กระผม นายปรัตถกร ขาวสระ กลุ่มประชาชน (หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์) รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ ต.บ้านสิงห์  อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ประจำหมู่ที่ 8 บ้านหนองกง  ต.บ้านสิงห์  อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่กับคณะทำงาน ประจำเดือน มิถุนายน ถึงกรกฎาคม เพื่อสำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน และติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) และสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในศาสนสถาน ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ในวันที่ 25 มิถุนายน  – 5 กรกฎาคม 2564 กระผมและคณะผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัด ครั้งนี้ได้ลงไปสำรวจยังกลุ่มเกษตรกร พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ภายในชุมชน หมู่ที่ 8     บ้านหนองกง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งได้ปลูกพืชเพื่อการอุปโภคบริโภคและพืชเศรษฐกิจเพื่อการค้าขาย ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย มะพร้าว มะนาว มะม่วง และ  กล้วยเป็นหลัก และมีการเลี้ยงสัตว์เศษฐกิจด้วย เช่น วัว ควาย เป็ด หมู ไก่ และกบ เป็นต้น  โดยมีแหล่งน้ำเพื่อการการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเพาะปลูก ได้แก่ หนองใหญ่ และลำห้วยธรรมชาติ

   

ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่าน Google Meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงและวางแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบงาน  โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้ ให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน  กลุ่มประชาชนเก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน และกลุ่มนักศึกษาเก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน ส่วนการเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ และ การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาดนั้น มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ

   

ต่อมา ในวันที่ 9-13 กรกฎาคม 64  กระผมได้ลงเก็บข้อมูล บ้านหนองกง  หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อสำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน  และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 สำหรับที่พักอาศัย กระผมได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเชิงรุกตามหลังคาเรือน และบริเวณพื้นที่ทำกินของประชาชนที่เป็นเกษตรกรที่ไม่ได้อยู่บ้านในขณะที่ข้าพเจ้าออกสำรวจ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และรับทราบปัญหาได้โดยตรงตามข้อเท็จจริง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สนทนา และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในระดับบุคคล ครัวเรือนในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำนา   ไร่มันสำปะหลัง ปลูกผักสวนครัวเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาอุปโภคบริโภคในครัวเรือน และบางครัวเรือนก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้บางครัวเรือนยังสามารถทำงานด้านหัตถกรรมการทำเครื่องจักสาน เช่น ทำหมวกจากต้นไหล ทอเสื่อรองนั่งจากต้นไหลและต้นกก เพื่อเก็บไว้ใช้เองและจำหน่ายสร้างรายได้ นอกจากนั้นประชาชนบางครัวเรือนยังทำการถนอมอาหารที่ขึ้นชื่อคือน้ำพริกปลาย่าง ไปจำหน่ายในตลาดชุมชนด้วย

ในส่วนของการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19  ระลอกใหม่สำหรับที่พักอาศัยนั้น พบว่า ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจ และประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอด ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ หากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น และมีการสำรวจว่าบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานในที่เสี่ยงหรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่ มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหรือไม่ หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าข่ายเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะให้รีบติดต่อพบแพทย์ทันที  และมีการดูแลสุขอนามัยตลอดเวลา โดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง

 

       

 

ต่อมา ในวันที่ 14 – 15  กรกฎาคม 2564  กระผมได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 สำหรับศาสนสถาน  ซึ่งจากการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับศาสนสถาน ได้แก่ วัดโพธิ์คงคา  สำนักปฏิบัติธรรมเวฬุวนาราม  วัดบ้านหนองทะยิง  วัดบ้านหนองกง  ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง และสำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า  จากการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนาธรรมกับเจ้าอาวาส และพระประจำวัด มานั้น ทำให้ได้ทราบข้อมูล ดังต่อไปนี้

กรณีมีกิจกรรมทางหรือพิธีกรรมทางศาสนา : เจ้าหน้าที่วัด หรือ เจ้าภาพในการจัดงานจะประสานงานไปยัง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อช่วยคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณะสุข เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย และการลงทะเบียนก่อน-หลังเข้าร่วมงาน มีการเว้นระยะห่างซึ่งกัน ทางวัดที่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนาบ่อยครั้ง จะมีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้ผู้ที่เข้ามาภายในวัด มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้า และมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกครั้งหลังจากทำกิจกรรม

กรณีไม่มีกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา : ทางเจ้าหน้าที่วัด หรือจิตอาสาภายในชุมชนจะมีการทำความสะอาดภายในบริเวณวัดทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง และดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

   

เมื่อกระผมและคณะทำงานได้รับทราบถึงข้อมูลที่เป็นจริง สภาพแวดล้อมของชุมชน รวมถึงปัญหา และความต้องการของประชาชนในชุมชนที่ได้ลงพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ ตำบลบ้านสิงห์แล้ว ก็จะนำมาอภิปราย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการพัฒนางานตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการต่อไป ซึ่งการปฏิบัติงานในช่วงนี้ กระผมและคณะผู้ปฏิบัติงานยังคงดำเนินงานต่อเนื่องตามแผนการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย และยังคงปฏิบัติตามหลักมาตรการป้องกันการระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19  ที่ระบาดหนักอย่างมากในประเทศ และได้ปรับแผนการดำเนินงานไปในรูปแบบออนไลน์ เพื่อลดการเข้าใกล้ และสัมผัสกับผู้อื่น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส โควิด-19

 

ลิงก์วิดีโอการปฏิบัติงานของตำบล

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู