HS03 ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประชากรและสภาพแวดล้อมบ้านสิงห์ หมู่3 ตำบลบ้านสิงห์  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

จัดทำโดย นางสาวกมลชนก  จงชิดกลาง ลูกจ้างโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่

เมื่อที่ 16 เดือนกันยายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประชากรและสภาพแวดล้อม ข้าพเจ้าได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านสมชาย ทองทำกิจ  จากการสำรวจพบว่า บ้านสิงห์ หมู่ 3 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวน 67 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 279 คน แยกเป็นชาย 134 คน หญิง 145 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกร ทำนา ทำไร่ มันสัมปะหลัง และการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค(วัว) ไก่ หมู และบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้าง ทางด้านรายได้ของครัวเรือนมาจากการประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก รายได้ในแต่ละครัวเรือน ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ประชากรส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน หมู่บ้านสิงห์ หมู่ 3 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ คือ วัดโพธิ์คงคา ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนและเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ใกล้เคียงและมีโครงกระดูกมนุษย์ 2000 ปี ซึ่งได้มีการขุดพบในหมู่บ้านเมื่อนานมาแล้ว

แหล่งน้ำในชุมชน มีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้าน ชื่อฝายห้วยน้อย ซึ่งชาวบ้านจะใช้ในการทำการเกษตรและการเพาะปลูกพืช

 

สรุปบทเรียนที่ได้รับจาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่เริ่มงานจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ E-Learning ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านดิจิทัล 2) ด้านภาษาอังกฤษ 3) ด้านการเงิน 4) ด้านสังคม นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประชากรและสภาพแวดล้อมของหมู่บ้าน

2. ในการสำรวจข้อมูลประชากรและสภาพแวดล้อมนั้น มีวิธีการในการปฏิบัติดังนี้ 1) กำหนดหัวข้อของข้อมูลที่ต้องการสำรวจ 2) กำหนดแหล่งข้อมูล 3) กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมต่างๆ คือ 1) เกิดการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ 2) นำความรู้ทักษะต่างๆที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

4. ปัญหาและอุปสรรคที่พบระหว่างปฏิบัติงาน เนื่องจาก ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย ให้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาจึงให้มีเวลาเรียนรู้การทำงานน้อย และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19  ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานงานต่างๆไม่ได้รับความสะดวกในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเท่าที่ควร ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน และไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ

5. วิธีแก้ปัญหา คือ ขอข้อมูลติดต่อของผู้นำชุมชน คือท่านผู้ใหญ่บ้าน และ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อใช้ในการติดต่อขอข้อมูลในส่วนที่ยังไม่ครบ เพิ่มเติมได้

6. กิจกรรมที่ข้าพเจ้าคิดว่าควรเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง คือ การประชุมระดมความคิดของคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 ที่ระบาดอย่างรุนแรง และกระจายไปทั่วพื้นที่ ทำให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน

อื่นๆ

เมนู