เข้าร่วมรับชมและฟังการปาฐกถาพิเศษออนไลน์งานทอดผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชน “ยักษ์ จับ โจน” ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้ร่วมพิธีทอดผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยังยืนผ่านทางออนไลน์ รับชมผ่านทางช่อง YouTube “HUSOC-BRU Channel” โดยมี ผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทำหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินรายการถ่ายทอดสด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เวลา 9.00 นาฬิกา
– พิธีเปิดงานบุญผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์โดย นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
– กล่าวรายงาน โดย นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอําเภอนางรอง -กล่าวขอบคุณโตย รองศาสตราจารย์มาสิณี จุโฑปะมา รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
– กล่าวสัมโมทนียกถา โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัตตาไก้พลวง เจ้าคณะตําบลหนองกง
เวลา 9.00-11.00 นาฬิกา
– ปาฐกถาพิเศษผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค World Disruption” โดย ดร.ยักษ์ ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกําธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เวลา 13.00-14.15 นาฬิกา
– บรรยายพิเศษผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption” โดยคุณโจน จันได ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดิน และผู้ก่อตั้งพันพรรณศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์
จากการบรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค World Disruption” โดย ดร.ยักษ์ ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกําธร กล่าวถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้แก่ หลักกสิกรรมธรรมชาติบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า มาฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งในการจัดการดินให้มีการทำสวนผสม ดูแลดินให้สมบูรณ์ การจัดเก็บน้ำให้มีการทำธนาคารน้ำใต้ดิน วางระบบชลทาน คลองบังคับน้ำ
จากการบรรยายเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption” บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ซึ่งสุขภาพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแต่เราไม่ได้ให้ความสำคัญแต่ไปให้ความสำคัญกับงานและเงินเป็นอันดับ 1 สุขภาพเอาไว้หลังสุด ท่ามกลางกระแสแห่งโลกทุนนิยม ยังมีองค์ความรู้ที่สวนกระแสทุนนิยม คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำรงชีวิตของประชากรในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่ดีพอสมควร
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลองค์ความรู้หลายแขนงสร้างรากแก้วให้ประเทศ หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ลงในระบบ https://cbd.u2t.ac.th ในรูปแบบแอพพลิเคชั่น เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ เป็นแนวทางการวางแผนพัฒนายกระดับเศรษฐกิจและสังคม จากการสำรวจโดยข้อมูลต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้
- ร้านอาหารในท้องถิ่น ได้แก่ ร้านน้ำหญิงปอง และร้านก๋วยเตี๋ยวยายบ้านหนองขาม
ร้านก๋วยเตี๋ยวยายบ้านหนองขาม
ร้านน้ำหญิงปอง
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น ได้แก่ ขนมดอกจอง กล้วยฉาบ มันฉาบ ไข่มดแดง
ขนมดอกจอง กล้วยฉาบ มันฉาบ
ไข่มดแดง
- พืชในท้องถิ่น ได้แก่ ฝรั่งกิมจู มะพร้าว กล้วย ต้นตาล มะม่วง ส้มโอ
ฝรั่งกิมจู
มะพร้าว
ต้นตาล
กล้วย
มะม่วง
ส้มโอ
- สัตว์ในท้องถิ่น ได้แก่ หมู
หมู
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น ได้แก่ ฝายห้วยน้อย เเละบ่อน้ำหลังศาลปู่ตาสมควร
ฝายห้วยน้อย
บ่อน้ำหลังศาลปูตาสมควร
สำหรับการปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 ซึ่งในแต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตราการในการป้องกันทั้งการใช้หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ผู้นำและอสม.ประจำชุมชนยังมีมาตราเข้มงวดในการตรวจคัดกรองบุคคลเข้า – ออกภายในชุมชน ซึ่งส่งผลถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำให้มีการปฏิบัติงานล่าช้า เพราะต้องติดตามสถานการณ์เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการปฏิบัติงานปัญหาที่พบคือ คนในชุมชนออกไปทำงานจึงทำให้เก็บข้อมูลได้บางส่วน และจากการลงพื้นที่บ้านหนองขามเป็นหมู่บ้านที่มีพืชทางการเกษตรจำนวนมากทั้งใช้ในการดำรงชีพ อาหาร และสร้างอาชีพให้กับคนใชุมชน ข้อมูลที่ได้จากกการลงพื้นที่ในเดือนพฤษภาคมจำนำเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมอย่างตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น