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการเตรียมความพร้อม และจัดเก็บอุปกรณ์ป้องกันสำหรับการเจ็บป่วยครั้งใหญ่ครั้งต่อไป และไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยเราสามารถใช้การระบาดของโควิด-19 เป็นประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการตอบโต้และวางแผนการระบาดรอบถัดไปที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดทั้งปีมีเรื่องราวของความกล้าหาญความเมตตาและความเสียสละจากผู้คนทั่วโลกนับไม่ถ้วน ทุกคนต่างเร่งช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ เราเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ มีความกล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อ และพวกเขาใช้เวลาในปีนี้ในการทำงานหนักกว่าที่เคย แม้จะมีผู้ป่วยจำนวนมาก อีกทั้่งยังขาดทรัพยากรที่จำเป็น และมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน และ ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อผู้ป่วย

จากการลงพื้นที่บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นและอาหารแห้งที่ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด 19 ทั้ง 2 แห่งทำให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครรวมถึงตัวผู้ป่วยโควิด 19 เอง เพื่อผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันโดยเร็ว ข้าพเจ้าในนามของผู้ร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการบริจาคสิ่งของในครั้งนี้แม้จะเพียงเล็กน้อยแต่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยและสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป
และในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19  สำหรับที่พักอาศัยและตลาดชุมชนทั้ง 2 แห่งในตำบลบ้านสิงห์พบว่า ชาวบ้านรวมถึงบุคคลที่เข้าออกหมู่บ้านมีการสวมหน้ากากอนามัย มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการทำความสะอาดบริเวรจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกันตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด

แผนการปฏิบัติงานครั้งต่อไป

แนวทางการดูแลสุขอนามัยขณะลงพื้นที่ปฏิบัติงาน  เพื่อป้องกันและลดการแพร่เชื้อโควิด 19

  1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด
  1. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน
  2. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ
  3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
  4. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  5. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ๆ ทานอาหารแยก
  6. ปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
  7. หมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

อื่นๆ

เมนู