บทความประจำเดือน ตุลาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองขาม” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนขอการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการป้องกัน โควิด ตามมาตรการของรัฐบาล อย่างเคร่งคัด
ข้าพเจ้า นายปริวัติ จำเนียรกูล กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 2 บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือน ตุลาคม นี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่บ้านหนองขาม และ ภายในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
2 ตุลาคม พ.ศ.2564
เวลา 10:00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ เพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 เดือน ผ่านช่องทาง Google Meet และมีการต้อนรับและแนะนำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานคนใหม่ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน รวมถึงอธิบายวิธีและแนวทางในการปฏิบัติงาน การลงเวลาปฏิบัติงาน และการเขียนบทความให้กับผู้ปฏิบัติงานใหม่ได้รับทราบและเข้าใจและได้นำไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามวัตถุปนะสงค์ของโครงการ
5 ตุลาคม พ.ศ.2564
เวลา 16:00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านช่องทาง Google Meet เนื่องจากมีงานใหม่ล่าสุดเข้ามา จึงมีการนัดหมายประชุมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งงานล่าสุดที่ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้รับมอบหมาย คือ แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ทำการแบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำแบบสอบถามตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน แยกตามงานที่ได้รับผิดชอบมีบัณฑิตจบใหม่นักศึกษา และ ประชาชน ตามความเหมาะสมของแต่ละงาน
14 ตุลาคม พ.ศ.2564
จากการที่ได้รับมอบหมายทำแบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T หัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือ ตำบลเป้าหมาย จึงทำการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล โดยผู้ที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้ คือ นางมาลี ขาวสระ นางจรัญ แซ่ตัง และ นางศุภกาญจน์ โสกูล ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่น ทองม้วน และ ขนมกล้วยแปรรูปต่างๆที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาขนมในครั้งนี้ด้วย
15 ตุลาคม พ.ศ.2564
มีการจัดการอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน มีผู้ดำเนินงานในโครงการทั้งหมด อาจารย์ประจำโครงการ รวมไปถึงวิทยากรที่มาแนะนำและสาธิตวิธีการทำสเปรย์ไล่ยุง น้ำมันเหลือง และยาหม่อง เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีการทำและนำไปใช้ให้แก่ผู้ที่มาเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ในส่วนของหมู่ 2 มีผู้เข้าร่วมโครงการ สองท่าน 1.นางทองพูล ทองทำกิจ 2.นาางประยอง ชำนาญยา
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่มีการอบรมในครั้งนี้ มีส่วนประกอบและวิธีกรทำ ดังนี้
- สเปรย์กันยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
- เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร 2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
- ผิวมะกรูด 50 กรัม 4. การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าวบาง แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ถึง 2 สัปดาห์ หมั่นเขย่าทุกวันเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน
- น้ำมันเหลือง
ส่วนประกอบ
- ไพล 200 กรัม 2. ขมิ้น 50 กรัม
- น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำและการเตรียมน้ำมันไพรเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
- เมนทอล 120 กรัม 2. การบูร 80 กรัม
- พิมเสน 40 กรัม 4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทำ
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และทำการคนจนจนเข้ากัน จนผสมกันจนใสไม่มีเม็ดตกตะกอน ขั้นตอนต่อไปจึงทำการเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน
- ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
- วาสลิน 120 กรัม 2. พาราฟิน 80 กรัม
- น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร 4. พิมเสน 20 กรัม
- เมนทอล 20 กรัม 6. การบูร 20 กรัม
- น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร 8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทำ
- ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลายจนเป็นน้ำสีใส
- ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และนำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกันจนละเอียด
- เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำ และยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกันจนใสละเอียดจนไม่เป็นเม็ด
- เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
- ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
- สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
- ควรทำอย่างใจเย็นและตั้งใจเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์
- สามารถปรับผิวสัมผัสความแข็งและนุ่มตามที่เราต้องการได้
เกร็ดความรู้
- การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
- เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
- พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
- วาสลิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
- น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
- น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ แก้โรคหอบหืด
รูปภาพในการทำกิจกรรมเดือนตุลคม
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ ตลาดนัดเย็นสี่แยกบ้านหนองขามและตลาดนัดเย็นบ้านโคกไม้แดง
1.มีการกำหนดทางเข้าออกอย่างชัดเจน และมีการคัดกรองพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ พร้อมทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ ตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์ทันทีและห้ามเข้าไปซื้อของในตลาด
2.มีมาตรการให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ
3.จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างเพียงพอ
4.มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิดตามช่องทางต่าง ๆ และสื่อสาร เน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการเจ้าของร้าน/แผงในตลาด รวมถึงผู้ช่วยขายทั้งชาวไทยและแรงงาน ต่างด้าว ให้สังเกตอาการตนเอง หรือถ้าได้เดินทางไป หรือเกี่ยวข้องกับแหล่งที่เกิดการระบาด แนะนำให้ไป ตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยเร็วที่สุด
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ หมู่ 2 บ้านหนองขาม ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
การเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย จำนวน 50 ครัวเรือน โดยสรุปข้อมูลได้ดังนี้ ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสำรวจว่าตนเองและบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยต่อการติดเชื้อ หรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่ มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าข่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ให้รีบไปพบแพทย์ทันที มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่ เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที
ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
– การดำเนินงานของโครงการมุ่งเน้นเพียงแค่การพัฒนาเฉพาะกลุ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ บางชนิด ซึ่งการดำเนินงานของโครงการที่มุ่งเน้นในการเก็บแบบสอบถามเป็นหลัก
– ประประชนมีส่วนร่วมน้อยจึงทำไห้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการลดน้อยลงไม่ได้รับความสนหรือดึงดูดเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันกับโครงการ
– เมื่อดำเนินเข้าไปเก็บแบบสอบสามในชุมชนช่วงหลังประชาชนเริ่มให้ความร่วมมือน้อยลงเพราะประโยชน์ที่ได้รับน้อยมาก
– เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในด้านต่าง เช่น การรวมกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันกับโครงการ
– ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้านเนื่องจากเข้าสู่ช่วงการทำเกษตรและแบบสอบถามรายละเอียดมาก และหลายชุด ในชุดข้อมูลคล้ายกัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมทีม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ต้องการดำเนินงานโดยความร่วมมือของทุกคน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง และทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจและการทำงานมีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แต่ละคน ต่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน โดยไม่ทราบความต้องการและแผนงานของทีม ดังนั้น จำเป็นต้องจัดสรรเวลาในการกำหนดเป้าหมายการทำงานเป็นทีมร่วมกัน โดยการจัดประชุมทีมและหารือเรื่องเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชาหรือจากองค์กร และให้สมาชิกทีมได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น หาแนวทางการปฏิบัติ หาวิธีการทำงาน และทราบกำหนดงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ อุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุน และเป้าหมาย ของงานโดยพร้อมเพรียงกันทั้งทีม เพื่อให้บรรลุเป้า
แผนการปฏิบัติงาน
- กำหนดเป้าหมายความสำเร็จในแบบของเราเอง
ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในการทำงาน การเรียน หรืออะไรก็ตาม ไม่ได้จะต้องเป็นไปตามสิ่งที่คนอื่นคิดเสมอไป ความสำเร็จของเรา เราควรเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และเส้นทางการเดินทาง เพื่อที่เราจะสามารถบรรลุความสำเร็จของเราได้ เพราะว่าเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ
2. เวลาทำงาน คิดอะไรออกให้รีบจด
บางครั้งบางที ความคิดดี ๆ โผล่มา ไม่ว่าจะเป็นตอนขับรถ ก่อนนอน นั่งทานข้าวกลางวัน หากไม่รีบจดไว้ดีไม่ดีจะลืมเอาได้ บางครั้งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงาน การพกสมุดจดเล็ก ๆ ติดตัวไว้ หรือจะใช้แอปในโทรศัพท์มือถืออัดเสียงเอาไว้
- มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
การมีความอดทนอดกลั้น เพียรพยายามในการทำงาน เป็นพลังที่จะส่งเสริมให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ คือ อดทนต่อพฤติกรรมคำพูด อดทนต่อความเครียดความเหนื่อยในการทำงาน อดทนต่อสถานการณ์ที่เลวร้าย รู้จักปรับตัว และคิดหาทางแก้ไขปัญหาได้จะสามารถทำให้เราเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ และประสบความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตในที่สุด
- ไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง
การที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลิกการวางตัว การแต่งกาย พฤติกรรม วิธีการทำงาน ความเข้าใจในการทำงานในหน้าที่ของตนเอง วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการประเมินความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อะไรที่เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมก็ควรจะต้องค้นคว้าหาเวลาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
- รู้จักบริหารเวลา
จากคำกล่าวที่ว่า . ทุกคนอาจมีทรัพยากรอื่นไม่เท่าเทียมกัน แต่ทุกคนมีทรัพยากร .เวลาวันละ 24 ชั่วโมง จะเกิดประโยชน์คุ้มค่าแค่ไหนขึ้นอยู่กับการรู้จักบริหารเวลาของแต่ละคน ..เวลาเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จแขนงที่สำคัญ … ทุกคนชอบพูดว่าเวลาเป็นของมีค่า แต่น้อยคนที่จะใช้เวลานั้นให้คุ้มค่าจริง ๆ คนที่ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเวลาเท่านั้นที่ชอบปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างว่างเปล่า ด้วยการไม่สนใจที่จะไขว่เรียนรู้ ฆ่าเวลาโดยไร้ประโยชน์ ความสำคัญของเวลา และการรู้จักบริหารเวลาการบริหารเวลาให้เป็นจะช่วยลดความไม่เป็นระเบียบในชีวิต เพิ่มความสุข และความสำเร็จให้แก่ตนเองและการทำ