บทความประจำเดือน พฤษภาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองโคลน” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายณัฐพงษ์ จงกล กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 11 บ้านหนองโคลน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 7  พฤษภาคม พ.ศ.2564

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดผู้ดำเนินงานทุกท่านเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เพื่อมอบหมายงานและสอนวิธีการใช้งาน https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามพื้นที่ที่แต่ละผู้ดำเนินงานได้รับมอบหมาย และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดเกิดการระบาดอีกครั้งและมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นจึงมีการรายงานและการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นไปได้ยากลำบากมากขึ้น จึงแนะนำมีการวางแผนก่อนลงพื้นที่และดูแลตนเองอย่างเต็มที่

วันที่ 12  พฤษภาคม พ.ศ.2564

เนื่องด้วยมีการเชิญเข้าประชุมงาน งานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ / ยักษ์จับโจน ผ่านช่อง HOSOC-BRU Channel ทาง Youtube ข้าพเจ้าจึงได้เข้าร่วมเพื่อฟังการบรรยายงานและจุดประสงค์ของงานดังนี้

การถ่ายทอดสดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ / ยักษ์จับโจนในครั้งนี้โดยมี ท่าน ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ  งานนี้มีวิทยากรทั้งหมด 2 ท่านด้วยกัน คือ ท่าน ดร. ยักษ์ วิวัฒน์ ศีลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และท่านอาจารย์โจน จันได

ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศีลยกำธร ได้พูดถึง เรื่อง กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค “World Disruption  ความพอเพียงนั้นเราจะต้องมีชีวิตที่พอเพียงทุกอย่าง เช่น มีอาหารการกินพอ เรามีที่อยู่พอ และการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะสามารถให้ความรู้และสืบสานงานของพระเจ้าแผ่นดินให้เกิดประโยนช์อย่างมาก

อาจารย์โจน จันได ได้พูดถึง เรื่อง กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption  โลกเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าที่เราคาดคิด 30-40 ปีที่ผ่านมาเราสามารถทำให้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็นดินที่ตาย นำ้ถูกปนเปื้อนด้วยเคมี ขยะมูลฝอย ป่าไม้ที่เคยมีก็หายไป นี่คือวิกฤติที่เราคิดว่าไม่เป็นวิกฤติ เป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัว “เกษตรทฤษฎีใหม่” เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก  

– ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
– ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน
– ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้
– ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก

วันที่ 15-16  พฤษภาคม พ.ศ.2564

ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน บ้านหนองโคลน  การลงพื้นที่ครั้งนี้เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ใช่คนในพื้นที่จึงจำเป็นต้องป้องกันและดูแลตนเองและผู้ที่ให้ข้อมูลเป็นอย่างมากเพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของทุกฝ่าย ซึ่งได้ข้อมูล ดังนี้

                ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

พื้นที่บ้านหนองโคลนยังไม่มีผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดหรือมาจากพื้นที่เสี่ยงกลับมาหาครอบครัว

                แหล่งท่องเที่ยว

พื้นที่บ้านหนองโคลนบางส่วนอยู่ติดถนนหลัก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและยังไม่มีพื้นที่ที่น่าสนใจเพื่อทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

                ที่พัก/โรงแรม

พื้นที่บ้านหนองโคลนไม่มีที่พักและโรงแรม

                 ร้านอาหารในท้องถิ่น

จากการสำรวจพื้นที่บ้านหนองโคลนมีร้านอาหาร 2 แห่ง คือ

– ร้านพูนทรัพย์ ขายเนื้อย่างเกาหลีและอาหารตามสั่งมีเมนูมากมายให้เลือก อาหารอร่อยและปริมาณที่คุ้ม

– ร้านจิราพร ขายก๋วยเตี๋ยวในราคาที่ถูกมาก ขนม และของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นร้านอาหารและร้านค้าเล็ก ๆ ด้วย

                  อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

อาหารในท้องถิ่นคือกล้วยฉาบรสชาติต่าง ๆ เช่น กล้วยเบรคแตก กล้วยปาปริก้า กล้วยอบเนย

                  เกษตรกรในท้องถิ่น

เกษตรส่วนใหญ่ปลูกข้าว  ปลูกมันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์

                  พืชในท้องถิ่น

พืชที่พบได้ยากในพื้นที่จากที่สำรวจพบ ต้นยาสูบ และฟ้าทะลายโจร

      

                   สัตว์ในท้องถิ่น

สัตว์ในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น วัว ควาย เป็ด และไก่

                   ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ไม่มี

                    แหล่งน้ำในท้องถิ่น

แหล่งน้ำที่พบมี 1 แห่ง คือ หนองโคลน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของพื้นที่และชื่อแหล่งน้ำเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อหมู่บ้าน

 

อื่นๆ

เมนู