ข้าพเจ้านางสาวลภัสรดา ศรีศักดิ์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 

วันศุกร์ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน 2564 อบรมการทำโลโก้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์

อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมอบรม โดยเรียนเชิญตัวแทนผลิตภัณฑ์ในตำบลบ้านสิงห์มาร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ในการอบรมแบ่งผู้เข้าร่วมอบรมตามผลิตภัณฑ์เป็น 3 กลุ่มใหญ่ โดยแบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น   1.ผลิตภัณฑ์กล้วยทอด     2.ผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่น     3.ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน    โดยมีคณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชนเข้าร่วมกลุ่มตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันจัดทำโลโก้ผลิตภัณฑ์ และได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำโลโก้ผลิตภัณฑ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้อบรม ในการร่วมทำโลโก้ของผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ด้วย

 

           

 

 

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 – 15.30 น. อบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

เวลา ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียนพร้อมรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา ๐๙.๐๐-๐๙.๑๕ น. พิธีเปิดโครงการ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี  จุโฑปะมาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กล่าวรายงาน โดย รศ. ดร. อัครพนท์  เนื้อไม้หอมคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา ๐๙.๓๐-๑๑.๐๐ น. เสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ

ผู้ร่วมเสนา

๑. นายสิทธิชัย  สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์

๒. นายอนันต์  สุขดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์

๓. คุณไขแสง  ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

๔. นายปฐม  นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

๕. นายอาทิตย์  จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์

๖. ผศ. ดร. สมศักดิ์  วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. บรรยายตัวอย่างแบบฟอร์มการทำหลักสูตรระยะสั้น โดย       รศ.ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. นำเสนอข้อมูลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน ๑๑ ตำบล

ประเด็นที่ต้องนำเสนอ (๑๐ นาที)

๑.ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีที่หมู่บ้านของแต่ละตำบล

๒. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

๓. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ

๔. แนวทางและวิธีแก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น

๕. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหน จะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร

เวลา ๑๕.๐๐-๑๕.๓๐ น. สรุปประเด็นทั้งหมดจำนวน ๑๑ ตำบล                                   โดยรศ.ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา ๑๕.๓๐ น. ปิดโครงการ

 

 

 

สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด 

ในการปฏิบัติงานด้านการสำรวจข้อมูลนั้น ด้านผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านหนองบัวรายเพื่อขออนุญาตเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่ และผู้ใหญ่บ้านได้ให้ความร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี จากการสำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านหนองบัวรายส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
-เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
-ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
-ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

6.เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที

 

           

 

สำรวจข้อมููลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำบลบ้านสิงห์มีสถานศึกษาจำนวน 5 แห่งได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
3.โรงเรียนบ้านสิงห์ราษฎร์นุสรณ์
4.โรงเรียนบ้านหนองกง
5.โรงเรียนสิงวิทยาคม
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงนี้ทำให้มีประชาชนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการณ์โดยให้สถานศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้ประสานงานกับทางด้านผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามข้อมูลพบว่าโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์มีมาตรการณ์ในการรับมือกับโรคระบาดดังนี้
1. ด้านความปลอดภัยเพื่อการลดการแพร่เชื้อโรค
-มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
-มีการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนในสถานศึกษา
-มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ และมีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหารอย่างเพียงพอ
-มีการจัดโต๊ะเรียนเก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
-การกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า
2. ด้านการเรียนรู้
-มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอกคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา
3. ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง
-มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน
-มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม (Social stigma)
-มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรรวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน
-มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
4. ด้านนโยบาย
-มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครองโดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน
-มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน
5. ด้านการบริหารการเงิน
-มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
-มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่
-มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา

 

                                   

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 18:20 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานในเดือนธันวาคม

 

 

รายละเอียดในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการทำการถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์ โดยแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานคือ บัณฑิตจบใหม่และประชาชน ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยดำเนินการทำข้อมูลเป็น TP-MAP ดังนี้

 

                     

 

 

วันจันทร์ที่ 6 เดือนธันวาคม 2564 กิจกรรมอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์

อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษาและประชาชน ได้เข้าร่วมกิจกรรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น โดยได้ร่วมกิจกรรมกับทางบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ได้มีการช่วยการทำความสะอาดไม่ว่าจะเป็น การกวาดใบไม้ เก็บขยะ ล้างห้องน้ำ เผาขยะบริเวณรอบวัดโพธิ์คงคา

     

                      

                                                

 

สรุปผลการปฏิบัติงาน

การปฏิบัติงานภายในเดือนธันวาคม เป็นการจัดอบรมที่สามารถช่วยเหลือประชาชนผู้ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าภายในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ทำให้แม่ค้าในท้องถิ่นมีโลโก้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะบุคคล โดยอาจารย์ประจำโครงการได้เล็งเห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีสื่อสารของทางด้านผู้ปฏิบัติงาน จึงให้ผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยเหลือออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ผู้ผลิตในชุมชน ทำให้ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อนำไปขายได้อย่างน่าสนใจ

รวมไปถึงการทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับทางตำบลบ้านสิงห์ในการทำให้ชุมชนสะอาด ไม่ว่าจะเป็น การกวาดใบไม้ เก็บขยะ ล้างห้องน้ำ เผาขยะบริเวณรอบวัดโพธิ์คงคา เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้คนตระหนักในการทำจิตอาสามากขึ้น ที่จะเป็นประโยชนแก่ประเทศชาติสืบไป

 

 

อื่นๆ

เมนู