การปฏิบัติหน้าที่ประจำเดือนเมษายน

  1. วันที่ 22 มีนาคม 2564 ได้เข้าร่วมพิธียกเสาเอก-เสาโท ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมคืออาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของอำเภอนางรอง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ตำบลหนองโสน ตำบลหนองโบถส์ และตำบลบ้านสิงห์  ได้เข้าร่วมใน “พิธียกเสาเอก – เสาโท” ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง และเจ้าคณะตำบลหนองกง ประธานฝ่ายฆราวาส นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานยกเสาเอก ดร.สนธยา ไกรรณภูมิ รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และประธานยกเสาโท นายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท
  2. วันที่ 8 เมษายน 2564 ได้เข้าร่วมการจัดเวทีอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งมีชุมชนที่เข้าร่วมคือหมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง หมู่ที่ 9 บ้านจันทร์แดง หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง และหมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง

ภาพกิจกรรมพิธียกเสาเอก-เสาโท ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 สำหรับช่วงที่ว่างเว้นจากการลงพื้นที่ข้าพเจ้าได้อบรมพัฒนาทักษะความรู้ผ่านระบบ e-Learning ซึ่งมี 4 ทักษะหลักที่ได้อบรม ดังนี้

  1. ทักษะด้าน Digital Literacy (TDGA e-Learning) หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การผลิตภาพยนต์ดิจิทัล และการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  2. ทักษะด้าน Financial Literacy (SET e-Learning) หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ การบริหารค่าตอบแทน และเทคโนโลยีการเงิน

  3. ทักษะด้าน English Literacy หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ ภาษาอักฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอังกฤษพื้นฐาน

  4. ทักษะด้าน Social Literacy หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

 

การจัดเวทีอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์

       จากการลงพื้นที่เพื่อการอบรมและได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านผลิตภัณฑ์ รวมทั้งได้รับมอบหมายงานในการสรุปข้อมูลจากการอบรมในครั้งนี้ และนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มาศึกษาและค้นหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

       แนวความคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผลิตภัณฑ์เด่นที่จะนำมาพัฒนาสร้างสรรค์คือ

ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

หมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม

  • ปลาร้าบอง
  • ไข่เค็ม

หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม

  • ขนมทองม้วน (วิสาหกิจชุมชน)
  • ขนมดอกจอก
  • กล้วยฉาบ
  • มันฉาบ

หมูที่ 3 บ้านสิงห์

  • ทำกระเป๋าผ้า
  • ทอเสื่อ

หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง

  • ปลูกมันสำปะหลัง (วิสาหกิจชุมชน)
  • ไข่เค็ม (เกลือ / สมุนไพร)
  • เครื่องจักสาน
  • ทอเสื่อ
  • ทอผ้าฝ้าย
  • กล้วยฉาบและขนมไทย (เป็นการทำเป็นรายบุคคล)

หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี

  • ทำพวงหรีด

หมู่ที่ 6 บ้านสระหมู

  • น้ำพริกปลาย่าง (กลุ่มสัมมาชีพ)
  • เครปเย็น

หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย

  • พริกแกง

หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง

  • น้ำพริกปลางย่าง
  • ทอเสื่อ
  • หมวก ทำจากต้นไหล

หมู่ที่ 9 บ้านจันทร์แดง

  • กะหรี่ปั๊บ

หมู่ที่ 10 บ้านหนองทะยิงขนมสอดไส้

  • ขนมถั่วแปบ
  • ขนมต้ม
  • ขนมตะโก้
  • สุ่มไก่
  • จักสาน

หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลนไส้กรอก

  • แหนมหมู
  • ผลิตภัณฑ์จากกล้วย (กล้วยฉาบ / กล้วยเบรกแตก / กล้ายปาปิก้า)
  • มันฉาบ
  • พริกแกง (กลุ่มสัมมาชีพ)

หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง

  • บายศรี (กลุ่มสัมมาชีพ)
  • มะพร้าวเผา
  • ข้าวหลาม
  • ขนมบ้าบิ่น
  • ข้าวต้มมัด
  • ผักสวนครัว

หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง

  • ขนมดอกจอก (กลุ่มสัมมาชีพ)
  • หมวก
  • ผักสวนครัว

หมู่ที่ 14 บ้านโพธิ์ทอง

  • จักสาน / เสื่อ / ตะกร้า (กลุ่มสัมมาชีพ)
  • ขนมโดนัท
  • ขนมสอดไส้

ขนมที่เป็นจุดเด่น

  1. ขนมบ้าบิ่น (ชนิดทอด) เก็บไว้ได้ 1 วัน หากเก็บไว้นานจะชื้น ไม่น่ารับประทาน
  1. ขนมใส่ไส้ มีหลากหลายไส้ เช่น ไส้ข้าวโพด ไส้ช็อคโกแลต
  1. กล้วยฉาบ กล้วยพันธุ์กสวยจะทำให้มีรสชาติที่อร่อยกว่าพันธุ์น้ำว้า หากเป็นสีเหลืองจะอร่อย หากเป็นสีขาวจะมีรสฝาด
  1. มะพร้าวน้ำหอม

สิ่งที่ต้องการพัฒนา

1. เครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ทางการค้า (Trademarks logo design) ซึ่งมีขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังนี้

เข้าเว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

 

  1. รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เช่น ขนมบ้าบิ่นรูปหัวใจ และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

 

 

  1. ช่องทางการตลาดที่ขยายกว้างขึ้น

 

 

     สรุปจากแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทยของชุมชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีขนมที่โดดเด่นคือ 1. ขนมบ้าบิ่น 2. ขนมใส่ไส้ 3. กล้วยฉาบ และ 4. มะพร้าวน้ำหอม จะมีการวางแผนเพื่อการพัฒนาทางด้านเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านสิงห์ และในส่วนสำคัญคือช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ขยายกว้างขึ้น เครือข่ายของการจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้จะมีการวางแผนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทยต่อไป

Tags:

อื่นๆ

เมนู