1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. การปฏิบัติงานพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ การอบรมรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) ในหัวข้อ “การวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์” และการจัดเก็บข้อมูลในประจำเดือนกรกฎาคม

การปฏิบัติงานพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ การอบรมรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) ในหัวข้อ “การวิเคราะห์และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์” และการจัดเก็บข้อมูลในประจำเดือนกรกฎาคม

ดิฉัน นางสาวพรสวรรค์ โกศล ( กลุ่มนักศึกษา )  

การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ในเดือนกรกฎาคม 2564

การปฏิบัติงานเพิ่มเติมจากเดือนมิถุนายน  มีดังนี้

       1. สืบเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 19.00 น. ได้มีการประชุมวางแผนเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจร่วมกัน ในด้านการเข้าร่วมการแข่งขัน U2T HACKATHON 2021 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) และได้มีการฝึกอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) ในวันที่ 18 มิถุนายน 2564 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

การฝึกอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) “ปัญหา การวิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา” เป็นการร่วมพูดคุยในหัวข้อการค้นหาปัญหา การวิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล โดยกิจกรรมได้มีการจัดผ่านโปรแกรม Zoom Meeting และถ่ายทอดสดผ่าน http://m.facebook.com/MHESIThailand/

บรรยายโดย

       คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ (CEO & Co-founder) บริษัท เทคซอส มีเดีย เวลา 14.30-16.30

       คุณสุทธิรักษ์ ดวงบุรงค์ (นักพัฒนานวัตกรรม) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เวลา 09.00-12.00

       คุณอานนท์ บุณยประเวศ (CEO) บริษัท TECHSARM เวลา 09.00-12.00

       2. จากการเข้าร่วมกิจกรรม HACHKATHON ตัวแทนสมาชิกกลุ่มตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดทำวิดีโอ

       หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทยของตำบลบ้านสิงห์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) จากประเด็นปัญหาผลิตภัณฑ์ยังไม่มีความหลากหลาย บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ และได้มีการสัมภาษณ์คุณสุภกาญณ์ โสกูล (ป้าอารมณ์) พร้อมทั้งการสาธิตการทำขนม

       วัตถุดิบหลักของขนมกล้วยเบรกแตก ซึ่งกล้วยที่นำมาใช้ในการทำคือ กล้วยน้ำว้า และกล้วยอบเนย กล้วยที่นำใช้มาใช้ในการทำคือ กล้วยเบา

       ปัญหาในการทำขนม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ขนมไทยนี้มีการวางจำหน่ายอยู่ในขอบเขตของชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง โลโก้ของผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ปัจจุบันโลโก้ผลิตภัณฑ์เป็นการพิมพ์ชื่อบนกระดาษ จากประเด็นปัญหาเหล่านี้คุณสุภกาญณ์ โสกูล (ป้าอารมณ์) มีความต้องการให้ทางทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เข้ามาช่วยพัฒนาในด้านต่าง ๆ และมีการพัฒนาช่องทางการตลาดที่กว้างขึ้นกว่าเดิม

บรรยากาศการถ่ายทำวิดีโอ

 

การปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคม มีดังนี้ 

       การประชุม วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00 น. เพื่อชี้แจงการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบ U2T Tracker ผ่านระบบ Google Meet พร้อมทั้งมอบหมายงานการจัดเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคม

       การเก็บข้อมูลที่ได้รับผิดชอบ การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน U2T Tracker ซึ่งมีรายละเอียดการมอบหมายงานประจำเดือนกรกฎาคม ดังนี้

  1. การเก็บข้อมูลกลุ่มที่พักอาศัย

          1.1 กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน

          1.2 กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน

          1.3 กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน

  1. การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล

     การเก็บข้อมูลกลุ่มนักศึกษา มีจำนวน 5 คน โดยแบ่งกันสำรวจดังนี้

  1. บ้านหนองขาม จำนวน 2 คน และ
  2. บ้านหนองตาชี จำนวน 3 คน ตามที่ได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านหนองตาชี มีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

  1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
  • เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
  • ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
  • ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
  1. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
  2. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
  3. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
  4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
  5. เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่

 

       สรุปการปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคม เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้การประชุมวางแผนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

อื่นๆ

เมนู