ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา จันทร์นพคุณ กลุ่มประชาชน
หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนม HS03 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน : กันยายน
ตามที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย มีการการพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ทางผู้ปฏิบัติงานยังคงต้องดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และดำเนินงานตามแผนที่ทาง อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ต่อไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดำเนินงานจึงต้องเป็นไปในรูปแบบของการเฝ้าระวัง ป้องกัน และเว้นระยะห่างจากสังคม ตามสถานการณ์และมาตรการการเฝ้าระวังโรคระบาดของจังหวัด
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้ลงพื้นที่อบรมการแปรรูปขนมและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน เป็นการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากการอบรมออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราผลิตภัณฑ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมี อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับชาวบ้าน ซึ่งทางทีมงานและชาวบ้านที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ช่วยกันออกแบบและเสนอแนวความคิดจากสิ่งที่วิทยากรบรรยาย ในครั้งนี้เป็นการปรับรูปแบบการทำขนมและทดลองนำขนมลงบรรจุภัณฑ์ในแบบต่าง ๆ ที่เลือกไว้ โดยผลิตภัณฑ์ที่นำมาเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้เป็นขนมกล้วยฉาบและขนมบ้าบิ่น ตามที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย การดำเนินงานจึงต้องเป็นไปในรูปแบบของการเฝ้าระวัง ป้องกัน และเว้นระยะห่างจากสังคม ตามสถานการณ์และมาตรการการเฝ้าระวังโรคระบาดของจังหวัด การจัดอบรมจึงอยู่ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ โดยมีอาจารย์ในสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นผู้ให้ความรู้ในการปรับรูปแบบการผลิตขนมบ้าบิ่น จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์โดยมีกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มรับผิดชอบทำการถ่ายทอดสดมายังพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ที่มีกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชนซึ่งอยู่กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ คือ แม่อารมณ์ เจ้าของขนมกล้วยฉาบ และแม่มาลี เจ้าของขนมบ้าบิ่น โดยสรุปการอบรมได้ดังนี้
- ขนมกล้วยฉาบ แม่อารมณ์ ได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบซองกระดาษเพื่อให้มีความเข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันและใส่สารกันชื้นเพิ่มเพื่อเก็บรักษาอายุของกล้วยฉาบได้เป็นเวลานานยิ่งขึ้น และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ จะนำสิ่งที่ได้รับความรู้มาพัฒนาความสามารถของตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น
- ขนมบ้านบิ่น แม่มาลี ซึ่งมีปัญหาหลัก คือ ขนมบ้าบิ่นยังคงเป็นขนมที่ต้องทำวันต่อวัน และมีอายุในการเก็บเพียง 1-2 วันเท่านั้น ยากที่จะทำให้การเก็บรักษายืดอายุออกไปได้นานกว่า 1-2 วัน ทางวิทยากรในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร จึงให้ความรู้ไปในประเด็นการผลิตเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่ม คือการใช้น้ำมันในการทอดที่น้อยลงหรือลดการใช้น้ำมัน โดยการเปลี่ยนภาชนะในการทอด จากกระทะแบบเดิมที่ต้องใช้น้ำมันปริมาณมาก เปลี่ยนมาใช้กระทะแบบไร้น้ำมัน ขนมที่ออกมาให้รูปแบบการทานที่แตกต่าง จึงเป็นที่สนใจของเจ้าของผลิตภัณฑ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ จะนำสิ่งที่ได้รับความรู้มาพัฒนาความสามารถของตนเองเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น
กิจกรรม
- ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และในการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม (01) และ (02) ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจและเก็บแบบสอบถามในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง จากการสำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนละชุมชน เกี่ยวกับภาวะด้านเศรษฐกิจ ด้านรายได้ของครัวเรือน และภาวะในด้านต่าง ๆของคนในชุมชน ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ และทำสวน รายได้จากผลผลิตมีไว้แค่พออยู่ พอกิน ไม่ถึงขั้นกับจัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้หลักของครอบครัว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้เป็นอาชีพหลักได้ ส่วนรายได้หลักของครอบครัวในหมู่บ้านนี้ คือ รับจ้างทั่วไป โดยส่วนใหญ่ยังคงทำงานอยู่ในพื้นที่อำเภอที่อาศัย และยังมีอีกหลายครัวเรือนที่ยังคงว่างงานและอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ มีเพียงสวัสดิการเพียงเล็กน้อยจากทางรัฐ จากการสอบถามความต้องในการพัฒนาชุมชนพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการมีรายได้ที่มั่งคง มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ และการจากลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้ได้รับความร่วมมีอย่างชาวบ้านเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
- กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำรวจเก็บข้อมูลได้รับมอบหมายให้ลงสำรวจ ตามแบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับศาสนสถาน และสำหรับที่พักอาศัย ภายในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้รับผิดชอบลงสำรวจอยู่ในกลุ่มประชาชน ทั้งหมด 5 ท่าน
- เข้าร่วม “พิธียกเสาเอก-เสาโท” ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- เข้าร่วมอบรมค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
- เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า–ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” ฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรรับเชิญ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญา แห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค Word Disruption” โดย ดร.ยักษ์ -ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกำธร และเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption” โดย คุณโจน จันได
- ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลภายในชุมชนที่รับผิดชอบผ่านเว็บไซต์ https://cbd.u2t.ac.th/ ซึ่งข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจประกอบไปด้วย 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
- เข้าร่วมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมี อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับชาวบ้าน ซึ่งทางทีมงานและชาวบ้านที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ช่วยกันออกแบบและเสนอแนวความคิดจากสิ่งที่วิทยากรบรรยาย
- เข้าร่วมภารกิจพิเศษ “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยผู้เข้าร่วมโครงการ U2T จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมพิเศษในพื้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือ โดยกิจกรรมเชิงรุก คือ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” โดยจะเน้นการเข้าไป เคลียร์พื้นที่ทำความสะอาด เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้สามารถลงพื้นที่ เข้าไปปฎิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย กิจกรรมเชิงรับมือ คือ “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดของโรค” โดยชาว U2T จะร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด ด้วยการ ศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติก่อน และหลังฉีดวัคซีน เร่งสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เร่งสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้ และคนในชุมชนได้รับการฉัดวัคซีน
- ลงพื้นที่ไปยังศูนย์ประสานงานเฝ้าระวัง โควิด19 2 แห่ง ภายในตำบลบ้านสิงห์ ตามที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย มีการการพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลประสบปัญหาไม่สามารถรองรับและจัดหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด19 ที่มีจำนวนมากได้ จึงมีการตั้งศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด 19 ในชุมชนสำหรับผู้ติดเชื่อที่มีอาการไม่รุนเเรงมาก และศูนย์กักตัวสำหรับประชาชนที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ทางทีมงานผู้ปฏิบัติงานจึงได้ร่วมบริจาคสิ่งของ เครื่องใช้ และอาหารสำเร็จรูปที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่กักตัว ณ ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด 19 ในพื้นที่
กระบวนการทำงานที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- เริ่มวางแผนตารางเวลา เมื่อได้รับงานมาทั้งงานแบบระยะสั้นและระยะยาว สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดตารางงานโดยการแบ่งงานและจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อเป้าหมายของงาน
- การแบ่งงาน “ใช้คนให้ถูกงาน” หรือ “ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน” เพื่อให้การดำเนินงานเสร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยเร็วหรือทันการ
- เรียนรู้ ‘ตัวเอง’ การวางแผนที่ดีต้องมาพร้อมกับการประเมินความสามารถของตัวเอง จะช่วยลดการกดดันและไม่พอใจในตัวเองมากขึ้น เช่น รู้ลิมิต รู้เป้าหมาย เป็นต้น
- ติดต่อสื่อสาร หลายครั้งที่เราคุยงานกับเพื่อนหรือเจ้านายแล้วไม่เข้าใจชัดเจนพอ หรือติดต่อแล้วมีความเข้าใจผิดพลาดทำให้งานออกมาไม่ตรงตามที่ต้องการ เราก็ต้องเสียเวลามากมายไปกับการแก้งานใหม่อีกรอบ ด้วยเหตุนี้การติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพจึงเข้ามาช่วยให้การทำงานราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
- ได้ขัดเกลาทักษะความชำนาญเฉพาะในการทำงาน ได้ฝึกฝนในเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เคยปฏิบัติ เมื่อจบการปฏิบัติจากโครงการออกไปเราต้องมีทักษะในด้านต่าง ๆ ที่มากขึ้น
- รู้จุดด้อยของตัวเอง ข้อสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่นคือการรู้จักงานที่เราทำ รู้จักคนอื่นที่ทำงานเหมือนกับเรา และได้มองตัวเองว่าเรายังบกพร่องตรงไหน
- รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการสื่อสารให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จ
ปัญหา อุปสรรคและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
- ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นการทำงานระยะสั้นและมาจากหลากหลายพื้นที่ จึงยังขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน วรมีการละลายพฤติกรรมก่อนการทำงาน
- การให้ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชน ควรมีการประชาสัมพันธ์แต่ละโครงการที่จะมีผู้อื่นเข้าไปในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนทราบ และให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่ควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
- การสอนการสร้างอาชีพที่ต่อเนื่อง เป็นโครงการระยะยาว โดยสอบถามจากคนในพื้นที่ ที่ต้องการได้รับอย่างแท้จริง
จากการปฏิบัติงานในเดือนนี้ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานยังคงดำเนินงานต่อเนื่องตามแผน การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย และยังคงปฏิบัติตามหลักมาตรการป้องกันการระบาดโรค Covid-19 ที่ระบาดหนักอย่างมากในประเทศ และได้ปรับแผนการดำเนินงานไปในรูปแบบออนไลน์ เพื่อลดการเข้าใกล้ และสัมผัสกับผู้อื่นให้น้อยมากที่สุด