ดิฉันนางสาวอรวรรณ คิดรัมย์ กลุ่มนักศึกษา
การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในเดือนกรกฎาคม 2564 เพิ่มเติมจากเดือนมิถุนายน 2564
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยังคงมีความรุนแรงอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะยุติเมื่อใด ทำให้มีบางตำบลที่ต้องปิดหมู่บ้านเพื่อกักตัว จึงเป็นที่มาของคำว่า “คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า” สิ่งที่สำคัญที่สามารถป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ นั่นคือ การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อน – หลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้ง นอกจากจะทำให้ตัวเองปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ผู้อื่น ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน
การปฏิบัติงานเพิ่มเติมจากเดือนมิถุนายน มีดังนี้
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 19.00 น. ได้มีการประชุมวางแผนเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจร่วมกัน ในด้านการเข้าร่วมการแข่งขัน U2T HACKATHON 2021 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 และได้มีการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การฝึกอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) “ปัญหา การวิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา” เป็นการร่วมพูดคุยในหัวข้อการค้นหาปัญหา การวิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล โดยกิจกรรมได้มีการจัดผ่านโปรแกรม Zoom Meeting และถ่ายทอดสดผ่าน http://m.facebook.com/MHESIThailand/
»»» บรรยายโดย «««
คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ (CEO & Co-founder) บริษัท เทคซอส มีเดีย เวลา 14.30 – 16.30 น.
คุณสุทธิรักษ์ ดวงบุรงค์ (นักพัฒนานวัตกรรม) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เวลา 09.00 – 12.00 น.
คุณอานนท์ บุณยประเวศ (CEO) บริษัท TECHSARM เวลา 09.00 – 12.00 น.
วันเสาร์ที่ 19 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในกลุ่ม hackatron ในหัวข้อ “การวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์” ซึ่งสถานที่จัดทำวิดิโอคือ 1.วัดโพธิ์คงคา 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ 3.กลุ่มแม่บ้านแปรรูปขนมกล้วย บ้าบิ่น และทองม้วน 4.สำนักสงฆ์พุทธศิลาภูม่านฟ้า หรือ วัดภูม่านฟ้า
โดยมีชื่อทีมคือ You to team
– รายนามผู้เข้าประกวด
1. นายปริวัติ จำเนียรกูล (หัวหน่าทีม)
2. นายปริญญา ไทยสืบชาติ
3. นายณัฐพงษ์ จงกล
4. นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์
5. นางสาวพรสวรรค์ โกศล
6. นางสาวพัชรียา ลามั่น
7. นางสาววาสนา แก้วไธสง
การปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคม มีดังนี้
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00 น. ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบ OTOU ผ่านทาง Google Meet ห้องการประชุม https://meet.google.com/ooj-qxrz-pmc?pli=1&authuser=0 พร้อมทั้งมอบหมายงานการจัดเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม
การจัดเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม และเก็บข้อมูลย้อนหลังในเดือนมิถุนายน
1.การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย
1.1. กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
1.2. กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
1.3. กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
2.การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3.การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
ซึ่งการเก็บข้อมูลกลุ่มนักศึกษา มีจำนวน 5 คน โดยแบ่งกันสำรวจดังนี้
1. บ้านหนองขาม จำนวน 2 คน
2. บ้านหนองตาชี จำนวน 3 คน ตามที่ได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านหนองตาชี มีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน Application U2T
- สวนดาวเรือง
- สวนมันสำปะหลัง
- สวนยางพารา
- สวนดอกมะลิ
- ต้นส้มโอ
- ต้นผักหวานป่า
- ต้นมะขาม
- ต้นเชอรี่
- สวนใบเตย
- ต้นสับปะรด
- ต้นตะไคร้หอม
- ต้นแก้วมังกร
- ต้นกระบุก
- ต้นกล้วย
- ต้นลำไย
- ต้นมะม่วง
- ต้นมะกรูด
- ต้นสีหวด
- ต้นกระท้อน
- ต้นน้อยหน่า
- ต้นไม้ไผ่
- ต้นตะขบ
- ต้นพุทรา
- ต้นสะเดา
- ต้นหม่อน
- ต้นมะค่า
- ต้นอัญชัน
- วัว
- หมู
- นกเอี้ยง
- แห
- กับดักแย้หรือด้วงแย้
- สระน้ำบ้านหนองตาชี
- บึงบัวหลวง
การสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19) ที่พักอาศัย
- มีการประเมินตนเอง เเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
จากการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการประเมินอาการตนเองอยู่สม่ำเสมอ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงก็จะรีบไปพบเเพทย์ เพื่อทำการตวรจสอบอาการของตนเอง มีการป้องกันตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันคือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เเละเว้นระยะห่าง 2 เมตร ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หากมีญาติกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงจะนำส่งไปกักตัวทันที เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
2. มีการสังเกตอาการ เเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
จากการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการสังเกตุอาการของตนเอง เเละอาการบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ชาวบ้านในชุมชนจะรีบไปพบเเพทย์ทันที
3. มีการดูเเลสุขอนามัยตนเอง เเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
จาการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการดูเเลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำเเละสบู่ หรือเจลเเอลกอฮอลล์ โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เเละหลังกลับมาจากนอกบ้านอย่างสม่ำเสมอ
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ เเละใช้ช้อนส่วนตัว
จาการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก เเละมีการใช้ช้อนส่วนตัวหรือช้อนกลางในการรับประธานอาหาร เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน
จาการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการระมัดระวังในการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน เเก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
6. ทำความสะอาดตนเองก่อน-หลังทำภารกิจในบ้านหรือกิจกรรมนอกบ้าน
จาการสำรวจพบว่า ชาวบ้านในชุมชนมีการล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องเเต่งกายทันที เมื่อกลับจากการทำภารกิจข้างนอกหรือกิจกกรมนอกบ้าน เพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19)
สรุปการปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคม
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้การประชุมวางแผนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ แต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ มีเจ้าหน้าที่ อสม. คอยตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลเข้า – ออกภายในชุมชน ซึ่งทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด จึงส่งผลให้การลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล และการจัดอบรมตามโครงการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยาก แต่ทางผู้ปฏิบัติงานทุกคนในตำบลบ้านสิงห์ ได้ช่วยการแสดงความคิดเห็นในการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ได้เป็นอย่างดี