ดิฉันนางสาวพนิดา  สนทนา ประเภทบัณฑิตจบใหม่   โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่  1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

การปฏิบัติงานในช่วงเดือนกรกฎาคม วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2564 ในเวลา 13:00 น. ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ ได้ประชุมผ่าน Google meet เพื่อวางแผนการทำงานในเดือนกรกฎาคม

การประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจ้งรายละเอียดงานให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด 19 สถานที่ที่ต้องสำรวจคือ พักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้

1. การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
– กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน
– กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน
– กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
2. การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3. การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบ

หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้สำรวจข้อมูล ข้าพเจ้าได้ทำการติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านหนองดุม เพื่อขออนุญาตเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งผู้ใหญ่ได้อนุญาตให้ลงพื้นที่ได้ จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้

ณ ปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 9,692 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,077 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 615 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 381,907 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง  ทางทึมงานจึงได้ทำแบบสำรวจชุมชนเพื่อที่จะประเมินตนเองและบุคคลในครัวเรือน เพื่อที่จะได้ทราบถึงวิธีการรับมือกับโควิด – 19

1.มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า

  • เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
  • ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
  • ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด

2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ
6. เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที
สรุป ส่วนใหญ่ในครัวเรือนจะมีการประเมินตนเองหรือสังเกตสมาชิกในครัวเรือนว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการคล้ายกลุ่มเสี่ยง ชาวบ้านจะรีบไปทำการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนก่อนเบื้องต้น ชาวบ้านในชุมชนมีการดูแลตนเองและรักษาสุขอนามัยมากขึ้น เช่น การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์  ,สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกสถานที่หรือมีบุคคลมาเยี่ยมที่บ้าน ,ล้างมือหรือทำความสะอาดมือก่อนหรือหลังรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม,รับประทานอาหารปรุงสุก

 

การเก็บข้อมูลทำแบบสอบถามสำหรับโรงเรียน 

ตำบลบ้านสิงห์ มีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  1. ศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองกง
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์

โรงเรียนในสังกัดอื่นๆ

  1. โรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
  2. โรงเรียนบ้านหนองกง
  3. โรงเรียนสิงหวิทยาคม

การลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับโรงเรียน

  • มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
  • สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
  • จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
  • ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ
  • ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลดเวลาทำกิจกรรม
  • ควบคุมทางเข้า-ออก ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด หรือใช้การบันทึกข้อมูลรายงาน
  • จัดให้มีการแนะนำผู้ที่อยู่ในสถานศึกษาทุกกลุ่ม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการเรียนการสอน ทำกิจกรรมตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
  • มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู