ข้าพเจ้านางสาวพนิดา สนทนา ประเภทบัณฑิตจบใหม่
ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
รายงานประจำเดือนพฤษภาคม

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ. ศ. 2564 เวลา 12:00 น. ได้เข้าประชุม Google meet เนื่องจากสถานการณ์โควิดเพื่อความปลอดภัยและรับผิดชอบต่อส่วนรวมจึงได้ทำการประชุมออนไลน์ เนื้อหาการประชุมเป็นการชี้แจงกระบวนการทำงานในลำดับต่อไปของเดือนพฤษภาคมและได้แนะนำวิธีการใช้งานของ https://cbd.u2t.ac.th/tabs/bio-categories เพื่อใช้ในการทำงานและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในลำดับต่อไปเพื่อสะดวกต่อการเก็บข้อมูลมากขึ้นและรายละเอียดในการทำงานมากขึ้น

ในเดือนพฤษภาคมจะมีการเก็บข้อมูลจากหัวข้อดังกล่าวต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19
  2. แหล่งท่องเที่ยว
  3. ที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  7. พืชในท้องถิ่น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น
  9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

โดยเมื่อในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้ทำการลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลดังกล่าวในหมู่บ้านหนองดุม หมู่ 1 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้รววบรวมข้อมูลดังนี้

  • ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19

ณ ปัจจุบันยังไม่มีบุคคลใดกลับมาอยู่ที่บ้าน เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ได้รุนแรงขึ้นมีผู้ติดค่อนข้างมาก คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ออกประกาศฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ให้ผู้ที่มาจากจังหวัดอื่นทุกคน ต้องกักตัว 10 – 14 วัน “ยกเว้น

  1. ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว
  2. ผู้ผ่านการกักตัว ที่ state quarantine แล้ว และถูกนำส่งโดยกระบวนการของรัฐ (เดินทางเอง ต้องเข้ามาตรการกักตัว)
  3. ข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่
  4. ผู้ที่ต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม โดยมีผลตรวจแลปเป็นลบภายใน 72 ชั่วโมง และต้องดำเนินการในสถานที่ / พื้นที่กำหนดเฉพาะ (Bubble area)
  5. ผู้คุมรถรับขนสินค้า / รับขนส่งผู้โดยสาร รวมทั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำรถขนส่ง                                                                            จึงทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด ยังไม่สามารถเดินทางกลับมาบ้านได้
  • ร้านอาหารในท้องถิ่น

ร้านอาหารในชุมชนบ้านหนองดุม มีร้านก๋วยเตี๋ยว 1 ร้าน มีที่จอดรถเพียงพอต่อลูกค้า และมีที่นั่ง สามารถซื้อกลับบ้านได้ เปิดให้บริการทุกวัน เปิดเวลา 09.00 น.  – 15.00 น

 

  • เกษตรกรในท้องถิ่น

คนในชุมชนบ้านหนองดุมส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์

 

  • สัตว์ในท้องถิ่น   ส่วนใหญคนในชุมชนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ และสุนัข วัวจำนวน 200 ตัว เพศเมีย 120 ตัว เพศผู้ 80 ตัว  ควายจำนวน 100 ตัว ตัวผู้ 20 ตัว ตัวเมีย 80 ตัว ไก่ จำนวน 150 ตัว

 

  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น

แหล่งน้ำในชุมชนมีอยู่ 3 แห่ง

  1. สระน้ำสาธารณะ หนองแสง หนองดุม ขุดสระกว้าง 240.00 เมตร ยาว  00 เมตร ลึก 3.00 เมตร ปริมาณน้ำที่มีค่อนข้างมาก ช่วงเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม ปัจจุบัน ไม่ได้นำมาใช้ในการอุปโภค – บริโภค เพราะปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย

 

  1. สระน้ำสาธารณะหนองดุม ในชุมชนใช้อุปโภค – บริโภค เนื่องจากน้ำค่อนข้างมาก และเพียงพอตลอดปี

 

       3.  หนองน้ำบ้านหนองดุม ในชุมชนใช้สำหรับทำการเกษตร เช่น ปลูกผัก มันสำปะหลัง เลี้ยงสัตว์เป็นต้น

 

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชน ยักษ์ จับ โจน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง โดยจัดพิธีผ่านระบบออนไลน์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน U2T ได้เข้าร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel โดยมีกำหนดการดังนี้

ภาพประกอบกิจกรรม

 

เวลา 9.00 น. -พิธีเปิดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์ โดยนายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

–  กล่าวรายงานโดยนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง
–  กล่าวสัมโมทนียกถาโดยพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
–   พิธีกร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา 9.40 น.  – 11.00 น. ปาฐกถาพิเศษผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค world Disruption” โดยดร.ยักษ์ ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 เพื่อพัฒนามนุษย์สร้างความเกื้อกูลแก่ธรรมชาติ อนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์ดิน ฟื้นฟูระบบนิเวศ  ให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย มีรายได้เหลือพอสำหรับใช้สอยในสิ่งจำเป็นดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเป็นสุขและยั่งยืน การเรียนรู้นี้จะทำให้ทัศนคติการดำรงชีวิตมีเหตุมีผลมากขึ้น

เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์

เวลา 11.30 น. พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านโคกว่าน โดยมีผู้แทนของชุมชนหมู่บ้านเข้าร่วมไม่เกิน 50 คน โดยทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมบุญต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน โควิด – 19 อย่างเคร่งครัด และถ่ายทอดพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีผ่านระบบออนไลน์

เวลา 13.00 -14.15 น. บรรยายพิเศษผ่านระบบออนไลน์เรื่องกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption โดย คุณโจน จันได ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดิน และผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ การบรรยายเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในการเดินทางสายกลางด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่ดีพอสมควร อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีบทพิสูจน์แล้วสามารถหลุดพ้นจากหนี้สิน และสร้างความยั่งยืน

เวลา 14.20 น. กล่าวปิดกิจกรรมบุญ โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง

 

 

อื่นๆ

เมนู