วันที่ 22 มีนาคม 2564 “พิธีลงเสาเอก – เสาโท ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้เข้าร่วมพิธียกเสาเอกเสาโทเพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ประชุมผ่าน google meet
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2564 เวลา 14.00 นาฬิกา อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ขอนัดหมายประชุมผ่าน google meet เพื่อพูดคุยวางแผนการทำงานในเดือนเมษายน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้สำรวจขนมในหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบ และให้ติดต่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ขนม ผู้มีความเชี่ยวชาญในการทำขนมในท้องถิ่น เพื่อมาให้ข้อมูลในการเปิดเวทีการจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐานในวันที่ 8 เมษายน 2564 โดยดิฉันได้ติดต่อผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางประยง ชำนาญยา และนางทองใบ ชำนาญยา ผู้เชี่ยวชาญด้านขนมในบ้านหนองขามเพื่อเข้ารับการอบรมและให้ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์
การจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน (เวทีการประชุม ประจำเดือนเมษายน)
วันพฤหัสบดี ที่ 8 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงาน เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ มีตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านข้าร่วมอบรม รวมทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ 2 หนองขาม
- หมู่ 4 โคกไม้แดง
- หมู่ 8 บ้านหนองกง
- หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง
- หมู่ 11 บ้านหนองโคลน
- หมู่ 12 บ้านหนองม่วง
- หมู่13 บ้านหนองสองห้อง
ซึ่งมีการเปิดเวทีประชุมได้มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ แหล่งการจัดจำหน่าย ปัญหา และอุปสรรคของแต่ละหมู่บ้านว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรที่โดดเด่น จากการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐานจากหมู่บ้านต่าง ๆ ที่เข้าร่วมได้ข้อสรุปดังนี้
ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ของชุมชน
- หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม ได้แก่ ขนมทองม้วน ขนมดอกจอก กล้วยฉาบ มันฉาบ ขนมรังแตน ขนมรังนก และข้าวแต๋น
- หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง ได้แก่ มีขนมดอกจอก ขนมลอดช่อง ไข่เค็ม (เกลือ / สมุนไพร) กล้วยฉาบ ถั่วเคลือบ และไส้กรอก
- หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง ได้แก่ น้ำพริกปลาย่าง ขนมตาล ขนมต้ม ข้าวหมาก และขนมบ้าบิ่น
- หมู่ที่ 9 บ้านจันทร์แดง ได้แก่ ขนมสอดไส้ และขนมถั่วแปบ
- หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน ได้แก่ กล้วยฉาบ กล้วยปาปิก้าฉาบ ขนมตาล และขนมไข่เต่า
- หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง ได้แก่ ข้าวโพดต้ม มะพร้าวเผา และข้าวหลาม
- หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง ได้แก่ ขนมดอกจอก และพริกแกง
แหล่งจัดจำหน่าย
- ตลาด
- มีแหล่งตลาดมารับซื้อ
- ทำตามที่มีรายการสั่งมีแหล่งตลาดมารับซื้อ
- สำนักงานราชการ (โรงเรียน อำเภอ และองค์การบริหารส่วนตำบล)
- ร้านค้าตามหมู่บ้าน
- แหล่งตลาดในเครือข่าย
ปัญหาและอุปสรรค
หมู่ที่ 2
- สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-19 ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมารับสินค้าที่ตามปกติ
- ราคาของมะพร้าวที่แพงขึ้นจากเดิม หรือตามช่วงฤดูกาล
- การทำขนมโดยปกติจะใช้กะทิธรรมชาติมากกว่ากะทิกล่อง เนื่องจากจะไม่หนืด สดกว่า และรสชาติดีกว่า
หมู่ที่ 4
- มะพร้าวหายากในบางช่วง
- วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมมีอัตราราคาที่สูงขึ้น
หมู่ที่ 8
- มะพร้าวหายากในบางช่วง
- วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมมีอัตราราคาที่สูงขึ้น
- ราคาของผลิตภัณฑ์คงที่ ในราคา 10 บาท – 20 บาท
หมู่ที่ 9
- มะพร้าวหายากในบางช่วง
- วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมมีอัตราราคาที่สูงขึ้น
- ราคาของผลิตภัณฑ์คงที่ ในราคา 10 บาท – 20 บาท
หมู่ที่ 11
- กล้วยที่เป็นวัตถุดิบหลักหายากยิ่งขึ้น
- วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมมีอัตราราคาที่สูงขึ้น เช่น น้ำมันพืช
หมู่ที่ 12
- การปลูกต้นมะพร้าวมีแมลงศัตรูมะพร้าว
- การเผามะพร้าวต้องมีความชำนาญ ต้องมีเทคนิคการเผา
หมู่ที่ 13
- ส่วนใหญ่ชาวบ้านในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้าง ทำไร่มัน เป็นอาชีพหลัก การทำขนมเป็นอาชีพเสริม
- มะพร้าวไม่เพียงพอ
- ขาดแรงงาน
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ต้องการพัฒนา
- ขนมบ้าบิ่น
- ขนมใส่ไส้
- กล้วยฉาบ
- มะพร้าวน้ำหอม
จากการการจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน (เวทีการประชุม ประจำเดือนเมษายน) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าตำบลบ้านสิงห์มีขนมที่หลากหลายซึ่งขนมที่นำมาพัฒนาต่อยอด ได้แก่ ขนมบ้าบิ่น ขนมใส่ไส้ กล้วยฉาบ มะพร้าวน้ำหอม โดยบรรจุภัณฑ์ของขนมยังไม่เป็นที่น่าสนใจ ไม่มีเครื่องหมายการค้า และขาดตลาดจำหน่ายที่กว้างขวาง ซึ่งทางโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้มีแนวทางในการแก้ไขบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ เพื่อสร้างจุดเด่นในผลิตภัณฑ์ พัฒนาขนม และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักโดยใช้ตลาดออนไลน์ เพื่อต่อยอดให้คนในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์เกิดรายได้มากขึ้น