ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังคงพบ เหตุการณ์การระบาดของโรคกระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันโรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งในระดับชุมชนและโรงพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดบุรีรัมย์การดำเนินงานจึงต้อง พึงระวังเเละปฎิบัติตามนโยบายดั้งกล่าว
กระผมนั้นจึงต้องวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบและระมัดระวังให้ถึงที่สุด การดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ตัวข้าพเจ้าได้รับฟังคำชี้แจงการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ในระบบ https://cbd.u2t.ac.th/tabs/bio-categories ของแบบฟอมร์ ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ร้านอาหาร ความเป็นอยู่ในชุมชน รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นสิ่งสําคัญ ช่วยให้สามารถทราบข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนํานําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกิจกรรมที่น่าสนใจและพลาดไม่ได้คือ งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์ ที่มีบุลคลมากความสามารถคือ ท่าน ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายในหัวข้อ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน และอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์โจน จันได คนต้นเรื่องศูนย์พันพรรณ การสร้างบ้านดินเป็นคนต้นเรื่องหรือผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธ์ บรรยายหัวข้อกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชาทางเลือกทางรอดในโลกยุคโรคไวรัสระบาด
เวลา 08:50 น ผศ. ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินรายการถ่ายทอดสดงานบุญใหญ่นั่นคืองานทอดผ้าป่าปาฐกถาชุมชน
รายละเอียดกำหนดการ
เวลา 9:00 น พิธีเปิดบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ท่าน ธัชกร หัตถาธยากูล และกล่าวรายงานโดยท่านนายอำเภอนางรองท่าน เพชรรัตน์ ภูมาศ หลังจากมีพิธีเปิดแล้วก็จะเป็นการกล่าวขอบคุณโดยท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ท่านรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา โดยท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดกิจกรรมบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 และตามด้วยท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูวิสุทธิ พัฒนภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงเจ้าคณะตำบลหนองกง และประธานกลุ่มรักนางรองสีเขียวยั่งยืนซึ่งเป็นประธานฝ่ายสงฆ์จะได้กล่าวสัมโมทนียกถาแด่ทุกท่านในชุมชนออนไลน์แห่งนี้หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นก็จะนำทุกท่านเข้าสู่การปาฐกถาพิเศษผ่าน ระบบ online โดยคณะท่าน ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือที่รู้จักกันดี ดร.ยักษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในหัวข้อที่ท่านจะบรรยายให้พวกเราฟังน่าสนใจมากครับคือเรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน หลังจากที่ฟังปาฐกถาพิเศษจากท่านอาจารย์ยักษ์แล้ว และการฟังการบรรยายพิเศษอีกรอบหนึ่ง โดยคนต้นเรื่อง พันพรรณ ของการสร้างบ้านดินเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์นั่นคือ อาจารย์โจน จันได บรรยายหัวข้อที่น่าสนใจและก็เข้ากับยุคสมัยมากนั่นคือกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชาทางเลือกทางรอดในโลกยุคโรคไวรัสระบาด เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่ในช่วงท้ายรายการของการถ่ายทอดสดก็จะเป็นการกล่าวปิดกิจกรรมบุญโดยท่านพระครูวิสุทธิ พัฒนภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและเจ้าคณะตำบลหนองกง
กล่าวรายงายโดย นายอำเภอนางรองท่านเพชรรัตน์ ภูมาศ ประธานฝ่ายฆราวาสในการจัดงานทอดผ้าป่าชุมชน
การจัดงานบุญทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองและการศึกษาพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อำเภอนางรองมีศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของการเรียนรู้ดังกล่าว คณะกรรมการจัดงานและศรัทธาสาธุชนได้ร่วมกันจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวเปิดงาน
ใจความสำคัญ ท่านกำชับให้พี่น้องประชาชนคนบุรีรัมย์ทุกท่านได้อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 และขอขอบคุณทุกท่านทุกฝ่าย ทั้งคณะสงฆ์ ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน และพี่น้องพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ได้ร่วมด้วยช่วยกันจัดงานบุญทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองและจัดปาฐกถาชุมชนออนไลน์ขึ้น ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองเมื่อได้ร่วมด้วยช่วยกันในการสร้างครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ที่จะใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้อบรมของศาสตร์พระราชาทั้งเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตรกสิกรรมธรรมชาติและโคกหนองนาโมเดลเป็นต้นแบบของจังหวัดบุรีรัมย์
กล่าวขอบคุณโดย ท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ท่านรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา โดยท่านรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์นั้นเป็นมหาวิทยาลัยพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นมีการร่วมมือร่วมใจและมีทั้ง บ้าน วัด ชุมชน และท้องถิ่น ด้วยท่านเถรานุเถระคณะสงฆ์และให้ความร่วมมือตลอดจนสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นการดำเนินการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยมีพื้นที่รับผิดชอบของอำเภอนางรอง อำเภอลำปลายมาศ มหาวิทยาลัยนั้นได้ทำหน้าที่ตามศาสตร์พระราชาเป็นหน้าที่คนของพระราชาข้าของแผ่นดิน ซึ่งในหลวงราชการที่ 10 นั้นได้ให้พระราโชบายให้ดูแลชุมชนอย่างจริงจัง โดยเป็นศูนย์ประสานงานชุมชนเป็นการทำหน้าที่เพื่อดำเนินการรวบรวมการดำเนินงานร่วมกันทุกฝ่ายศูนย์การเรียนรู้ในการดำเนินงานศาสตร์พระราชานั้นเป็นส่วนที่ภูมิใจของประเทศจริงๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดเผยแพร่และได้เรียนรู้จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่ง คาดหวังว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ของศาสตร์พระราชาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 นั้นศาสตร์พระราชาซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ยั่งยืน
ท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูวิสุทธิ พัฒนภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงเจ้าคณะตำบลหนองกง และประธานกลุ่มรักนางรองสีเขียวยั่งยืนซึ่งเป็นประธานฝ่ายสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา
ข้อเน้นย้ำไม่ว่าชุมชนใดก็ตามอย่าทิ้งหลักศาสนาของตนเอง จะไม่มีการรบราฆ่าฟันกันเลยจะมีแต่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เราไปที่ไหนเราก็จะพบแต่รอยยิ้มความเมตตาซึ่งกันและกันได้เน้นย้ำถึงการปฏิบัติธรรมและรักษาความดีของตนเองและมีความที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่มนุษย์ การจัดตั้งศูนย์ครั้งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งตามหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นทางสายกลาง และการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้และให้อยู่กับเราได้อย่างยั่งยืน
เวลา 10.00 – 11.00 น. ท่าน ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บรรยายในหัวข้อ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน
ใจความสําคัญคือแนวทางการดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีวัฒนธรรมที่เป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่และอยู่มานาน ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นในเรื่องอารยธรรมด้านศีลธรรม เรื่องที่สำคัญกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนในยุค world destruction ประเด็นแรกกสิกรรมธรรมชาติ ประเด็นที่สองบนรากฐานแห่งความพอเพียง ประเด็นที่สามความมั่นคงความมั่นคั่งและความยั่งยืนภายใต้ world destruction ประเด็นสุดท้ายภายใต้วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า การจัดทำโคกหนองนาอารยธรรมเกษตรเป็นเกษตรที่พระพุทธเจ้าสอน สังคมไทยมีวัฒนธรรม สังคมมีอารยธรรมการจัดการน้ำ อย่างสมดุล โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือเป็นที่รู้จักกันคือ “อาจารย์ยักษ์” เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ลงสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนามนุษย์ พร้อมกันนี้ภารกิจสำคัญอีกประการได้แก่การขับเคลื่อน “หลักกสิกรรมธรรมชาติ” ผ่านการบ่มเพาะหลักคิดและหลักปฏิบัติผ่าน “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ” ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการนำศาสตร์พระราชาด้านบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า มาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกฟื้นดินดาน สร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบการผลิตภาคเกษตร พัฒนาสู่ชุมชนที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้นี้จะทำให้ทัศนคติการดำรงชีวิตมีเหตุมีผลมากขึ้น เริ่มจากหาข้าวหาปลาในผืนดินของตนเอง ซึ่งจะต้องทำดินให้มีคุณภาพ พื้นที่กักเก็บน้ำได้ และสามารถปลูกพืชนานาชนิดร่วมกัน เช่น ไม้กิน ไม้ใช้งาน ร่วมกับสมุนไพร เพื่อสร้างความเกื้อกูลทางธรรมชาติ ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย มีรายได้เหลือพอสำหรับใช้สอยสิ่งจำเป็น สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเกิดจากผลลัพธ์ที่มาจากการบริหารจัดการพื้นที่ทำกิน
เวลา 13.00 -14.20 น. อาจารย์โจน จันได คนต้นเรื่องศูนย์พันพรรณ การสร้างบ้านดินเป็นคนต้นเรื่องหรือผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ บรรยายหัวข้อกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา
เราเข้าสู่ยุคที่รวยนิยม เราควรระวัง แต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด วันนี้ทั้งประเทศมีข้าวมากถึง 200 สายพันธุ์และที่แต่ละคนรัปประทานไม่ถึง 2 สายพันธุ์ ตลอดทั้งปี นี่คือเรื่องที่น่ากลัวที่สุดว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ก็คือปัญหาสุขภาพ ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติและผู้คนประสบปัญหาด้วยโรค ที่เกิดจากการรับประทาน อาหารที่มีอย่างไม่จำกัด แต่เรากลับรู้สึกว่าเรารับประทานเยอะมาก รับประทาน หมู เป็ด ไก่ ทุกวันเรารับประทานไม่กี่อย่าง กับข้าวก็รับประทานแค่นั้นทั้งปี แต่เราขาดสารอาหารอย่างอื่นนี่คือที่เกิดขึ้น จากการที่เรารู้ แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ ต่อมาทุกคนทำงานหนักมาก แต่ไม่ค่อยมีคนทำงานเพื่อตัวเอง แต่ทำงานเพื่อทำลายตัวเองเป็นส่วนมาก ว่าแต่ละคนทำงานหนักมากได้เงินมาซื้ออาหารเลี้ยงชีวิต เพราะสุขภาพสำคัญ แต่ไม่กล้าซื้ออาหารที่มีประโยชน์รับประทานมันแพงเกินไป แตกต่างการซื้อกาแฟที่ราคาถ้วยละ 80 บาทและได้ซื้ออะไรที่ไม่ใช่อาหารรับประทานได้มากมายถึงจะแพงก็ตาม ทำให้เราสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตของเราโดยถ้าเรายังเดินหน้าอย่างนี้ต่อไปเราน่าจะอยู่บนโลกใบนี้ได้ไม่กี่ปีเพราะทุกอย่างมันกำลังจะหมดและทำลายสุขภาพของเรา เราทำงานเพื่อใครทำไปทำไม อันนี้คือสิ่งที่คนไม่ตั้งคำถามเราถูกฝึกให้ทำงานมากไม่มีเวลาคิดถึงตัวเองไม่มีเวลาตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราทำไปทำไมเราทำเพื่อใคร ที่เราทำกันเยอะมาก แต่เราไม่มีอะไรเพื่อตัวเราเลยเพราะสุขภาพเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่เราไม่ได้ให้ความสำคัญ กับไปให้ความสำคัญกับงานและเงินเป็นอันดับ 1 สุขภาพเอาไว้หลังสุดนั่นคือสิ่งที่มาให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบันคือเรื่องที่ทำให้เห็นว่ามันจะอยู่ต่อไปอีกนาน ถ้าเรายังพัฒนาวิธีการทำงานอย่างนี้ต่อไปและเราจะรับประทานอะไร สิ่งนี้คือสิ่งที่ผมเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงผมก็เห็นว่าสิ่งที่ผมเห็น ในท่ามกลางกระแสแห่งโลกทุนนิยม ยังมีองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สวนกระแสทุนนิยม นั่นคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำรงชีวิตของประชากรในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่ดีพอสมควร อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีบทพิสูจน์แล้วสามารถหลุดพ้นจากหนี้สิน และสร้างความยั่งยืนได้ จึงทำให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ คนมักจะไม่เข้าใจคำว่าพอเพียงและหลายคนก็มักจะคิดว่าคำว่าพอเพียงหมายถึงไปอยู่แบบเป็นชาวไร่ชาวนาตากฝนตากลมและก็ไม่ชอบไม่แคร์อะไรมากมาย นั่นคือความคิดที่ผิด คำว่าพอเพียงไม่ได้หมายความว่าอดอยาก แต่ก็ทำให้มันเพียงพอ ไม่ให้ความขัดสนในชีวิตจริงหรือเรารู้สึกว่าเรามีมากเกินไป แน่นอนแล้วเราขัดสนมากเลยทุกวัน แต่ชีวิตที่ขาดแคลนอย่างยิ่งสิ่งแรกที่ขาดแคลนคือเวลาไม่มีเวลาที่จะอยู่กับในครอบครัว ไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเองอันนี้คือความบกพร่องที่คนมองข้ามซึ่งมันมีค่ามากเป็นสิ่งที่สำคัญมากคือเวลาให้กับตัวเองแล้วมีเวลาเยอะมาก แต่เราให้กับงานทั้งหมด บางคนจะบอกว่ามีวันหยุดหรือเลิกงานแล้วกลับบ้าน แต่ความจริงแล้วงานที่นำมาทำที่บ้านในวันหยุดแล้วเราเเค่ย้ายที่ทำงานไปทำที่บ้านหรือชายทะเล อันนี้คือสิ่งที่เราขัดสน แต่เราไม่รู้สึกตัวบ้างคือเวลาที่ขัดสนอันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าเศร้า
การเก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม หมู่บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ของแบบฟอมร์ ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ความเป็นอยู่ในชุมชน รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นในชุมชน จากการสอบถามข้อมูลชุมชนและพบว่าข้อมูลการจัดการแหล่งน้ำในชุมชน มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้อุปโภค และมีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน การเปิดน้ำหรือให้ใช้น้ำเป็นการใช้และมีการส่งท่อไปยังในครัวเรือนเพื่อให้ใช้ในกิจวัตรประจำวัน แต่ไม่ได้นำไปใช้ทางการเกษตรเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำนั้นมีเฉพาะเจาะจงไว้ให้ใช้เพื่ออุปโภค เมื่อทราบข้อมูลการจัดการน้ำของชุมชนน ก็สามารถนำมาพัฒนานาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนและวางแผนเพื่อให้มีนำใว้ใช้ตลอดทั้งปี
เนื่องจากปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาด ไวรัสโคโรนา-19 จึงทำให้การเก็บข้อมูลล่าช้า โดยกระผมได้รับผิดชอบออกเก็บแบบสอบถาม และจัดเก็บข้อมูล เพื่อบันทึกลงในระบบเก็บข้อมูล ในเขตพื้นที่ชุมชนที่รับผิดชอบ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จึงทำให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำให้ต้องมีการวางแผนการลงพื้นที่ และอธิบายทำความเข้าใจกับผู้ที่ให้ข้อมูลเพื่อที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
ปัญหาที่พบ คือ การเก็บข้อมูลเกษตรกรไม่สามารถที่จะนำเราไปชี้จุด หรือพื้นที่ของตนได้ เนื่องจากพื้นที่ของเกษตรกรอยู่ห่างใกลจากตัวบ้านและด้วยภารกิจที่ต้องทำในแต่ละวันเกษตรไม่สะดวกนำพาเราไปได้ และด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จึงทำให้กังวลต่อการเดินทางบ้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นคนในชุมชนไม่สามารถที่ใช้ชีวิตได้ตามต้องการ ถึงแม้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้วก็ตาม