1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง เรียนรู้ผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมและการต่อยอด ครั้งที่ 8

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง เรียนรู้ผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมและการต่อยอด ครั้งที่ 8

ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

          ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ซึ่งยังคงพบ เหตุการณ์การระบาดของโรคกระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันโรค ฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งใน ระดับชุมชนและโรงพยาบาล โดยมีมติเห็นชอบออกข้อสั่งการแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน และโรงพยาบาล พร้อมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค การปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประกาศการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ของจังหวัดบุรีรัมย์

          ประเด็นที่จะกล่าวเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานและการปฏิบัติงานในประเด็นสำคัญในพื้นที่ ที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) การดำเนินงานการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยทางทีมงานร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันทำกิจกรรมนำสูตรการทำขนมทั้งสองชนิด คือ กล้วยฉาบ และ ขนมบ้าบิ่น มาทดลองและปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย พร้อมบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิดความทันสมัย เหมาะสมและสอดคล้องกับการตลาดที่เปลี่ยนไปเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในประเด็นที่น่าสนใจคือการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) และมาตรการของจังหวัดที่ให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง

 

1 .กิจกรรม

         การมอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการด้านต่าง ๆ เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ตัวข้าพเจ้านั้น ได้รับผิดชอบ หมู่บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  มีจำนวนครัวเรือนเบื้องต้น มีประมาณ 64 ครัวเรือน และจำนวนประชากรประมาณ 200 กว่าคนต่อมาประสานไปยังผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำหมู่บ้าน อธิบายและทำความเข้าใจให้ทราบถึง โครงการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมรายตำบลแบบบรูรณาการรายตำบล แนะนำตนเอง และขออนุญาตในการเก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เป็นการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชน

วิเคราะห์ชุมชน

  1. จุดแข็งคือ ทำอาการเกษตรส่วนใหญ่ คือ การทำนา และทำสวนปลูกมันสัมปะหลัง เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ในแต่ละครอบครัว ซึ่งเห็นได้ชัดใน ทักษะการใช้ชีวิตที่ปรับต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ความเข็มแข็งของชุมชน ที่พึ่งพาอาศัยกัน
  2. จุดอ่อนคือ การรวมกลุ่มในชมชนยังไม่มีความเข้มแข็ง
  3. โอกาสคือ ในชุมชนบ้านหนองสองห้องมีกลุ่มสัมมาชีพ ที่เป็นการรวมกลุ่มจากคนในชุมชน ที่ทำขนนดอกจอกและพริกแกง เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ควรพัฒนากลุ่มสัมมาชีพนี้ ให้เป็นที่รู้จักและส่งออกสู่ตลาดก็จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
  4. อุปสรรคคือ ในรูปแบบชุมชนค่อนข้างห่างไกลพื้นที่เศรษฐกิจ และการหาตลาดเพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายจึงเป็นการยากประกอบกับโรคระบาดด้วย   

 

2. เก็บแบบสอบถาม แบบฟอร์ม

        การเก็บแบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม 02 โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยดำเนินการต่อยอดจากการเก็บแบบสอบถามให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในการสำรวจจำนวนครัวเรือนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำการเกษตร โดยมีการทำนาและ ปลูกมันสัมปะหลัง เพราะพื้นที่เป็นพื้นที่โคกพื้นที่ลุ่ม เป็นส่วนใหญ่ แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน มี ป่าไม้ชุมชน วัด และอ่างเก็บน้ำชุมชน

 

3. ผลิตภัณฑ์ชุมชน

        ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปในชุมชนมีอะไรบ้าง การนำไปจำหน่าย การรวมกลุ่ม มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง จากการสอบถามพบว่า หมู่บ้านหนองสองห้องมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกลุ่มสัมมาชีพ ผลิตภัณฑ์ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ขนมดอกจอก
  2. ผลิตภัณฑ์พริกแกง

        ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มสัมมาชีพของคนในชุมชน  นำโดย นายประวิทย์ มาตา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีจำนวนสมาชิก 20 คน โดยกรมพัฒนาชุมชนของอำเภอจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนอย่างเข้มแข็งของรัฐบาล

       โดยประชุมร่วมกันนระหว่างคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการและประชาชนในแต่ละกลุ่มของหมู่บ้านโดยนำผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านตนเองมาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสูตรขนมและปรับปรุงกล่องบรรจุภัณฑ์ วิธีการเก็บรักษายืดอายุผลิตภัณฑ์ แนวทางการจำหน่ายตลาดรับส่ง เพื่อแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกัน จากการประชุมร่วมกันผลการประชุมและรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ จากการประชุม

        สิ่งที่อยากให้พัฒนาคือ

                1 กล้วยฉาบ

               2 ขนมบ้าบิ่น

       การเก็บรักษา โดยผู้เข้าร่วมประชุมและเสนอแนวทางและวิธีการปรับปรุงสูตรขนมให้มีวิธีการเก็บรักษาที่ได้ยาวนานขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์เก็บไว้ไม่ได้นานจึงทำให้เสียง่าย

        ปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบมะพร้าวเป็นหลักจึงไม่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ได้ไว้นาน และมะพร้าวยังมีราคาที่สูง อุปสรรคที่สำคัญคือช่องทางการจำหน่ายที่ยังไม่มีตลาดรองรับหรือยังหาตลาดเป็นแหล่งรับที่จะสามารถส่งได้เป็นจำนวนมาก

        โอกาสที่จะพัฒนาคือพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์วิธีการที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากชุมชนยืดอายุและเก็บรักษาไว้ได้นาน เมื่อผลิตภัณฑ์เก็บรักษาได้นานโอกาสที่จะจำหน่ายหรือส่งตลาดก็มีมากขึ้นเนื่องจากการเก็บรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

4. งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์

        งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์ ที่มีบุลคลมากความสามารถคือ ท่าน ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายในหัวข้อ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน และอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์โจน จันได คนต้นเรื่องศูนย์พันพรรณ การสร้างบ้านดินเป็นคนต้นเรื่องหรือผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธ์ บรรยายหัวข้อกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชาทางเลือกทางรอดในโลกยุคโรคไวรัสระบาด และการเก็บแบบสอมถามเพิ่มเติมด้านต่าง ๆ ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ร้านอาหาร ความเป็นอยู่ในชุมชน  รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นสิ่งสําคัญ ช่วยให้สามารถทราบข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

 

5. อบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์

        โครงการได้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงสูตรขนมและการออกแบบบรรจุภัณฑ์รวมถึงโลโก้สินค้าเพื่อให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภคและสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสอบถามถึงต้นทุนในการผลิตแต่ละครั้งเพื่อนำไปวิเคราะห์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและลดต้นทุนแต่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และเจ้าของผลิตภัณฑ์มีความกังวลเรื่องต้นทุนในการผลิตที่จะเพิ่มมากขึ้นทางโครงการจึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการที่โครงการจะออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ให้ แล้วได้นำเสนอรูปแบบโลโก้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจ  

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน พร้อมกับการแจกสเปรย์แอลกอฮอล์

       นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ และ นางสาววิไลวัลย์  ต้องกระโทก นักวิชาการสาธารณสุข ให้ความรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) สายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) เป็นการแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คน โดยได้รับเชื้อละอองฝอย  จากการไอหรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง  เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ เป็นต้น

         เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) พร้อมกับการแจกสเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับประชาชน

 

6. การเก็บข้อมูลชุมชน

         การเก็บข้อมูลชุมชนครั้งนี้ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาเบื้องต้นของเกษตรกร

        ในชุมชน ภูมิปัญญาที่นำมาปรับใช้ ความเชื่อในการดำเนินชีวิต และองค์ความรู้ด้านเศษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการทำการเกษตร รวมถึงชุดข้อมูลที่ทางโครงการให้ดำเนินการเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในด้านต่าง ๆ โดยหมู่บ้านหนองสองห้องมีข้อมูลที่น่าสนใจ ได้แก่ เกษตรกรในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ทั้งสามประเภทนี้ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อที่จะพัฒนาชุมชน และที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันคือการดูแลตนเองในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19)

         การเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรให้มีความสมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และสะดวกต่อการใช้งาน การพัฒนาองค์ความรู้ ความสามารถ และความชัดเจนของคนในท้องถิ่น และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มค่า แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาสำหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ปรับตัว และดำรงชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ด้วยความที่สังคมไทยมีวิถีชีวิตอยู่คู่กับการเกษตรมาอย่างยาวนาน แม้ในปัจจุบันจะมีความทันสมัยใด ๆ เข้ามาแต่บรรดาสัตว์เศรษฐกิจทั้งหลายก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยง

         การสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19) สำหรับศาสนสถาน

               – วัดโพธ์คงคา / วัดบ้านสิงห์ 

               –  สำนักปฏิบัติธรรม วัด ตามุมเวฬวนาราม

               – วัดบ้านหนองทะยิง

               – ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง

               – วัดบ้านหนองกง

               –  สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า

การรับมือเหตุการณ์การแพร่ระบาด

  1. กรณีมีกิจกรรมทางศาสนา เจ้าหน้าที่วัด หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าภาพงานต่าง ๆ จะประสานไปยัง สาธารณสุข หรือ อสม. ประจำหมู่บ้าน เพื่อตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ตรวจวัดอุณหภูมิ การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอร์ ต้องสวมหน้ากากอานามัยตลอดระยะเวลา เข้าร่วมงานด้วยการเว้นระยะห่าง
  2. กรณีไม่มีกิจกรรมทางศาสนา ทางเจ้าหน้าที่วัด ก็ จะทำความสะอาดภายในบริเวณวัด และดำเนินการตามมารตการตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

 7. วิถีใหม่กับการใช้ชีวิต

       ประเด็นที่จะกล่าวเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานและการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ที่น่าเป็นห่วงและเป็นกังวลในขณะนี้ การดำเนินงานจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรอบคอบและรอบด้านเพื่อรักษาสุขภาพและการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของโครงการต้องสอดคล้องกับมาตราการการป้องกันของจังหวัดบุรีรัมย์  และความกังวลของคนในชุมชน

ความร่วมมือพลังชุมชนป้องกันโควิด

       เมื่อมี สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยทั่วทุกภาค จึงเป็นโอกาส ที่ดีที่คนในชุมชนจะได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะก้าวผ่านวิกฤตไปได้ ด้วยการรวมพลังชุมชนท้าชนโควิด- 19 ให้คนในชุมชนทุกคนปลอดภัย ทุกคนต้องสู้และชนะไปด้วยกัน เราจะไม่ทอดทิ้งกัน พวกเราจะเป็นฮีโร่ได้ช่วยประเทศชาติ ตามที่รัฐบาลขอร้อง ให้ทุกคนอยู่บ้านไม่ไปรับเชื้อจากที่ต่าง ๆ เพื่อหยุดไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วชุมชน ดังนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฮีโร่ทุกคนในชุมชนที่ต้องร่วมมือทำตามอย่างเคร่งครัด และร่วมกันตั้งเป้าหมายเป็นพันธสัญญาใจว่าชุมชนของพวกเราจะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อ หรือถ้ามี ผู้ติดเชื้อที่กลับมาบ้านก็จะควบคุมการแพร่กระจายไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพื่อเป็นผลงาน ที่ประจักษ์สายตาแก่ชุมชนอื่น ทำให้ชุมชนอื่น ๆ ต้องมาเอาแบบอย่าง

 

8. พัฒนาสูตรและนำมาแปรรูป

        วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเจ้าของผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ โดยมีคุณแม่อารมณ์ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และนำสูตรจากทางโครงการที่ได้คิดและปรับปรุงมาเป็นแนวทางในการปรับสูตรกล้วย เพื่อให้มีความกรอบโดยใช้สูตรที่ได้คิดค้นหรือดำเนินการตามทางโครงการแนะนำเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการทำแทนสูตรแบบดั้งเดิมและเพื่อให้เกิดรสชาติที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของคนในชุมชนและวัยรุ่นหรือการหาตลาด เพิ่มช่องทางการวางจำหน่าย โดยเน้นไปที่การพัฒนาสูตรการทอดและรสชาติเพื่อให้มีความกรอบและการทอดกล้วยที่นำความทันสมัยผสมกับความดั้งเดิมในการทอดและที่สำคัญบรรจุภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงและใช้กระดาษเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุห่อเพื่อเก็บรักษาอายุของกล้วยฉาบได้เป็นเวลานานยิ่งขึ้น และทางทีมประชุมผ่านลิงค์ google meet เพื่อดำเนินการตามทางโครงจัดอบรมให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ทางไกลโดยทำไปพร้อมกับทีมงานและได้คำแนะนำความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของผลิตภัณฑ์และสอดคล้องกับนโยบายของโครงการที่จะพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจภายในพื้นที่

          อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์คือขนมบ้าบิ่นซึ่งปัญหาหลัก คือ การเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอายุการเก็บนั้นมีเวลาเพียง 1 ถึง 2 วันเพราะจะทำให้ส่วนผสมที่เป็นมะพร้าวเกิดการเสียและมีกลิ่นไม่สามารถที่จะรับประทานได้ ซึ่งเป็นประเด็นหลักและประเด็นสำคัญที่จะทำให้ขนมบ้าบิ่นเป็นความท้าทายของทางโครงการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีการเก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้นและมีการปรับปรุงสูตรเพื่อให้เกิดการเก็บรักษาได้นาน โดยทางทีมงานและเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ร่วมกันดำเนินการและประชุมผ่านทางระบบทางไกล และร่วมกันทำขนมบ้าบิ่นผ่านระบบออนไลน์ทางไกลและได้รับคำแนะนำจากวิทยากรที่ให้ความรู้อยู่ทางโครงการแบบ real time เพื่อแลกเปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์ในการปรุงหรือปรับสูตรให้เหมาะสมกับคนรักสุขภาพเพื่อให้เกิดการใช้น้ำมันที่น้อยและให้การเก็บผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่นนั้นมีอายุที่ยาวนานขึ้น โดยการดำเนินการวิทยากรให้ความรู้ด้านต่าง ๆ

 

เก็บข้อมูล

         วันที่ 20 สิงหาคม 2564 – 13 กันยายน 2564 เก็บแบบสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินตนเองและบุคคลที่อยู่อาศัยในครัวเรือนเป็นกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับการติดเชื้อหรือมีอาการหรือไม่ ส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักถึงการป้องกันตนเองโดยแรงจูงใจมาจากความรักที่มีต่อกันความเข้าใจกันของคนในครอบครัวของตนเองจึงทำให้เกิดความกลัวในการที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากการป้องกัน และเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันตนเอง

       โดยการสังเกตอาการแต่ละครั้งเมื่อมีคนหรือบุคคลในครอบครัวมีอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสหรืออื่นใดจะไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้นและตรวจหาเชื้อและที่สำคัญเนื่องจากมาตรการของจังหวัดบุรีรัมย์มีการจัดให้ประชาชนในเขตจังหวัดเพื่อให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและหมู่ 13 บ้านหนองสองห้องเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 เกิน 50% ของในชุมชนแล้วจากการสอบถามผู้นำชุมชนเบื้องต้นและจะมีการเก็บตกจากบุคคลที่ยังมีความกังวลหรือทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นเพื่อรับวัคซีนอย่างทั่วถึง

 

กระบวนการนำมาใช้ในการปฏิบัติ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย

        ในการทำงาน การแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และปัญหาที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ครั้ง ก็เป็นปัญหาที่เรางานคาดไม่ถึงมาก่อน การแก้ปัญหาต้องใช้ไหวพริบ และเป็นการวัดกึ๋นของเราได้เลยว่า มีการจัดการปัญหาได้ดีเพียงไร จริง ๆ แล้วเกิดจากการวางแผนและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเสมอ

        1. กำหนดเป้าหมายความสำเร็จในแบบของเราเอง

        ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในการทำงาน การเรียน หรืออะไรก็ตาม ไม่ได้จะต้องเป็นไปตามสิ่งที่คนอื่นคิดเสมอไป ความสำเร็จของเรา เราควรเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และเส้นทางการเดินทาง เพื่อที่เราจะสามารถบรรลุความสำเร็จของเราได้ เพราะว่าเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ

        2. เวลาทำงาน คิดอะไรออกให้รีบจด

        บางครั้งบางที ความคิดดี ๆ โผล่มา ไม่ว่าจะเป็นตอนก่อนนอน นั่งทานข้าวกลางวัน หากไม่รีบจดไว้อาจจะลืมเอาได้ บางครั้งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงาน การพกสมุดจดเล็ก ๆ ติดตัวไว้ หรือจะใช้แอปในโทรศัพท์มือถืออัดเสียงเอาไว้ก่อน

        3. มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน

         การมีความอดทนอดกลั้น เพียรพยายามในการทำงาน เป็นพลังที่จะส่งเสริมให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ คือ อดทนต่อพฤติกรรมคำพูด อดทนต่อความเครียดความเหนื่อยในการทำงาน อดทนต่อสถานการณ์ที่เลวร้าย รู้จักปรับตัว และคิดหาทางแก้ไขปัญหาได้จะสามารถทำให้เราเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ และประสบความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตในที่สุด

        4. ไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง

         การที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลิกการวางตัว การแต่งกาย พฤติกรรม วิธีการทำงาน ความเข้าใจในการทำงานในหน้าที่ของตนเอง วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการประเมินความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อะไรที่เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมก็ควรจะต้องค้นคว้าหาเวลาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

           5. รู้จักบริหารเวลา

        จากคำกล่าวที่ว่า ทุกคนอาจมีทรัพยากรอื่นไม่เท่าเทียมกัน แต่ทุกคนมีทรัพยากร เวลาวันละ 24 ชั่วโมง\ จะเกิดประโยชน์คุ้มค่าแค่ไหนขึ้นอยู่กับการรู้จักบริหารเวลาของแต่ละคน ..เวลาเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จแขนงที่สำคัญ ... ทุกคนชอบพูดว่าเวลาเป็นของมีค่า แต่น้อยคนที่จะใช้เวลานั้นให้คุ้มค่าจริง ๆ คนที่ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเวลาเท่านั้นที่ชอบปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างว่างเปล่า ด้วยการไม่สนใจที่จะไขว่ขว้าเรียนรู้ ฆ่าเวลาโดยไร้ประโยชน์ ความสำคัญของเวลา และการรู้จักบริหารเวลาการบริหารเวลาให้เป็นจะช่วยลดความไม่เป็นระเบียบในชีวิต เพิ่มความสุข และความสำเร็จให้แก่ตนเองและการทำงาน

        

 ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

         การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมทีม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ต้องดำเนินงานโดยความร่วมมือของทุกคน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง และทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

       จุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจและการทำงานมีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แต่ละคน ต่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน โดยไม่ทราบความต้องการและแผนงานของทีม ดังนั้น จำเป็นต้องจัดสรรเวลาในการกำหนดเป้าหมายการทำงานเป็นทีมร่วมกัน โดยการจัดประชุมทีมและหารือเรื่องเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชาหรือจากองค์กร และให้สมาชิกทีมได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น หาแนวทางการปฏิบัติ หาวิธีการทำงาน และทราบกำหนดงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ อุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุน และเป้าหมาย ของงานโดยพร้อมเพรียงกันทั้งทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

        การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จและโดยเฉพาะเป้าหมายที่กำหนดอย่างชัดเจน จำเป็นจะต้องวางแผนการทำงานและความต้องการขององค์กร หากกล่าวอีกมุมหนึ่งต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองก็จะต้องสื่อสารย้อนกลับ เพื่อแจ้งความเข้าใจ ความขัดข้อง หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

       การสื่อสารงานภายในทีมคือการแจ้งความต้องการขององค์กรในเรื่องงาน เพื่อต้องการผลสำเร็จเกี่ยวกับงาน ขององค์กร และไม่ใช่ประสิทธิภาพของงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการถึงความต่อเนื่อง และการพัฒนางาน พัฒนาองค์กรไปพร้อม ๆ กันด้วย

         ปัจจัยแห่งความสำเร็จและความชัดเจนในเป้าหมาย มีอิทธิพลต่อความเข้าใจในความสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเป็นด้วยการสนับสนุนและความชัดเจนในเป้าหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของงาน และทักษะของการทำงาน รวมถึงการสื่อสารที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ที่จะกำหนดความสำเร็จของตนเองได้เป็นอย่างดี และสามารถกำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ต้องการสร้างความสำเร็จในการบริหารจัดการตนเองได้ โดยการจัดเตรียมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของของตนเองให้พร้อมเสมอ

 

ปัญหา/อุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน

การพัฒนาทักษะการคิดและการเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน

         – การดำเนินงานของโครงการมุ่งเน้นเพียงแค่การพัฒนาเฉพาะกลุ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ บางชนิด ซึ่งการดำเนินงานของโครงการที่มุ่งเน้นในการเก็บแบบสอบถามเป็นหลักซึ่งไม่ตอบกับการดำเนินงาน

         – ประประชนมีส่วนร่วมน้อยจึงทำไห้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการลดน้อยลงไม่ได้รับความสนหรือดึงดูดเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันกับโครงการ

         – เมื่อดำเนินเข้าไปเก็บแบบสอบสามในชุมชนช่วงหลังประชาชนเริ่มให้ความร่วมมือน้อยลงเพราะประโยชน์ที่ได้รับน้อยมาก

         – เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในด้านต่าง เช่น การรวมกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันกับโครงการ

         – ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้านเนื่องจากเข้าสู่ช่วงการทำเกษตรและแบบสอบถามรายละเอียดมาก และหลายชุดในชุดข้อมูลคล้ายกัน

 

วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ด้วยดี

        การดำเนินงานจำเป็นต้องให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ส่วนใหญ่ใช้วิธีการวงาแผนเพื่อตัดสินผลการทำงานเนื่องด้วยมีความสำคัญในการประเมินความสำเร็จของตนเอง แต่ทำไมเราถึงต้องรอให้ผลการประเมินการทำงานของเราออกมาในเมื่อเราสามารถเริ่มปรับปรุงวิธีการทำงานของเราได้ตลอดเวลา เริ่มจากการปรับปรุงปัจจัยหลัก ๆ ที่จะช่วยให้เราทำงานได้ดียิ่งขึ้นโดยเราสามารถรู้สิ่งที่ควรปรับปรุงได้จากการตนเองซึ่งช่วยบอกถึงสิ่งที่ควรต้องปรับปรุงต่อไป

  1. โฟกัสงานที่ทำ

        การทำงานแบบหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันย่อมไม่ดีกับเราเป็นแน่ เพราะสมองสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เพียงเวลาเดียว คนที่ทำงานแบบสลับไปมาระหว่างสองสิ่งที่ต่างกันย่อมมีปัญหาสภาวะทางอารมณ์ ขาดความกระตือรือร้นและเกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง ผลคือผลการปฏิบัติงานไม่ดีเท่าที่ควร เลือกการทำงานโดยมุ่งให้ประสาทสัมผัสและสมาธิของเราทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ทั้งคุณภาพ ประสิทธิผล และความสร้างสรรค์ในงานของเราการทำงานแบบเน้นงานชิ้นในชิ้นหนึ่งช่วยให้เราเพิ่มสมาธิและความตั้งใจได้ดียิ่งกว่าเดิม ช่วยให้เราสามารถค้นหาวิธีการและคิดหาวิธีการที่สร้างสรรค์หรือพบวิธีการใหม่ ๆ

  1. เรื่องของสุขภาพกายและจิต

        งานที่ดีที่สุด ย่อมมาจากจิตและกายที่ดีที่สุด ดังนั้น หากเราเหนื่อยล้าอยู่ เราไม่มีทางสร้างงานที่ดีออกมาได้ การอดหลับอดนอนเพื่อทำงานย่อมไม่เป็นผลดีต่องานที่ออกมาอย่างแน่นอน ผลคือ ร่างกายและจิตใจอันเหนื่อยล้าของเราในช่วงเวลาทำงาน ทำให้สมรรถนะในการทำงานของเราเสื่อมถอยลง เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยล้า ทำตัวเองให้สดชื่นอยู่เสมอเพื่อช่วยรักษาระดับทัศนคติและลดข้อผิดพลาดในการทำงานให้น้อยลง

  1. ทำงานในแต่ละวันให้เต็มที่

        เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของเราผ่านการวางแผนในแต่ละวัน ระบุสิ่งที่เราต้องทำในแต่ละวันถัดไปก่อนที่เราจะนอนหรือเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าเพื่อที่เราจะได้ทำงานในวันนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ คิดถึงสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จในแต่ละวันหรืองานอื่น ๆ ที่ต้องการเวลาในการทำงานมากกว่าเดิม และไม่ลืมหาเวลาในการพักทุก ๆ 5-10 นาที เพื่อที่เราจะได้ทำสมองให้ปลอดโปร่งก่อนจะเริ่มงานถัดไป หากเราติดขัดหรือคิดงานไม่ออก ลองหาเวลาไปเดินเล่นพักสมองซัก 10 นาที หากเราวางแผนการทำงานของเรามาเป็นอย่างดีแล้ว เราจะไม่เพียงแต่รู้สึกทำงานได้อย่างเต็มที่กับงานเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการเต็มที่กับชีวิตอีกด้วย นอกเหนือจากการวางแผนการทำงานและยึดตามแผนให้สำเร็จ

  1. เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน

        การทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นทักษะที่จำเป็นในที่ทำงานเพราะว่าความสำเร็จของทีมก็คือความสำเร็จของเราเช่นเดียวกัน การทำงานร่วมกันในทีมทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ และการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันนั่นเอง

        ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เราเป็นคนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างแรกเลยคือเราต้องแน่ใจว่าได้ทำงานจนสุดความสามารถ ต่อมาคือการช่วยสนับสนุนทีมผ่านทักษะความสามารถหรือการวางแผนการปฏิบัติงาน คือการเข้าใจถึงจุดอ่อนของตัวเราเองเพื่อที่เราจะได้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นซึ่งมีความถนัดมากกว่า และการขอความช่วยเหลือและคำแนะนำต่าง ๆ รูปแบบของการทำงานที่เราจะได้รับการพัฒนา นั่นคือ ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะการสื่อสารและ การทำงานร่วมกันเป็นทีม

        สมรรถนะในการทำงานของเราเป็นสิ่งที่หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานของเราจะตัดสินเราเป็นหลัก โดยขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติว่าทำได้มากน้อยเพียงใด การเข้าใจความคาดหวังถึงขีดความสามารถในงานของคุณจึงมีสำคัญเป็นอย่างมาก รูปแบบการประเมินจากหัวหน้าเราให้ชัดเจนเพื่อที่เราจะสามารถปรับปรุงการการทำงานของเราต่อไป การบริหารเวลาในการทำงานแต่ละวันจะช่วยให้เราสามารถจัดสรรเวลาในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เมื่อเราจัดอันดับความสำคัญของงานเราได้แล้ว เราย่อมรู้สึกมั่นใจที่สามารถควบคุมเวลาและความเครียดได้ดีขึ้น โดยปกติแล้ว เราจะรู้สึกมั่นใจถึงประสิทธิภาพในการทำงานและไว้วางใจได้ยิ่งกว่าเดิม ซึ่งช่วยให้สะท้อนผลการทำงานของเราให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 

กิจกรรมที่น่าสนใจแะแนวทางการพัฒนาชุมชน

       การปลูกผักอินทรีย์เพื่อดำรงค์ชีวิตประจำวัน 
       สนับสนุนให้ประชาชนหมู่บ้านดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ความสามารถในการปลูกผักอินทรีย์

เศรษฐกิจพอเพียงสู้วิกฤติโควิด-19

        เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เพียงทำลายสุขภาพมนุษย์จนถึงขั้นตาย แต่ยังทำลายเศรษฐกิจในประเทศด้วย ในส่วนของการดำเนินชีวิตที่มีการพูดถึง “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “ ศาสตร์พระราชา” ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา  ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ “เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม”  เศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพออยู่พอกิน อย่าใช้ชีวิตติดหรู จะอยู่ได้อีกนาน  ในหลวงท่านสอนไว้ให้อยู่อย่างพอเพียงแล้วจะอยู่รอดปลอดภัย ต้องกินต้องอยู่อย่างพอเพียงอย่างที่พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 สอนไว้ “คนไทยจะจนจะรวย จะอยู่ที่ประเทศไทยหรือจะอยู่ต่างประเทศควรอยู่กินอย่างพอเพียง” เราต้องพึ่งพาตนเอง พาตัวเองออกจากความกลัว ตั้งสติแล้วหาหนทาง ปฏิบัติให้เราอยู่รอดปลอดภัย และพอเพียงตามกำลังฐานะ และมีความรักสามัคคี ช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน เป็นหนทางที่ดี

 

ทัศนะของข้าพเจ้าในการพัฒนาชุมชน

การดำเนินงานของตัวข้าพเจ้านั้นมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ด้วยความรู้ความสามารถ ตามศักภาพ  ข้าพเจ้าจึงเขียนบทความนี้เพื่อบอกถึงความสำคัญในการพัฒนา โดยในทัศนะของข้าพเจ้าเอง การพัฒนาชุมชนเป็นกลไกอันสำคัญที่กำหนดทิศทาง นโยบาย แนวทางและกระบวนการในการพัฒนา เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย คือ ชุมชน (ประชาชน) ที่สุขสมบูรณ์การพัฒนาชุมชน เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ ที่ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ สภาพทั่วไปของปัญหา ความต้องการ กระบวนการแก้ไขปัญหา และผู้เกี่ยวข้องในระบบ และปัจจัยภายนอก อันได้แก่ กระแสด้านสังคมที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

        การพัฒนาชุมชน เป็นการบริหารจัดการชุมชนที่มีกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนา อันมีองค์ประกอบ ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาสังคม โดยท้องถิ่น เป็นองค์กรหลัก และประชาสังคมเป็นผู้รับประโยชน์ที่สุขสมบูรณ์การพัฒนาชุมชน จึงเป็นภาระหน้าที่ของคนทุกคนที่จะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันรับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สุขร่วมกัน 

 

“ขอส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่อดทน เสียสละ ต่อสู้กับโรคโควิด-19 เพื่อคนไทยทุกคน ขอบคุณมาก ๆ นะครับ พวกคุณคือฮีโร่ของผมและของคนไทยทุกคน”

อื่นๆ

เมนู