เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันกลายเป็นการระบาดของสายพันธุ์แอลฟาและเดลตาที่แพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเดิม และทำให้วัคซีนที่เรายังมีอยู่อย่างจำกัดอาจจะได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อลดลง เราเริ่มมีความต้องการเตียงผู้ป่วยวิกฤต (ICU) เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่น้อยกว่า 30-40 เตียงต่อวัน แม้จะทำการระดมทรัพยากรเพิ่มเตียงเพิ่มคนอย่างไรก็อาจจะไม่เพียงพอในที่สุด จนอาจจะทำให้อัตราป่วยตายของผู้ติดเชื้อโรคโควิดสูงมากขึ้น และเริ่มมีผลกระทบต่อผู้ป่วยกลุ่มอื่น
ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ เราอาจจะยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ตกค้างอยู่ในชุมชนมากเกินไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสายพันธุ์แอลฟาและเดลตาแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วจนเราตามตรวจกลุ่มเสี่ยงในคลัสเตอร์ที่ทำการเฝ้าระวังได้ไม่ทัน แต่อีกส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่จำนวนมากไม่มีอาการ (ไม่มีใครทราบสัดส่วนที่แน่นอนของผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ แต่อาจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมเพียง 50-65% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดตามความรู้ที่ได้จากการระบาดระลอกแรกในจีน) ทำให้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่อยู่นอกคลัสเตอร์การระบาดยังไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ ยังไม่ได้รับการตรวจ ยังไม่อยู่ในระบบตามรอยโรค ทำให้ยังสามารถแพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการแพร่เชื้อในครอบครัวหรือที่ทำงาน
โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล
อาการทั่วไปมีดังนี้
มีไข้
ไอแห้ง
อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
ปวดเมื่อยเนื้อตัว
เจ็บคอ
ท้องเสีย
ตาแดง
ปวดศีรษะ
สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการรุนแรงมีดังนี้
หายใจลำบากหรือหายใจถี่
เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
โปรดเข้ารับการรักษาทันทีหากมีอาการรุนแรง และติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ
ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ
ติดโควิด 19 สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง ?
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2019 และกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับการกลายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งอาการโควิดแต่ละสายพันธุ์ยังมีระยะแสดงอาการให้เฝ้าระวังแตกต่างกันไปอีกด้วย โดยเฉพาะสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เริ่มมีการติดเชื้อในไทยนั้นยิ่งต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษหลายเท่า หากใครที่กำลังกังวลว่าเราติดโควิดหรือยัง ? โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงโดยไม่รู้ตัว และถึงแม้ไม่มีความเสี่ยงก็สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้เช่นกัน จะมีอาการอะไรที่เราต้องเฝ้าระวังนอกเหนือจากที่เคยรู้อีกบ้าง… ลองมาดูกัน
1.มีอาการไข้
อาการติดโควิด19 มีอาการไข้ หรือผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ยังเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้จากเชื้อโควิดหลาย ๆ สายพันธุ์ โดยจะเริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูงชัดเจนไปถึง 38.5-39 องศาเซลเซียส ได้ เมื่อเข้าสู่วันที่ 3-4 หลังได้รับเชื้อโควิด
2.ไอแห้ง
อาการโควิด19 ทีอาการไอแห้งลักษณะการไอที่ไม่มีน้ำลาย ไม่มีเสมหะ หรือความรู้สึกคัน ระคายคอ จนทำให้มีอาการเสียงแหบร่วมด้วยได้ในบางครั้ง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการโควิดที่พบได้มากรองลงมาจากอาการไข้
3.จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส
เมื่อติดเชื้อโควิด19 ผู้ป่วยจะมีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ผู้ป่วยโควิดจะสูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นไป 68% ความสามารถในการรับรสลดลง 71% ซึ่งแตกต่างกับโรคไข้ชนิดอื่น ๆ ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ถึง 17%
4.หายใจลำบาก
อาการโควิด19 หายใจลำบาก อ่อนเพลีย หนึ่งในอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่อาจมีจังหวะการหายใจที่เร็วขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากการระบาดในครั้งแรก ๆ ที่ผู้ป่วยจะเริ่มหายใจติดขัด หรือรู้สึกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในช่วงสัปดาห์ที่สอง
5.ตาแดง ผื่นขึ้น
ตาแดง ผื่นขึ้น คืออาการโควิดล่าสุดที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่าอาการผื่นโควิด เช่น ผื่นแดงคล้ายตาข่าย ผื่นเป็นจุดเลือด ผื่นบวมแดงคล้ายลมพิษ และตุ่มน้ำใส ซึ่งสัมพันธ์กับอาการมีไข้ ไอ จาม และปัญหาเรื่องระบบการหายใจ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาแดงร่วมด้วย
จากการแพร่ระบาด ของโรคระบาดโควิด-19 รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้การลงพื้นที่ปฏิงานของเดือนกรกฎาคมนี้ เป็นไปด้วยความลำบากและติดขัดเป็นอย่างมาก ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มอบหมายงานให้
ข้าพเจ้านายรุ่งโรจน์ ราชนาคา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : การแปรรูปขนมไทย (HS03) ขอนำเสนอการปฏิบัติงาน ประจําเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2564 มีดังนี้
วันที่ 19 มิถุนายน 2564
ส่งรายงานแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนมิถุนายน พร้อมกับร่วมประชุมวางแผนการทำวีดีโอโครงการ u2t hackathon เพื่อส่งเข้าประกวด และการจัดการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon) นั้น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้กำหนดขึ้นภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และได้มอบหมายให้สถาบันอุดมศึกษา 8 เครือข่ายทั่วประเทศดำเนินการจัดแข่งขันระดับภูมิภาค โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) และนำเสนอผลการเรียนรู้ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) Creative Economy 2) Technology/Health Care 3) Circular Economy และ 4)Art and Culture ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงและวางแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ otou โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้
การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย
กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
วันที่ 9 – 14 กรกฎาคม 2564 ได้ลงเก็บข้อมูล บ้านโพธิ์ทอง ม.14 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งจากการสำรวจมีข้อมูลดังนี้
เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน
- ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น และมีการสำรวจว่าบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานในที่เสี่ยงหรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีการไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าค่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 จะให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง
- ส่วนใหญ่คนในครอบครัวจะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร หรือไม่ก็แยกกันรับประทาน
- คนในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนก็ยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่บ้าง
- เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที
จากการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับศาสนสถาน
ซึ่งได้แก่
- วัดโพธิ์คงคา
- สำนักปฏิบัติธรรม วัดตามุมเวฬุวนาราม
- วัดบ้านหนองทะยิง
- วัดบ้านหนองกง
- ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
- สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า
กรณีมีกิจกรรมทางหรือพิธีกรรมทางศาสนา
เจ้าหน้าที่วัด หรือ เจ้าภาพในการจัดงานจะประสานงานไปยัง สาธารณสุข หรือ อสม. ประจำหมู่บ้าน เพื่อช่วยคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย และการลงทะเบียนก่อน-หลังเข้าร่วมงาน มีการเว้นระยะห่างซึ่งกัน
ทางวัดที่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนาบ่อยครั้ง จะมีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้ผู้ที่เข้ามาภายในวัด มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้า และมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกครั้งหลังจากทำกิจกรรม
กรณีไม่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา
ทางเจ้าหน้าที่วัด หรือจิตอาสาภายในชุมชนจะมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง และดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข
นอกจาก COVID-19 จะเป็นชื่อเจ้าไวรัสตัวร้ายที่ต้องอยู่กับเราไปเรื่อย ๆ แล้ว New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ก็กลายเป็นโลโก้บ่งบอกพฤติกรรมของคนยุคนี้ไปแล้วเช่นกัน วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว งดสัมผัสพื้นที่สาธารณะหากไม่จำเป็น เว้นระยะห่าง และการไอ-จามที่ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ! โดยเฉพาะการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากการฉีดวัคซีนจะถูกยกให้เป็นอาวุธใช้ต่อกรในสงครามเชื้อไวรัสครั้งนี้แล้ว แผนการรองรับวิกฤตทางสุขภาพ การทำแผนประกันสุขภาพต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ เราไม่ลำบากและเดือดร้อนในวันนั้น…มาถึง
ด้วยความห่วงใย จากใจ นายรุ่งโรจน์ ราชนาคา ขอให้ทุกท่านปลอดภัย ห่างไกล จากวายร้าย โควิด-19 นี้ด้วยนะครับ สวัสดีครับ