HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง
การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน สิงหาคม
ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2564
ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกท่านได้เข้ารับฟังการแนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานครั้งถัดไป ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Microsoft Team
มีกำหนดการประชุม ดังนี้
เวลา 13:00 น. ตำบลในความดูแลของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะครุศาสตร์
เวลา 13:40 น.ตำบลในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์
เวลา 14:20 น. ตำบลในความดูแลของคณะพยาบาลศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์
เวลา 15:00 น. ตำบลในความดูแลของคณะวิทยาการจัดการ ตำบลแสลงโทน ตำบลโคกย่าง และตำบลหินลาด
เวลา 15:40 น. ตำบลในความดูแลของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ยกเว้น ตำบลแสลงโทน ตำบลโคกย่าง และตำบลหินลาด
รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม คือ บอกวิธีและแนวทางในการเขียนบทความ วิธีการแนบลิงก์ข้อมูล และวิธีการบันทึกข้อมูลในการเขียนรายงานการปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจและถูกต้อง
วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564
ผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ประจำตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้ร่วมบริจาคสิ่งของให้กับศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด-19
ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด-19 ประจำตำบลบ้านสิงห์มี 2 แห่ง คือ
- วัดโพธิ์คงคา (วัดบ้านสิงห์)
จัดให้เป็นสถานที่กักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่เสี่ยง ต้องกักตัวในสถานที่ที่จัดหาให้ 14 วัน เพื่อดูอาการ และให้เป็นไปตามมาตรการการควบคุมโรค
- วัดหนองทะยิง
จัดให้เป็นสถานที่กักตัวและรักษาตัวชั่วคราวสำหรับผู้ที่ตรวจพบเชื้อแต่ยังไม่มีอาการที่รุนแรง
ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด-19 ประจำตำบลบ้านสิงห์มี 2 แห่งนี้จะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนคอยเข้ามาดูแลความสะดวกและความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลสุขภาพ
อาการ
อาการทั่วไป
- มีไข้
- ไอแห้ง
- อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนัก
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- เจ็บคอ
- ท้องเสีย
- ตาแดง
- ปวดศีรษะ
- สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
- มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
การป้องกัน
วิธีการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
- รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
- ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
- ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
- เก็บตัวอยู่ในบ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
การรักษา
การดูแลตนเองหลังจากการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือสายด่วนโควิด-19 เพื่อหาสถานที่และเวลาเพื่อรับการตรวจ
- ให้ความร่วมมือตามขั้นตอนการติดตามผู้สัมผัสเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส
- หากยังไม่ทราบผลตรวจ ให้อยู่บ้านและอยู่ห่างจากผู้อื่นเป็นเวลา 14 วัน
- ขณะที่กักตัว อย่าออกไปที่ทำงาน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะ ขอให้ผู้อื่นนำของอุปโภคบริโภคมาให้
- รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร แม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัวก็ตาม
- สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น รวมถึงในกรณีที่คุณต้องเข้ารับการรักษา
- ล้างมือบ่อย ๆ
- กักตัวเองในห้องแยกจากสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ หากทำไม่ได้ ให้สวมหน้ากากอนามัย
- จัดให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- หากใช้ห้องร่วมกับผู้อื่น ให้จัดเตียงห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- สังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 14 วัน
- โทรหาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพทันทีหากพบสัญญาณอันตรายต่อไปนี้ ได้แก่ หายใจลำบาก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว แน่นหน้าอกหรือมีภาวะสับสน
- ติดต่อกับคนที่คุณรักด้วยโทรศัพท์หรือทางออนไลน์ รวมถึงออกกำลังกายที่บ้าน เพื่อให้คุณมีสภาพจิตใจที่ดีอยู่เสมอ
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดเข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เวลา 19:30 น.
รายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมในครั้งนี้คือ
- การเก็บแบบสำรวจประจำเดือนสิงหาคมในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบเป็นการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการสำรวจที่พักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียน และตลาดในชุมชน
- การนัดหมายลงพื้นที่ทำขนมตามหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 2 ตัว คือ กล้วยทอด กับขนมบ้าบิ่น
ตลอดเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บแบบสำรวจประจำพื้นที่ของตนเอง เป็นการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
โดยการสำรวจที่พักอาศัย จำนวน 30 ครัวเรือน
สำรวจศาสนสถาน จำนวน 6 แห่ง
1.วัดโพธิ์คงคา
2.สำนักปฏิบัติธรรม วัด ตามุมเวฬวนาราม
3.วัดบ้านหนองทะยิง
4.ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
5.วัดบ้านหนองกง
6.สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ข้าพเจ้า ชาวบ้านที่ให้ข้อมูล และผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้ทำการรักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เก็บแบบสำรวจและมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี