ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา จันทร์นพคุณ กลุ่มประชาชน
หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย HS03 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน : มิถุนายน-กรกฎาคม
การดำเนินงานต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้มีการประชุมออนไลน์เพื่อแนะนำแนวทางการดำเนินงานในเดือนกรกฎาคมก่อนลงพื้่นที่ปฏิบัติจริง และเนื่องจากยังคงมีมีสถานการณ์การระบาดหนักของโรค Covid-19 ทั่วทั้งประเทศ มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้สถานการณ์ยากต่อการควบคุม ทำให้ส่งผลต่อการดำเนินงานในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 – 5 กรกฎาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัด ครั้งนี้ได้ลงไปสำรวจยังกลุ่มเกษตรกร พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ภายในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง ซึ่งมีดังนี้
เกษตรกรในท้องถิ่น
- ปลูกพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย
- เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย เป็ด หมู ไก่ หนูนา กบ
พืชในท้องถิ่น
- มะนาว
- มะพร้าว
- กล้วย
- มะม่วง
สัตว์ในท้องถิ่น
- วัว
- ควาย
- หมู
- ไก่
แหล่งน้ำในท้องถิ่น
- หนองน้ำประจำหมู่บ้าน แหล่งที่ 1
- หนองน้ำประจำหมู่บ้าน แหล่งที่ 2
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงและวางแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ otou โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้
การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย
- กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
- กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
- กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
เมื่อวันที่ 9-13 กรกฎาคม 64 ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูล บ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 9 การสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Covid-19 สำหรับที่พักอาศัย สำรวจมีข้อมูลดังนี้
- ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น และมีการสำรวจว่าบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานในที่เสี่ยงหรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าค่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 จะให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง
- ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร
- ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่
- เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านส่วนน้อยจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 -ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไว Covid-19 สำหรับศาสนสถาน สำรวจมีข้อมูลดังนี้
จากการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับศาสนสถาน
ซึ่งได้แก่
- วัดโพธิ์คงคา
- สำนักปฏิบัติธรรม วัดตามุมเวฬุวนาราม
- วัดบ้านหนองทะยิง
- วัดบ้านหนองกง
- ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
- สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า
กรณีมีกิจกรรมทางหรือพิธีกรรมทางศาสนา
เจ้าหน้าที่วัด หรือ เจ้าภาพในการจัดงานจะประสานงานไปยัง สาธารณสุข หรือ อสม. ประจำหมู่บ้าน เพื่อช่วยคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย และการลงทะเบียนก่อน-หลังเข้าร่วมงาน มีการเว้นระยะห่างซึ่งกัน
ทางวัดที่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนาบ่อยครั้ง จะมีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้ผู้ที่เข้ามาภายในวัด มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้า และมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกครั้งหลังจากทำกิจกรรม
กรณีไม่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา
ทางเจ้าหน้าที่วัด หรือจิตอาสาภายในชุมชนจะมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง และดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข
จากการปฏิบัติงานในเดือนนี้ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานยังคงดำเนินงานต่อเนื่องตามแผน การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย และยังคงปฏิบัติตามหลักมาตรการป้องกันการระบาดโรค Covid-19 ที่ระบาดหนักอย่างมากในประเทศ และได้ปรับแผนการดำเนินงานไปในรูปแบบออนไลน์ เพื่อลดการเข้าใกล้ และสัมผัสกับผู้อื่นให้น้อยมากที่สุด