จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ที่ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ทั้งเรื่องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้การลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมีความยากมากขึ้น เนื่องจากการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจะต้องใกล้ชิดกับคนในชุมชน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลงพื้นที่ ติดต่อประสานงานกับชาวบ้าน และในการปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ตามที่ประกาศจังหวัดบุรีรัมย์กำหนดไว้

การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน มีดังนี้

วันที่ 20 สิงหาคม 2564  เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ในตำบลบ้านสิงห์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ร่วมพัฒนาคือ ขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี และการอบรมในครั้งนี้จะเป็นการอบรมแบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) โดยอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นผู้ให้ความรู้และกลุ่มนักศึกษาเป็นผู้ดูแลการถ่ายทอดสดที่ ตึก 22 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์ที่เป็นผู้ให้ความรู้และนักศึกษาได้มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการถ่ายทอดสด เมื่อถึงเวลานัดหมายจึงได้เริ่มการถ่ายทอดสด และได้สอบถามแม่อารมณ์และแม่มาลีถึงความต้องการพัฒนาสูตรขนมหรือปรับรูปแบบวิธีการทำหรือไม่ โดยแม่อารมณ์ทำผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบ มันฉาบไม่ต้องการปรับสูตรในการทำขนมแต่อย่างใด เพียงต้องการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ในการเก็บผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บได้ยาวนานขึ้น และอยากให้บรรจุภัณฑ์มีความน่าสนใจ ดึงดูดลูกค้าได้ อาจารย์ผู้ให้ความรู้จึงได้แนะนำบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าและราคาต้นทุนไม่ได้สูงมาก สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นและน่ารับประทาน ส่วนแม่มาลีทำผลิตภัณฑ์คือ ขนมบ้าบิ่น และแม่มาลีต้องการปรับเปลี่ยนสูตรขนมเพื่อกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ โดยอาจารย์ผู้ให้ความรู้จะสาธิตให้ดูผ่านการถ่ายทอดสดและให้แม่มาลีปฏิบัติตามไปพร้อม ๆ กัน โดยสูตรการทำขนมบ้าบิ่นที่อาจารย์ได้สาธิตให้ดูเป็นสูตรที่ใช้น้ำมันในการทำน้อยที่สุด โดยมีส่วนผสมและวิธีทำดังนี้

ส่วนผสม

  • แป้งข้าวเหนียว  100 กรัม (1 ถ้วยตวง)
  • แป้งท้าวอย่างดี    1 ช้อนโต๊ะ
  • มะพร้าวทึนทึกขูด    200 กรัม
  • น้ำตาลมะพร้าว    100 กรัม (ปรับความหวานตามชอบ)
  • เกลือ     1 กรัม
  • กะทิ      1/2 ถ้วย
  • น้ำมันพืช (สำหรับทากระทะ)

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีทำ

  • ผสมน้ำกะทิ เกลือ น้ำตาลมะพร้าว คนจนน้ำตาลละลายเดิม
  • ใส่แป้งข้าวเหนียวผสมแป้งท้าวอย่างดี คนให้เข้ากันอีกครั้ง
  • เสร็จแล้วใส่มะพร้าวขูดลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
  • เตรียมกระทะพร้อมกับเปิดไฟกลาง
  • เมื่อกระทะร้อนดีแล้ว ตักขนมแล้วหยอดไปขนาดพอดีคำ
  • ทำให้สุกทั้งสองด้าน เสร็จแล้วนำขึ้นมาใส่จาน

ผลจากการปรับเปลี่ยนสูตรในการทำขนมบ้าบิ่นในครั้งนี้ เนื่องด้วยความต่างของอุปกรณ์ คือกระทะที่ใช้ในการทอดที่แม่มาลีใช้อยู่นั้นถ้าใส่น้ำมันน้อยเกินไปจะทำให้ขนมบ้าบิ่นไหม้ได้ จึงต้องมีการปรับสูตรเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์

สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน

     เดือนกุมภาพันธ์ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่พบประผู้นำของชุมชนตำบลบ้านสิงห์ และได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ได้ประชุมหารือกับผู้นำของตำบล และได้สอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน พบว่าผลิตภัณฑ์ในชุมชนแห่งนี้มีหลากหลาย ทั้งที่เป็นกลุ่มสัมมาอาชีพ และที่ทำขายกันเองตามชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ขนมที่ทำมาจากกล้วยและมัน ขนมทองม้วน ดอกจอก ขนมไส่ใส้ กะหรี่ปั๊บ และขนมอื่นๆอีกมากมาย ชุมชนแห่งนี้ยังมีการทำการจักสานต่าง ๆ เช่น สุ่มไก่ และยังมีการปลูกดอกไม้  มันสำปะหลังเพื่อจำหน่ายหารายได้ให้กับครัวเรือนอีกด้วย และลงพื้นที่เพื่อทำแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน

     เดือนมีนาคม ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่หมู่ 5 บ้านหนองตาชี และหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย โดยได้ไปทำแบบสอบถาม 01  แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน จำนวน 20 ชุด แบบสอบถาม 02 เกี่ยวกับผลกระทบโรคโควิด-19 จำนวน 100 ชุด แบบสอบถาม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ จำนวน 20 ชุด ชาวบ้านที่ให้ข้อมูลให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

     เดือนเมษายน ได้เข้าอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ณ ต.บ้านสิงห์ เพื่อที่จะได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชน พบว่าชุมชน ต.บ้านสิงห์ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นกลุ่มสัมมาชีพและกลุ่มวิสาหกิจ

     เดือนพฤษภาคม ได้เข้าร่วมประชุมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน” โดยชมการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง YouTube ช่อง HUSOC-BRU Chanel เริ่มเวลา 09.00-15.00 น. โดยมี ผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทำหน้าเป็นพิธีกรดำเนินรายการถ่ายทอดสดงานบุญผ้าป่า-ปาถกฐาชุมชนทางออนไลน์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวรายงานโดย นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง และได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำข้อมูลไปบันทึกในแบบฟอร์มทั้งหมด 10 ด้าน

     เดือนมิถุนายน ได้เข้าร่วมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และมีชาวบ้านที่เป็นตัวแทนหมู่บ้านในการทำขนมมาอบรมด้วย โดยผู้ที่เข้าร่วมการอบรมคือกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชน ส่วนกลุ่มนักศึกษาได้เข้าร่วมผ่านการ live ทาง Line โดยวิทยากร คือ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้  และได้เข้าร่วมการถ่ายคลิปวีดิโอ covid week เพื่อรณรงค์การฉีดวัคซีน และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าในชุมชน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

     เดือนกรกฎาคม ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google Meet  กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงการจัดเก็บข้อมูลในระบบ OTOU โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และมีการแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย  และได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย

     เดือนสิงหาคม อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก และอาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ ได้นำทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ลงพื้นที่บริจาคอาหารแห้งและสิ่งของที่จำเป็นให้กับชาวบ้านที่กักตัว ในนามของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ณ ศูนย์กักตัวตำบลบ้านสิงห์ จัดตั้งขึ้นภายในวัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)  ที่แพร่ระบาดอย่างหนัก ทำให้ในช่วงนี้มีประชาชนที่ติดเชื้อจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจัดตั้งศูนย์กักตัวหรือศูนย์พักคอยให้สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อแล้วเดินทางมายังตำบลบ้านสิงห์จะต้องเข้ากักตัวเป็นเวลา 14 วัน ดังนั้นทางโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T จึงได้เห็นถึงความสำคัญและอยากมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ที่เข้ารับการกักตัวและสนับสนุนการฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ จึงได้ร่วมกันบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นและอาหารแห้งให้แก่ศูนย์กักตัวตำบลบ้านสิงห์ และได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย

     ในการทำงานทุกเดือนจะต้องมีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการทำงานแต่ละครั้งให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม อีกทั้งยังเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนความคิด ปัญหาอุปสรรคในการทำงานของทีมอีกด้วย

     ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นเรื่องต้องกล้าตัดสินใจอย่างทันท่วงที ให้เกิดผลกระทบน้อยสุด  อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และได้รู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น การได้วางแผนการทำงานให้ดี ให้รอบคอบก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง นอกเหนือจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายก็จะมีกิจกรรมจิตอาสาที่มีให้ทำเรื่อย ๆ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำร่วมกันมากขึ้นเพื่อที่ทำให้สนิทสนมกันและทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และมีการแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่ดีแก่กัน

     ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานที่พบคือ เมื่อได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่ในแต่ละครั้งจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) เนื่องจากช่วงเวลานี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างหนัก จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด และยังมีชาวบ้านบางกลุ่มที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการสอบถามข้อมูลจึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล

     วิธีแก้ปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปด้วยดี คือการป้องกันตนเองให้ดีที่สุด ด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ และเมื่อจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลหรือทำแบบสอบถามควรมีการแจ้งผู้นำหมู่บ้านให้แจ้งชาวบ้านว่าจะมีการมาทำแบบสอบถามเพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบและให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถาม

 

อื่นๆ

เมนู