กระผม นายปรัตถกร ขาวสระ กลุ่มประชาชน (หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์) รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่หมู่ที่ 8  บ้านหนองกง  ต.บ้านสิงห์  อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่กับคณะทำงาน ประจำเดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

วันที่ 22 ตุลาคม 2564 อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการได้นัดหมายการอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข ในเวลา 13.30-16.00 น. และมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประสานกลุ่มที่แปรรูปขนมและกลุ่มจักสาน หรือผลิตภัณฑ์ที่สนใจอยากพัฒนา โดยตัวตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่าน และให้กลุ่มบัณฑิตไปจัดสถานที่ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย

โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ได้กล่าวถึงการดำเนินงานและผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนผู้สนใจเข้ามารับฟังและนำความรู้เพื่อไปต่อยอดขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพมีความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือจึงจะผ่านเงื่อนไขของการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ที่ประสงค์ที่จะรับการรับรองต้องดำเนินการอย่างไร   การต่ออายุเมื่อได้รับการรับรองแล้ว จนถึงการรักษาสุขลักษณะการผลิตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่อาคารเครื่องมือเครื่องใช้บุคลากรในลักษณะผู้ต้องทำความสะอาดส่วนบุคคล

ด้านนักวิชาการสาธารณสุขนั้น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่การผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน รวมไปถึงสถานที่ตั้งอาคาร การผลิตจะต้องไม่ให้เกิดการปนเปื้อนทางอาหารได้ง่าย รักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ พร้อมกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมการควบคุมการผลิตซึ่งวัตถุดิบต้องอยู่ในสภาพที่มีคุณภาพผู้ผลิต  มีขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิตเป็นไปอย่างเคร่งครัดและได้มาตรฐานการเก็บรักษาอาการขนส่งอาหารป้องกันการปนเปื้อนรวมไปถึงการสุขาภิบาลการใช้น้ำในสถานที่ผลิตต้องมีความสะอาดจัดให้มีอ่างล้างมือในเวรให้เพียงพอใช้งานง่ายสะอาดพร้อมกับหาวิธีการทำความสะอาดเก็บรักษารวมไปถึงบุคลากรสุลักขณะผู้ปฏิบัติงานเอง

ในระหว่าง วันที่ 22 ตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมผ่ารระบบออนไลน์ ในหลายประเด็น คือ การอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOPและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข การติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล ติดตามการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนาเพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ การนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ให้ประโยชน์ทางการรักษาโรค

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ได้ติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูล U2T จะเข้ามาอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่มี ความเฉพาะเจาะจงแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสาขา โดยเน้นความยืดหยุ่นและความสะดวกต่อการลงพื้นที่ให้มากที่สุด ซึ่งคุณลักษณะของระบบนั้น สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลหลากหลายแขนงได้โดยสะดวก จากการสอบถามข้อมูลชุมชนและพบว่าข้อมูลการจัดการแหล่งน้ำในชุมชน มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้อุปโภค และมีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีการประเมินตนเอง คอยสังเกตอาการเบื้องต้นของคนในครอบครัวเมื่อมีอาการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ส่วนใหญ่คนในชุมชนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ามาตการการป้องกันตนเองอย่างรอบคอบและถูกวิธี เช่น การล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์ การรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม การสวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้ ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ  “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ซึ่งการจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง

 

วันที่ 29 ตุลาคม 2564 กระผมได้ประสานกลุ่มที่ต้องการเข้าร่วมอบรม ให้เตรียมอุปกรณ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่กำลังทำอยู่ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ เพื่อนำมาถ่ายรูปในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ จัดอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ได้รับความรู้เพิ่มพูนทักษะ ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาด การบริหารจัดการด้านการตลาดแบบเชิงรุก เพื่อเชื่อมโยงการตลาด โดยการจำหน่ายจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกตภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ด้านการจำหน่ายผลผลิตในรูปการตกแต่งสถานที่จำหน่ายด้วยป้าย แผ่นผ้า และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น ไทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือ เป็นต้น จึงทำให้เกิดการสร้าง  เพจ https://www.facebook.com/บ้านสิงห์-ของดีบอกต่อ-111144401364423/   เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตำบล ให้แพร่หลาย มียอดการสั่งซื้อเพิ่มหลังเสร็จสิ้นโครงการ  โดยต่อเนื่อง ส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำทั้งในการผลิตเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม

ในวันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน 2564 กระผมได้ติดตามการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T)  ร่วมกับประชาชน เพื่อลงพื้นที่ทํางานชุมชนพร้อมกัน เช่น การจัดทําข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวก   ในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ สามารถเก็บข้อมูล   ต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําไปจัดเก็บยังระบบบริหารจัดการข้อมูล ขนาดใหญ่ เพื่อนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

โดย การข้อมูลตัวอย่างข้างต้น ได้จากการนำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map  ทั้งนี้ แต่ละตำบลได้เลือกเพียง  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ ใน CBD  วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI และนำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่กลุ่มของกระผมได้รับผิดชอบสำรวจและนำเสนอข้อมูล ได้แก่

  1. การสานตะกร้าพลาสติก

ปัญหา : วัสดุมีราคาแพง

แนวทางการแก้ใข :  การเสริมเหล็กโครงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และพลาสติกอาจต้องใช้ความร้อน เพื่อให้พลาสติกมีความอ่อนเพื่อจัดรูปทรง และความทันสมัย

การต่อยอดและพัฒนา : ศักยภาพคนในชุมชน ที่มีความรู้ด้านการทอ สาน ซึ่งสามารถที่จะทำเป็น  เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน เช่น กระเป๋าแฟชั่น ชั้นวางหนังสือ ตะกร้าผ้า โดยใช้โครงเหล็กเป็นแบบ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ลวดลายที่เป็นเอกลักณ์ของชุมชน และเพิ่มมูลค่าได้

  1. การถักแห

ปัญหา : ราคาค่อนข้างถูก จำหน่ายเฉพาะในชุมชน

แนวทางการแก้ใข : การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีเป็นช่วง ๆ ของแต่ละปี สิ่งสำคัญการแก้ไขปัญหาคือต้องสร้างเครือข่ายเพื่อจำหน่ายสินค้า

การต่อยอดและพัฒนา : ส่งเสริมการเรียนเพื่อสืบสานภูมิปัญญารู้ในชุมชน และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ

  1. ปลูกผักหวาน

ปัญหา : การปลูกผักหวานต้นจะตายง่ายในพื้นที่ที่ดินไม่เหมาะสม

แนวทางการแก้ใขแก้ไขปัญหาเรื่องดิน ซึ่งสำคัญมากเนื่องจากผักหวานเป็นพืชที่เจริญเตินโตได้ยากมาก ต้องทำให้ดินมีความชื้น และปลูกในบริเวณใกล้เคียงกัน

การต่อยอดและพัฒนา :  สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะเป็นการปลูกผักชนิดอื่นที่เป็นพืชผลไม้ การเลี้ยงมดแมงจำหน่ายพร้อมผักหวานเพื่อเพิ่มมูลค่า

 

และในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 กระผมได้ร่วมจัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค ลูกประคบโดยทั่วไปมีพืช สมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน โดยนำสมุนไพรมาบด และห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ นำไปนึ่งให้อุ่น ๆ วางประคบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย นอกจากนี้กลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสนช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการ

 

อื่นๆ

เมนู