ดิฉัน นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์ ( กลุ่มนักศึกษา ) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในเดือนเมษายน 2564 เพิ่มเติมจากเดือนมีนาคม 2564
วันที่ 22 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของอำเภอนางรอง ทั้ง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ตำบลหนองโสน ตำบลหนองโบถส์ และตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วม “ พิธียกเสาเอก – เสาโท ” ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง และเจ้าคณะตำบลหนองกง ประธานฝ่ายฆราวาส นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานยกเสาเอก ดร.สนธยา ไกรรณภูมิ รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และประธานยกเสาโท นายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท โดยพิธีดังกล่าวได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
วันที่ 3 เมษายน 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet พร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ประชุมเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานเดือนเมษายน สอบถามข้อมูลเบื้องต้นของหมู่บ้านเกี่ยวกับการทำขนมในพื้นที่ และให้ติดต่อผู้ประกอบการ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำขนมในหมู่บ้านที่ตนรับผิดชอบ ให้เข้าร่วมการอบรมค้นคว้าหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่อไป ก่อนการลงพื้นที่จริงในวันที่ 8 เมษายน 2564
วันที่ 8 เมษายน 2564 ได้เข้าร่วมการจัดเวทีอบรมการค้นคว้าหาข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมอบรม รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2 หนองขาม หมู่ที่ 4 โคกไม้แดง หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง และหมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง
ซึ่งมีการเปิดเวทีประชุมได้มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ แหล่งการจัดจำหน่าย ปัญหา และอุปสรรคของแต่ละหมู่บ้านว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรที่โดดเด่น จากการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมไทย จากหมู่บ้านต่าง ๆ ที่เข้าร่วมได้ข้อสรุปดังนี้
ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน
หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม คือ ขนมทองม้วน ขนมดอกจอก กล้วยฉาบ มันฉาบ ขนมรังแตน ขนมรังนก ข้าวแต๋น
หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง คือ ขนมดอกจอก ขนมลอดช่อง ไข่เค็ม ( เกลือ/สมุนไพร ) กล้วยฉาบ ถั่วเคลือบ ไส้กรอก
หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง คือ น้ำพริกปลางย่าง ขนมตาล ขนมต้ม ข้าวหมาก ขนมบ้าบิ่น
หมู่ที่ 9 บ้านจันทร์แดง คือ ขนมสอดไส้ ขนมถั่วแปบ
หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน คือ กล้วยฉาบ กล้ายปาปิก้า มันฉาบ ขนมตาล ขนมไข่เต่า
หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง คือ ข้าวโพดต้ม มะพร้าวเผา ข้าวหลาม
หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง คือ ขนมดอกจอก พริกแกง
แหล่งจัดจำหน่าย
หมู่บ้าน | แหล่งจำหน่าย | |||||
ตลาด | ผลิตตามที่มีรายการสั่ง | มีแหล่งตลาดมารับซื้อ | สำนักงานราชการ
( โรงเรียน, อำเภอ, อบต. ) |
ร้านค้าตามหมู่บ้าน | แหล่งตลาดในเครือข่าย | |
หมู่ที่ 2 | √ | √ | ||||
หมู่ที่ 4 | √ | √ | ||||
หมู่ที่ 8 | √ | √ | √ | |||
หมู่ที่ 9 | √ | √ | ||||
หมู่ที่ 11 | √ | √ | √ | |||
หมู่ที่ 12 | √ | √ | ||||
หมู่ที่ 13 | √ |
ปัญหาและอุปสรรค
- สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-19 ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมารับสินค้าที่ตามปกติ
- มะพร้าวมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากการทำลายและรบกวนของแมลงศัตรูพืช ตั้งแต่ระยะการปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ทำให้ศักยภาพในการให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง
- วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมมีอัตราราคาที่สูงขึ้น
- ราคาของผลิตภัณฑ์เท่าเดิม แต่ต้นทุนสูงขึ้น
- ขาดแรงงานในการเเปรรูปผลิตภัณฑ์
- ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยังไม่กว้างออกไป
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ต้องการพัฒนา
จุดเด่น
- ขนมบ้าบิ่น (ชนิดทอด) เก็บไว้ได้ 1 วัน หากเก็บไว้นานจะเกิดความชื้น ไม่น่ารับประทาน
- ขนมใส่ไส้ มีหลากหลายไส้ เช่น ไส้ข้าวโพด ไส้ช็อคโกแลต
- กล้วยฉาบ กล้วยพันธุ์กสวยจะทำให้มีรสชาติที่อร่อยกว่าพันธุ์น้ำว้า หากเป็นสีเหลืองจะอร่อย หากเป็นสีขาวจะมีรสฝาด
- มะพร้าวน้ำหอม
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. เครื่องหมายแสดงสัญลักษณ์ทางการค้า (Trademarks logo design) ซึ่งมีขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังภาพ
สามารถเข้าเว็บไซต์ http://www.ipthailand.go.th/th/ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
2. บรรจุภัณฑ์ รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เช่น ขนมบ้าบิ่นรูปหัวใจ ขนมบ้าบิ่นรูปดาว ซึ่งมีตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ ดังนี้
3.ช่องทางการตลาดที่ขยายกว้างขึ้น
ช่องทางการตลาดออนไลน์มีดังนี้
1. สร้างการรับรู้ ( Awareness )
2. เข้าใจวัตถุประสงค์ในการสร้างการรับรู้ ( Discover )
3. การพิจารณาวิธีให้ได้มาซึ่งลูกค้า ( Consideration )
4. การปิดการขายให้ได้มาซึ่งลูกค้า ( Conversion )
5. การสานสัมพันธ์กับลูกค้า ( Cutomer Relationship )
6. การรักษาฐานลูกค้า ( Retention )
สรุป จากแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทยของชุมชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีขนมที่โดดเด่นคือ 1. ขนมบ้าบิ่น 2. ขนมใส่ไส้ 3.กล้วยฉาบ และ 4. มะพร้าวน้ำหอม จะมีการวางแผนเพื่อการพัฒนาทางด้านเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์ และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านสิงห์ และในส่วนสำคัญคือช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ขยายกว้างขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้จะมีการวางแผนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมไทยต่อไป