ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไปบริจาคของในนาม U2t ให้ศูนย์กักกันที่วัดบ้านสิงห์ และวัดบ้านหนองทะยิง
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 19.30 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เพื่อพูดถึงเกี่ยวกับการปฎิบัติงานในเดือนสิงหาคม
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา เวลา 09.00 น. ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ โรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) ตำบลบ้านสิงห์ อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทนำ
อาจารย์ประจำกลุ่มและผู้ปฏิบัติงาน ของโครงการ U2t ประจำตำบลบ้านสิงห์ ร่วมมอบของอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ แพร่ระบาด โรค โควิด-19 อาทิ ผู้ที่ตกงานและผู้ที่ย้ายกลับเข้ามาในชุมชนและต้องกักตัว ที่วัดบ้านสิงห์ และผู้ที่ได้รับเชื้อ กักตัวอยู่ที่วัดบ้านหนองทะยิง เพื่อรอเตียง
การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจที่พักอาศัยและแบบสำรวจโรงเรียน เป็นการลงพื้นที่เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด -19 `ของคนในหมู่บ้านโคกไม้แดง เด็กนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การเก็บข้อมูลแบบสำรวจนี้เพื่อที่จะเอาไปประเมิน ว่าชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง ครู และบุคลากร ในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลและป้องกันตนเอง จากสถานการณ์นี้ย่างไร ทำตามมาตรการที่ออกมาหรือไม่ มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ และสำหรับในโรงเรียน ในโรงเรียนมีการวัดไข้ก่อนเข้าโรงเรียนหรือไม่ มีเจลแอลกอฮอล์ให้นักเรียน ครูและบุคลากร เพียงพอหรือไม่ ครูดูแลนักเรียนอย่างไรบ้างในช่วงสถานการณ์แบบนี้
เนื้อเรื่อง
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไปบริจาคของในนาม U2t ให้ศูนย์กักกันที่วัดบ้านสิงห์ และวัดบ้านหนองทะยิง ของที่นำไปบริจาคก็จะเป็นของที่จำเป็นต่อผู้ที่กักกันและบุคลากรที่เฝ้าดูแล เช่น มาม่า ปลากระป๋อง นมเปรี้ยว ขนม น้ำเปล่า เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำกลุ่มได้ไปมอบของให้วัดบ้านสิงห์เป็นที่แรก มีประชากรที่กักตัวอยู่ทั้งหมด 8 คน และมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ ที่คอยดูแลและบุคลากร ก็จะเป็น อสม. ผู้ใหญ่บ้านและสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อมอบของให้ผู้กักตัวและเจ้าหน้าที่เสร็จแล้ว อาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้นัดหมายพูดคุยสรุปการลงพื้นที่ ในระบบ U2t ในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม และเมื่อนัดหมายพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ประจำกลุ่มและผู้ปฏิบัติงานทุกคนก็ได้ไปมอบของให้ผู้ที่กักตัวและผู้ดูแลประจำวัดบ้านหนองทะยิง ซึ่งที่วัดบ้านหนองทะยิง จะเป็นที่กักตัวสำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อ โควิด-19 แล้ว ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อมีด้วยกันทั้งหมด 7 คน อาจารย์ประจำกลุ่มและผู้ปฏิบัติงานก็ได้นำของไปมอบ ให้แก่บุคลากรที่เฝ้าดูแลผู้ที่ติดเชื้อ ได้แก่ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน สาธารณสุขประจำหมู่บ้านหนองทะยิง เมื่อมอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ใหญ่บ้านได้พูดถึงปัญหาและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่าได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง ทางเราได้รับรู้สาเหตุ จึงได้มีการมามอบของให้แก่ผู้ที่กักตัว และบุคลากรที่ต้องดูแลทุก ๆ คน
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 19.30 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เพื่อพูดถึงเกี่ยวกับการปฎิบัติงานในเดือนสิงหาคม และเมื่อถึงเวลานัดหมาย อาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้พูดถึงเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติในเดือนสิงหาคม ดังนี้ ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ U2t โดย
1.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัย
1.1 กลุ่มบัณฑิต จัดเก็บข้อมูล จำนวน 50 คน
1.2 กลุ่มประชาชน จัดเก็บข้อมูล จำนวน 30 คน
1.3 กลุ่มนักศึกษา จัดเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน
2.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับศาสนสถาน ให้กลุ่มประชาชนเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ
3.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียนและตลาด ให้กลุ่มบัณฑิตเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ โดยแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ตลาด 2.โรงเรียน โดยในการจัดเก็บข้อมูลอาจารย์ประจำกลุ่มจะส่งบาร์โค้ดของแต่ละเดือนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้สแกนเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น และบาร์โค้ดสำรวจข้อมูลที่อาจารย์ส่งให้ผู้ปฏิบัติงานจะมีทั้งหมด 4 โค้ด ประกอบไปด้วยบาร์โค้ดสำหรับสำรวจโรงเรียน สำหรับสำรวจศาสนสถาน สำหรับสำรวจที่พักอาศัย และ สำหรับสำรวจตลาด
ในวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจำนวน 50 คน และข้อมูลในแบบสำรวจประกอบไปด้วยคำถามที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด -19 และข้อมูลในการประเมิน ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อ ดังนี้
- มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
– เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
– ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถาน บริการต่าง ๆ เป็นต้น หรือไม่
– ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
- มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
- มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
- เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่
สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ มีผู้ติดเชื้อโควิด- 19 เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ซึ่งจากการที่ออกไปสำรวจเก็บข้อมูลพบว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง มีการสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัวว่ามีอาการต่างๆที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ส่วนใหญ่ ชาวบ้านก็ไม่มีอาการเพราะชาวบ้านดูแลตนเองอยู่เสมอ เมื่อออกไปข้างนอกหรือออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็จะสวมหน้ากากอนามัย และนำเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง เพื่อความสะอาดและปลอดภัย และเมื่อชาวบ้านออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อกลับมาบ้านก็ได้มีการล้างมือ และอาบน้ำ สระผม เพื่อชำระร่างกายให้สะอาด ไม่มีการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน กินอาหารที่ปรุงสุกเสมอ ส่วนมากชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดงป้องกันและดูแลตนเอง อยู่เสมอ และในการเก็บแบบสำรวจในเดือนนี้ ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดงให้การร่วมมือในการตอบแบบสอบถามมากขึ้น
ในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 3 โรงเรียนด้วยกัน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกง โรงเรียนสิงหวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบในการสำรวจเก็บข้อมูลของโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) และในข้อมูลที่เราต้องไปสำรวจมีหลายหัวข้อในการประเมิน ดังนี้
มิติที่ 1 ความปลอดภัย จากการลดการ แพร่เชื้อโรค
- มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่
- มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่
- มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หรือไม่
- มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่ 5. มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่
- มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่
- มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) หรือไม่
- มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันหรือไม่
- กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการสลับวันเรียนของแต่ละชั้นเรียนหรือการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่
- มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี อุปกรณ์กีฬา หรือไม่
- มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกัน ทุกวัน เช่นโต๊ะ เก้าอี้ ราว บันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู – หน้าต่าง หรือไม่
- มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียนหรือไม่
- มีการปรับปรุงซ่อมแซมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด- เปิด ให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่
- มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่
- มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่
- มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวัน หรือไม่
- มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรมหรือไม่
- มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้าหรือไม่กรรม หรือไม่
- มีห้องพยาบาลหรือพื้นที่สำหรับแยกผู้มีอาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจหรือไม่
- มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแล สุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องหรือไม่
มิติที่ 2 การเรียนรู้
- มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด หรือไม่
- การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอกคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่
- มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ ในสถานศึกษาในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่
- มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website Facebook Line QR Code และ E-mail หรือไม่
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส
- มีการเตรียมหน้ากากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่
- มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 หรือไม่
- มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่
- มีมาตรการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือนนอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่
- มีมาตรการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ)
- มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถ เรียนร่วมกับเด็กปกติ หรือไม่
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง
- มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณี ปิดโรงเรียน หรือไม่
- มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่
- มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่
- มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่
- มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และ บุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่
มิติที่ 5 นโยบาย
- มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง โดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่างๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่
- มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่
- มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาหรือไม่
- มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการเผยแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่
- มีมาตรการการจัดการความสะอาดบนรถรับ -ส่งนักเรียน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถหรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับ ส่งนักเรียน)
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน
- มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่
- มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่
- มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อดำเนินกิจกรรม การป้องกันการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
- มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่
จากการที่ออกไปสำรวจโรงเรียนพบว่า สถานการณ์ในช่วงนี้มันรุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน ทางโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ดิฉันรับผิดชอบในการออกไปสำรวจ และจากการสำรวจ พบว่า ทางโรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดิฉันจึงได้สอบถามข้อมูลกับอาจารย์ที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งได้รับหน้าที่เป็นคุณครูเวร ว่าในช่วงสถานการณโควิดที่ผ่านมา ตอนที่นักเรียนยังไม่ได้มีการเรียนแบบออนไลน์ มีมาตรการอย่างไรบ้างเพื่อให้นักเรียนไม่อยู่ในกลุ่มเสียง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีมาตรการตามแบบสอบถาม เช่น มีการวัดไข้ก่อนเข้ามาในโรงเรียน มีเจลแอลกฮอล์วางตามจุดต่าง ๆในโรงเรียน มีถังขยะที่เพียงพอ มีการทำเครื่องหมาย เพื่อเว้นระยะห่าง มีป้ายประชาสัมพันธ์ และป้ายการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาด และมีการทำความสะอาดห้องเรียนอยู่เสมอ และในส่วนของสวัสดิภาพและการคุ้มครอง นโยบาย การบริหารการเงิน ยังไม่ครอบคลุมเท่าไหร่ เนื่องด้วยโรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และในการให้ข้อมูลอาจารย์มีความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี
สรุป
แม้ขณะนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์โควิด 19 จะจบลงเมื่อไหร่ ความเดือดร้อนจะยืดเยื้อแค่ไหน ทางโครงการของเราจะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ การมอบของอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้ที่กักตัว ก็เพื่อที่จะช่วยเหลือ ซึ่งผู้ที่ได้รับการกักตัวซึ่งออกไปไหนไม่ได้ ทางเราจึงต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเพื่อบรรเทาความเสี่ยงให้แก่คนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และในการออกไปสำรวจเก็บข้อมูลพบว่า ชาวบ้านในตำบลดูแล ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบัน ในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือว่าดี เพราะคนในหมู่บ้านยังไม่มีใครได้รับเชื้อโควิด- 19 เลย