ข้าพเจ้านางสาวพนิดา    สนทนา ประเภทบัณฑิตจบใหม่

ตำบลบ้านสิงห์  หลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

รายงานผลประจำเดือนเมษายน

เมื่อวันที่  8 เมษายน พ.ศ.2564  เวลา 9.00 น. ณ  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ได้จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำขนม และชนิดของขนมไทยที่มีในแต่ละหมู่บ้าน ได้ทราบขั้นตอนการทำขนม การเก็บรักษา การจัดจำหน่าย หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ไปวิเคราะห์ และแก้ไขเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

 

 

สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและได้สอบถามจากผู้นำหมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุมซึ่งได้ทราบผลิตภัณฑ์แต่ละหมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่แต่ละหมู่บ้านจะทำขนมไทย ทางคณะผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมแบบบูรณาการได้ให้ความสำคัญและต้องการที่จะส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทยให้เป็นที่รู้จักและสามารถเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยังยืน

หมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ที่มีผลิตภัณฑ์ขนมไทย ได้แก่

  • หมู่ 2 บ้านหนองขาม ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมทองม้วน ดอกจอก กล้วยฉาบ มันทอด มันฉาบ รังแตน ข้าวแต๋น รังนก
  • หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กล้วยฉาบ ดอกจอก มะขามแก้ว ลอดช่อง มันเชื่อม ถั่วเคลือบ
  • หมู่ 8 บ้านหนองกง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมตาล ขนมต้ม ขนมบ้าบิ่น
  • หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมสอดไส้ กระหรี่ปั๊บ ถั่วแปบ
  • หมู่ 11 บ้านหนองโคลน ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กล้วยฉาบ มันฉาบ ขนมตาล กล้วยอบเนย กล้วยปาปิก้า ไข่เต่า
  • หมู่ 12 บ้านหนองม่วง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ มะพร้าวเผา ขนมต้ม ข้าวหลาม
  • หมู่ 13 บ้านหนองสองห้อง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมดอกจอก

 

แหล่งจัดจำหน่าย

  • หมู่ 2 บ้านหนองขาม
    – มีแม่ค้าจากตลาดเข้ามารับซื้อ
    – ทำตามสั่งของโรงเรียนและ อ.บ.ต
  • หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง
    – ทำตามสั่งของอำเภอ
    – ฝากขายตามร้านค้า
  • หมู่ 8 บ้านหนองกง
    – ขายที่ตลาดลำปลายมาศ
    – ขายตามหมู่บ้าน
  • หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง
    – ทำส่งโรงเรียนหนองกง
  • หมู่ 11 บ้านหนองโคลน
    – ส่งขายตามร้านค้า
    – ขายที่ตลาด
  • หมู่ 12 บ้านหนองม่วง
    – ขายที่ตลาด
    – ขายที่แยกหน้าบ้าน
  • หมู่ 13 บ้านหนองสองห้อง
    – ทำเฉพาะที่สั่งเท่านั้น

ปัญหาและอุปสรรค

  • ช่วงสถานการณ์โควิด 19 ไม่มีแม่ค้ามารับของ
  • มะพร้าวแพง
  • มะพร้าวหายากในบางช่วง
  • ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ทำให้วัตถุดิบค่อนข้างแพง

สิ่งที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่

  1. เครื่องหมายการค้าหรือ โลโก้ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
  2. บรรจุภัณฑ์ ควรใส่บรรจุภัณฑ์ที่ให้เห็นตัวสินค้าและออกแบบให้ดึงดูดผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
  3. การเก็บรักษา การเก็บรักษายาวนานมากขึ้น เพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆได้
  4. การทำผลิตภัณฑ์ให้มีหลากหลายรสชาติหรือหลายหลายรูปแบบ เพื่อดึงดูดลูกค้าหลากหลายกลุ่ม

พิธียกเสาเอก – เสาโท

โดยได้เข้าร่วมใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

กำหนดการ

เวลา 09:00 น. พร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธียกเสาเอก – เสาโท
เวลา 09.19 น. ประกอบพิธีทางศาสนา
– ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและเจ้าคณะตำบลหนองกง
– ประธานฝ่ายฆราวาส นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง
– ประธานยกเสาเอก ดร.สนธยา ไกรรณภูมิ รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
– ประธานยกเสาโท นายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท
เวลา 10:00 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล
เวลา 12:00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน

 

 

 

ประชุมเพิ่มเติม

หลังจากเสร็จพิธียกเสาเอก – เสาโท เรียบร้อยแล้วทางคณะอาจารย์และทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลบ้านสิงห์ ได้ทำการประชุมและทำการนัดหมายการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงาน  ได้สอบถามถึงการทำงานของผู้ปฎิบัติงานเพื่อได้ทราบความเคลื่อนไหวและข้อมูลเพิ่มเติมจากการลงพื้นที่เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขและให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการทำงาน 

 

หลังจากช่วงที่ไม่ได้ลงพื้นที่และยังไม่มีการประชุมได้อบรมพัฒนาทักษะความรู้ผ่านระบบ e-Learning ซึ่งมี 4 ทักษะหลักที่ได้อบรม ดังนี้

  1. ทักษะด้าน Digital Literacy (TDGA e-Learning) หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การผลิตภาพยนต์ดิจิทัล และการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  2. ทักษะด้าน Financial Literacy (SET e-Learning) หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ, การบริหารค่าตอบแทน และเทคโนโลยีการเงิน

  3. ทักษะด้าน English Literacy หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ ภาษาอักฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอังกฤษพื้นฐาน

  4. ทักษะด้าน Social Literacy หลักสูตรที่ได้อบรม ได้แก่ การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ, จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมในสังคมแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

 

อื่นๆ

เมนู