ดิฉัน นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์ ( กลุ่มนักศึกษา ) ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูล ในเดือนมีนาคม 2564 เพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564
ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูล ดังนี้
- แบบสอบถาม 01 สำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- แบบสอบถาม 02 เกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- แบบสำรวจ 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ( Emerging infectious diseases ) ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ )
สำหรับพื้นที่ที่ได้ลงสำรวจ คือ หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี และหมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
จากการสำรวจ
หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี
พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในพื้นที่อำเภอที่อาศัย ด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ และมีบางส่วนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป/บริการ รับราชการ และว่างงาน/ไม่มีงานทำ ด้านวิถีการผลิตของคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะทำนา ปีละ 1 ครั้ง โดยเริ่มไถหว่านเมล็ดพันธุ์เดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อใช้บริโภค/อุปโภค และจำหน่าย และทำสวนดอกมะลิ ทำเป็นประจำทุกวัน เพื่อจำหน่าย โดยการเก็บดอกส่งตลาดจะได้ขีดละ 150 บาท และจ้างคนเก็บ ขีดละ 100 บาท จากเดิมเคยมีพัฒนาชุมชนของอำเภอ เข้ามาส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ในการทำกระเป๋า เพื่อสร้างรายได้ให้คนในชุมชน แต่ในปัจจุบันไม่มีใครสานต่ออาชีพการทำกระเป๋าเลย แหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน คือ ป่าไม้/ป่าชุมชน เป็นพื้นที่สาธารณะ ช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะเข้าไปหาของป่า เช่น เห็ด ผักหวานป่า เป็นต้น
สภาพปัญหาของชุมชน มีดังนี้
1.ปัญหาขาดเเคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค
2.ปัญหาเส้นทางการสัญจรเกิดการชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อตลอดเส้นทางเข้าหมู่บ้าน
3.ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
4.ปัญหาควันพิษฝุ่นละอองจากการเผาถ่าน
แนวทางการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน มีดังนี้
1.รองน้ำเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค
2.หลีกเลี่ยงการขับรถยามกลางคืน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และรองบจากภาครัฐในการมาปรับปรุงซ่อมแซมการชำรุดของถนน
ความต้องการในการพัฒนาชุมชนและอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือให้ด้านต่าง ๆ อันดับแรก เรื่องน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค อันดับสอง เรื่องเส้นทางการจราจร อันดับสาม เรื่องอบรมอาชีพสำหรับกลุ่มแม่บ้าน
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย
ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจาก ” กลุ่มพี่บัณฑิตจบใหม่ ” การลงพื้นที่สำรวจพบว่าคนในวัยทำงานจะออกไปทำงานในช่วงเวลาประมาณ 08.00 – 17.00 น. จึงทำให้ผู้ที่ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงาน ระดับการศึกษาประถมศึกษา การประกอบอาชีพในพื้นที่อำเภอที่อาศัย ด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ และมีบางส่วนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป/บริการ รับราชการ และว่างงาน/ไม่มีงานทำ ด้านวิถีการผลิตของคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะทำนา ปีละ 1 ครั้ง โดยเริ่มไถหว่านเมล็ดพันธุ์เดือนมิถุนายนและเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อใช้บริโภค/อุปโภค และทำไร่มันสำปะหลังเพื่อจำหน่ายจะจำหน่ายในและนอกชุมชน ขึ้นอยู่กับราคามันตามท้องตลาด แหล่งทรัพยากรที่โดดเด่น คือ วัดภูม่านฟ้า ซึ่งในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการการก่อสร้าง เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัญหาที่พบ คือ ควันฝุ่นจากการก่อสร้าง จากรถขนดิน เส้นทางขรุขระ ป้านบ้านเลขที่มีเพียงบางหลังเท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงบ้านเลขที่ ที่ยังไม่ได้เก็บข้อมูลหรือเก็บข้อมูลบ้านที่ตกหล่นเป็นไปได้ยากใช้เวลานาน
ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดจากโรคโควิด-19 ทำให้มีผลกระทบในด้านของรายได้ การส่งออกจำหน่ายของผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจากการสำรวจชาวบ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณบ้านและพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น การเดินทางไปในพื้นที่ที่แออัด เช่น ตลาด วัด จะสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์และน้ำเปล่าอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ( Emerging infectious diseases ) ชาวบ้านมีการประเมิน การสังเกตอาการตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้านอยู่สม่ำเสมอ