ข้าพเจ้านางสาวนิภาพรรณ แสนเดช (ประเภทบัณฑิตจบใหม่) ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย HS03
ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 09:00 น. ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
»»» อาจารย์ประจำหลักสูตรและข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมประชุมและรับฟังข้อมูลพื้นฐานในการทำขนมไทยของแต่ละหมู่บ้าน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ การประชุมในครั้งนี้ประเด็นหลัก คือการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ซึ่งตำบลบ้านสิงห์จะมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลบ้านสิงห์จะปลูกกล้วยไว้เพื่อบริโภค จึงทำให้แต่ละหมู่บ้านมีการทำขนมไทยที่ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก ตัวอย่างเช่น การทำขนมกล้วยฉาบในรูปแบบต่างๆ การทำขนมทองม้วน และประเด็นปัญหาที่พบในการทำขนม รวมไปถึงประวัติความเป็นมาของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน
»»» ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้ประสานงานไปยังผู้นำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านสมชาย ทองทำกิจ และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี หมู่บ้านสิงห์ มีจำนวน 67 ครัวเรือน จำนวนประชากรชายประมาณ 136 คน ประชากรหญิงประมาณ 148 คน รวมประมาณ 284 คน ข้าพเจ้าจึงลงพื้นที่โดยได้ไปพูดคุยและสอบถามกับชาวบ้านหลายๆท่าน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ที่อยู่อาศัยทำมาหากินในหมู่บ้าน หลังจากที่ได้พูดคุยซักถามถึงความเป็นมาในหมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ซักถามข้อมูลรายละเอียดตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางให้มา ทั้งข้อมูลส่วนตัว ภาวะด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน ปัญหาด้านต่างๆภายในชุมชน การจัดการปัญหาและความต้องการของชุมชน รายละเอียดตามเอกสาร (แบบฟอร์ม 01) และ (แบบฟอร์ม 02) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการ
ภาพการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พูดคุยและสอบถามข้อมูลกับชาวบ้านในชุมชน

พูดคุยและสอบถามข้อมูลกับคุณยายจิตร ชาวบ้านในชุมชน

พูดคุยและสอบถามข้อมูลกับผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน

พูดคุยและสอบถามข้อมูลกับคุณตาและคุณยายในเรื่องการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าว

พูดคุยและสอบถามข้อมูลกับภรรยาของผู้ใหญ่บ้านบ้านสิงห์
สรุปผลการเก็บข้อมูล
⇒ แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (แบบฟอร์ม 01)
สำหรับแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน สามารถแยกย่อยออกเป็นด้าน ได้ 5 ด้าน
1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ส่วนมากผู้ตอบแบบสอบถามจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากเก็บข้อมูลในเวลากลางวัน ผู้คนในวัยอื่นจะไปทำงาน และไปศึกษา จึงทำให้ไม่ค่อยมีคนอยู่บ้าน
2. ด้านภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน ในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร ปลูกมันสัมปะหลัง จะทำช่วง เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม และการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค(วัว) ไก่ และทำอาชีพรับจ้าง เนื่องจากไม่มีพื้นที่ในการทำการเกษตร ทางด้านรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งรายได้มาจากอาชีพที่ทำเป็นหลัก รายได้ในแต่ละครัวเรือน ต่ำกว่า 5,000 ต่อเดือน ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง มีรถจักยานยนต์ทุกครัวเรือน ภาระหนี้สิน มีทุกครัวเรือน
3. ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน ความโดดเด่นของตำบลบ้านสิงห์คือ วัดโพธิ์คงคา แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน คือ วัด ปัญหาที่พบในชุมชนคือ เสียงดัง เนื่องจากมักจะมีกลุ่มวัยรุ่นขับรถเล่นในตอนกลางคืน ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
4. ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน คือ วัด (วัดโพธิ์คงคา) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
5. สภาพและความต้องการของชุมชน คือ พัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสให้คนในชุม ได้ยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้น
⇒ แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (แบบฟอร์ม 02)
สำหรับแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 สามารถแยกย่อยออกเป็นส่วน ได้ 5 ส่วน
1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และคนวัยทำงาน ซึ่งเป็นคนในชุมชนมาแต่เดิม จึงไม่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพจะไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนใหญ่ โรคประจำตัวก็จะมีในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่
2. การประเมินความเสี่ยงจากพฤติกรรม ชาวบ้านในชุมชนบ้านสิงห์ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหน ส่วนใหญ่จะมีแค่การประชุมในหมู่บ้าน การไปวัด มีการสวมหน้ากากอนามัยไปยังสถานที่ต่างๆ จึงทำให้ไม่ค่อยมีความเสี่ยง
3. ความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทราบถึงปัญหานี้ดีอยู่แล้ว แต่จะมีบางส่วนที่ไม่ทราบและไม่เข้าใจในบางเรื่อง เช่น ไม่ทราบว่าโควิด-19 ไม่สามารถติดต่อทางพัสดุจากการส่งของหรือนำเข้าสินค้าจากแหล่งที่มีการระบาด ส่วนใหญ่จะพบกับผู้สูงอายุ อาจด้วยสาเหตุที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารต่างๆ
4. ความรู้สึกและการรับรู้ที่เกิดขึ้นหลังมีการแพร่ระบาด ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้สึกอะไรเลย เนื่องจากตนไม่ได้เดินทางไปไหน และบางส่วน รู้สึกเครียดบ้างเล็กน้อย เพราะมีลูกหลานไปทำงานต่างจังหวัด และไม่สามารถกลับมาบ้านได้
5. ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของชุมชนบ้านสิงห์ในระดับปานกลาง เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในพื้นที่ จึงไม่ค่อยลำบากในการเดินทางเท่าไร และไม่ค่อยมีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ทั้งภาคประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามอย่างดียิ่ง จนได้มาซึ่งข้อมูล ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ