กระผม นายปรัตถกร  ขาวสระ กลุ่มประชาชน

หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย HS03  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือน : พฤษภาคม-มิถุนายน 

ในการปฏิบัติงานในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน กระผมและคณะทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์  อาจารย์ประจำหลักสูตรและเจ้าหน้าที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินกิจกรรมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนม เข้าร่วมโครงการ “รวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา” และมีการประชุมออนไลน์เพื่อแนะนำแนวทางการดำเนินงานก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติจริง และเนื่องจากยังคงมีสถานการณ์การระบาดหนักของโรค Covid-19 ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้ประกาศภารกิจพิเศษ “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยผู้เข้าร่วมโครงการ U2T จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมพิเศษในพื้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือ ซึ่งการปฏิบัติงานต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564  กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ การร่วมอบรมจึงจำเป็นต้องยึดตามมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของพื้นที่ จึงสามารถเข้าร่วมอบรมได้ไม่เกิน 20 คน และให้มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมี อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับชาวบ้าน ซึ่งคณะทำงานและชาวบ้านที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ช่วยกันออกแบบและนำเสนอแนวความคิดจากสิ่งที่วิทยากรบรรยาย และมีการนัดหมายอบรมต่อเนื่องอีกครั้ง เพื่อให้ชิ้นงานออกมาโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้มีการนัดประชุม เพื่อทราบถึงสถานการณ์การระบาดหนักของโรค Covid-19 ในปัจุบัน ซึ่งทางทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้ประกาศภารกิจพิเศษ “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยผู้เข้าร่วมโครงการ U2T จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมพิเศษในพื้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือ  โดยกิจกรรมเชิงรุก คือ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” โดยจะเน้นการเข้าไป เคลียร์พื้นที่ทำความสะอาด เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้สามารถลงพื้นที่ เข้าไปปฎิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยจะมี 3 Step คือ

Step ที่ 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด

Step ที่ 2 สร้าง Safe Zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด

Step ที่ 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม กับสถานการณ์

กิจกรรมต่อมา เป็นกิจกรรมเชิงรับมือ คือ “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดของโรค” โดยชาว U2T จะร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด ด้วยการ ศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน  เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติก่อน และหลังฉีดวัคซีน  เร่งสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เร่งสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้ และคนในชุมชนได้รับการฉัดวัคซีน

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T จะต้องช่วยกันวางแผน กำหนดรูปแบบ เพื่อลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือ ชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อน หรือต้องการความช่วยเหลือ ทั้งนี้ทางทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ จึงได้ประชุมเพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับงานที่ได้รับมอบหมายอีกครั้ง ในโอกาสต่อไป

และต่อมา ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ นัดหมายการลงพื้นที่จัดทำวิดีโอ รณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด” และ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” ตามภารกิจพิเศษ “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 กระผมพร้อมด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะทำงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ลงพื้นที่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ โดยมี นายประกิจ แดงชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ดร.สันติชาติ บุรัตน์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ และคณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ในการถ่ายทำวิดีโอ รณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด” และทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเคลียร์พื้นที่ทำความสะอาด เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์

 

ต่อมา ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วม “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา ๒๕๖๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารการปกครองส่วนท้องที่ และศูนย์ประสานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีกิจกรรมปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 22 ไร่ บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ และการเสวนาปลูกป่าชุมชน โดยเครือข่ายปราชญ์บุรีรัมย์และส่วนราชการ

และในวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 กระผมได้ร่วมจัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาคาร 25 ชั้น 1 จำนวน 2,000 ขวด เพื่อนำไปแจกให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยมีคณะทำงาน ผู้ปฏิบัติงานในตำบลบ้านสิงห์ และตำบลหนองโบสถ์ เป็นผู้จัดทำ

ต่อมาในเดือนมิถุนายน กระผมและคณะทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้ปฏิบัติงาน ดังนี้

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ชี้แจงและนัดหมายเข้าร่วมอบรม “การรณรงค์การฉีดวัคซีน” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์

      

และเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 กระผมได้เข้าร่วมอบรม “การรณรงค์การฉีดวัคซีน” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมี นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ และนางสาววิไลลัลย์ ต้องกระโทก นักวิชาการสาธารณะสุข  เป็นผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรค Covid-19 และวัคซีนป้องกัน มีอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังการอบรม เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อย ได้มีการสาธิตและแจกสเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับตัวแทนหมู่บ้านเพื่อนำไปแจกให้กับชาวบ้านต่อไป และทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ออกดำเนินการติดป้าย “รณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด” และ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” ตามจุดสำคัญของชุมชน

   

และเมื่อไม่นานมานี้ ในวันที่ 14-16 มิถุนายน 2564 กระผมและคณะทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัด ครั้งนี้ได้ลงไปสำรวจยังกลุ่มเกษตรภายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงทำการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ปลูกพืชผักสวนครัว ได้ตามปกติของฤดูกาล แต่จะมีความวิตกกังวลอยู่บ้างในด้านโรคติดต่อมือ เท้า เปื่อย และแผลพุพองตามผิวหนังในสัตว์ เช่น วัว สุกร โค กระบือ เป็นต้น และยังพบว่าราคาอาหารตามสั่งในหมู่บ้านในบางร้านขยับตัวสูงขึ้น อีก ประมาณ 5 – 10 บาท เนื่องจากการขึ้นราคาของอาหารแห้ง และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

สรุปได้ว่าจากการปฏิบัติงานในเดือนนี้ ได้เรียนรู้การวางแผน การดำเนินงาน การวิเคราะห์และหาข้อสรุป ซึ่งทางคณะผู้ปฏิบัติงานยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามแผนการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย และยังคงปฏิบัติตามหลักมาตรการป้องกันการระบาดโรค Covid-19 และทางทีมงานดำเนินงาน “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้กระผมยังต้องขับเคลื่อนการวางแผนปฏิบัติตามหลักมาตรการป้องกันการระบาดโรค Covid-19 ให้รัดกุมขึ้น และร่วมมือกับคณะทำงานในดำเนินงาน “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิดให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ รวมถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการคิดค้นและหาแนวคิดวิธีที่เป็นเลิศในการแปรรูปขนมไทย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ต่อไป

 

 

 

อื่นๆ

เมนู