ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ร่วมกิจกรรมอบรมการแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์

ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายผู้ปฎิบัติงานลงพื้นที่ในตำบลบ้านสิงห์สำหรับกิจกรรมการแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์เนื่องด้วยกิจกรรมอบรมครั้งที่ผ่านมาเป็นการออกแบบออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและน่าสนใจมากขึ้นแล้ว ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการสานต่อกิจกรรมจากครั้งที่ผ่านมาเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์โดยผลิตภัณฑ์ที่จะร่วมพัฒนาคือขนมกล้วยทอดของแม่อารมณ์และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี ในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการอบรมแบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยสาขานวัตกรรมอาการและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นผู้ให้ความรู้และกลุ่มนักศึกษารับผิดชอบดูแลการถ่ายทอดสดที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบดูแลการถ่ายทอดสดในพื้นที่และก่อนที่จะทำการอบรมทางโครงการได้มีการสอบถามแม่อารมณ์และแม่มาลีถึงความต้องการพัฒนาสูตรขนมหรือปรับรูปแบบวิธีการทำหรือไม่โดยได้ข้อสรุปดังนี้

>>>แม่อารมณ์ ทำผลิตภัณฑ์คือขนมกล้วยทอดมันทอดไม่ต้องการปรับสูตรในการทำขนมแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากเดิมที่เป็นเพียงถุงพลาสติกใสให้มีความสวยงามน่าสนใจมากขึ้นทางโครงการจึงได้จัดหารูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบหลากหลายขนาด

 

เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าและราคาที่จะขายโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาการและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์คอยให้ความรู้ผ่านทางออนไลน์ และเมื่อได้ลองเปลี่ยนแบบบรรจุภัณฑ์ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือมีความสวยงามและหน้ารับประทานมากขึ้น ด้วยรูปแบบบรรจุภัณฑ์ถึงแม้จะลดปริมาณขนมลงแต่ยังคงเหมือนขนมมีปริมาณเยอะอยู่ในส่วนนี้สามารถเพิ่มกำไรให้มากขึ้นได้

 

>>แม่มาลี ทำผลิตภัณฑ์คือขนมบ้าบิ่นต้องการลองปรับวิธีในการทำเพื่อกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาการและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงได้ให้ความรู้และสาธิตวิธีในการทำบ้าบิ่นเพื่อที่จะใช้น้ำมันในการทำน้อยที่สุดผ่านทางออนไลน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการเตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ ได้แก่
-มะพร้าวทึนทึกขูด
-แป้งข้าวเหนียว
-น้ำตาลทราย
-เกลือ
-กะทิ
อุปกรณ์ในการทำได้แก่
-เตา
-กระทะสำหรับทอดบ้าบิ่น
-ช้อนตวงต่าง ๆ

 

โดยในการให้แม่มาลีและผู้ปฏิบัติงานได้ลองทำไปพร้อม ๆ กันกับผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาการและแปรรูปที่ละขั้นตอนดังนี้
-เทแป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย เกลือ และกะทิลงในชามผสมแล้วคนผสมให้เข้ากันตามอัตราส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารบอก
-ใส่มะพร้าวขูดลงไป นวดผสมให้เข้ากันดี
-ตั้งกระทะให้ร้อนเทน้ำมันเล็กน้อยให้ทั่วจากนั้นตักส่วนผสมลงกระทะ
-จี่ให้สุกสีเหลืองทองทั้งสองด้าน
และผลจากการเปลี่ยนแปลงสูตรในการทำขนมบ้าบิ่นในครั้งนี้เนื่องด้วยความต่างของอุปกรณ์คือกระทะที่ใช้ในการทอดเดิมที่แม่มาลีมีอยู่นั้นหากใช้นำมันที่น้อยเกินไปจะทำให้ขนมบ้าบิ่นไหม้ได้จึงต้องมีการปรับสูตรเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

 

สรุปบทเรียนทึ่ได้รับจากการปฏิบัติงาน

  1. กิจกรรมที่ได้ทำตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันได้แก่
    เดือนกุมภาพันธ์
    -ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์เพื่อพบผู้นำชุมชนรับฟังข้อมูลพื้นฐานของแต่ละหมู่บ้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
    -เก็บแบบสอบถามในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตามเอกสารแบบฟอร์ม 01 (แบบสอบถามข้อมูลบุคคลครัวเรือนและชุมชน) แบบฟอร์ม 02 (แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 )
    เดือนมีนาคม
    -เก็บแบบสอบถามในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตามแบบฟอร์ม 06 ในแบบสำรวจที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย จำนวน 75 ชุด และแบบสำรวจที่ 4 สำหรับโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 4 ท่าน
    -เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลบุคคลและครัวเรือนเพิ่มอีกสาม 35 ชุด และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด19 เพิ่มอีก 100 ชุด
    เดือนเมษายน
    -ร่วมพิธียกเสาเอก เสาโท ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นศุนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน
    -ประชุมร่วมกับตัวแทนชุมชนเพื่อพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย ณ ห้องประชุมองค์การบริการส่วนตำบลบ้านสิงห์
    เดือนพฤษภาคม
    -สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พักโรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น และบันทึกข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่นของ U2T
    -ร่วมพิธีทอดผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยังยืนผ่านทางออนไลน์
    เดือนมิถุนายน
    -อบรมออกแบบบรรจุภัณฑ์ห้ให้กับกลุ่มประชาชนในชุมชนบ้านสิงห์ที่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขนมไทย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
    -ถ่ายทำวิดีโอเพื่อรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid week)
    -ร่วมกันปลูกต้นไม้ในโครงการร่วมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
    -ร่วมอบรมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน โควิด-19 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
    -เก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกษตรกรในท้องถิ่นตำบลบ้านสิงห์
    เดือนกรกฎาคม
    สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย จำนวน 50 ชุด
    สำรวจข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 3 ท่าน

    เดือนสิงหาคม
    -ร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้และอาหารแห้งให้แก่ศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด-19 วัดบ้านสิงห์และวัดหนองทะยิง พร้อมสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ในการดูแลผู้กักตัวตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่
    -สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย จำนวน 50 ชุด
    -สำรวจข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 3 ท่าน

2. กระบวนการในการปฏิบัติงานและหลักการทำงาน
อันดับแรกต้องหาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของชุมชนแล้วจึงเข้าไปสำรวจข้อมูลว่าตอนนี้ชุมชนมีปัญหาอะไรและต้องการอะไร
-ลงพื้นที่เข้าไปทำงานกับชุมชนอย่างเป็นกันเองและอย่างต่อเนื่อง
-ทำให้ชุมชนเห็นประโยชน์จากการปฏิบัติงานของเราและยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการทำงานของ
ราเองด้วย

3. ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
-ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชนร่วมถึงวิธีการวางตัวเพื่อให้เข้ากับคนในชุมชนได้ง่าย
-ได้เรียนรู้การประสานงานและทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันคือพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
-ได้รับรู้และเข้าใจถึงปัญหาและร่วมส่งเสริมพัฒนาการทำขนมในชุมชน

4. ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน
-ในช่วงแรกของการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนมากนักและยังไม่กล้าให้ข้อมูลมากนักบางท่านปฏิเสธการให้ข้อมูล
-เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้บ้างครั้งอาจไม่สะดวกในการทำงานและในช่วงที่มีการระบาดหนัก ๆ บ้างพื้นที่ก็ไม่สารมารถที่จะเข้าพื้นที่ได้ทำให้เก็บข้อมูลไม่ได้

5. วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
-ในการลงพื้นที่ต้องมีการขออนุญาตผู้นำชุมชนและให้ผู้นำชุมชนแจ้งแก่ลูกบ้านก่อนที่จะเข้าไปเก็บข้อมูล
-ก่อนสอบถามข้อมูลต้องแนะนำตัวและหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่อย่างชัดเจนเพื่อความน่าเชื่อถือและแขวนป้ายชื่อที่โครงการออกให้ทุกครั้ง
-เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ต้องลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากคนในชุมชนทำให้ต้องระวังเป็นพิเศษ ร่วมถึงการประชุมหรืออบรมต่าง ๆ ที่ร่วมกลุ่มคนเยอะ ๆ ต้องมีการขออนุญาตก่อนทุกครั้งและอยู่ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดเวลา

6. ควรมีการเพิ่มกิจกรรมใดเพื่อทำให้การปฏิบัติงานในชุมชนเกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
-เนื่องจากหลักสูตรที่พัฒนาชุมชนคือการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมได้นำเนินการพัฒนามาถึงขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์แล้วต่อไปควรมีการเพิ่มช่องทางในการขายและเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้นโดยการเปิดขายแบบออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น

 

อื่นๆ

เมนู