เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ในปัจจุบัน ได้แพร่ระบาดครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ จึงได้มีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค ทำให้ผู้ปฏิบัติทุกคนไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อประชุมเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้  ทำให้การทำงานใน ต.บ้านสิงห์ เป็นไปได้ยากขึ้น จึงต้องมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้ง และในช่วงนี้ก็จะมีการประชุมชี้แจงงานทางออนไลน์ไปก่อน โดยในเดือนพฤษภาคมมีการปฏิบัติการ ดังนี้

-วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ได้เข้าประชุมออนไลน์กับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดูแล ต.บ้านสิงห์ และผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เพื่อชี้แจ้งและมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน สำรวจข้อมูลในชุมชนเพิ่มเติม และบันทึกข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่นของ U2T โดยแบ่งตามหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ และดิฉันได้รับผิดชอบหมู่ 5 บ้านหนองตาชี ต.บ้านสิงห์ และให้ศึกษาคู่มือการใช้งานแอพพลิเคชั่น U2T เพิ่มเติม

 

-วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้เข้าร่วมประชุมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน” โดยชมการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง YouTube ช่อง HUSOC-BRU Chanel เริ่มเวลา 09.00-15.00 น. โดยมี ผศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทำหน้าเป็นพิธีกรดำเนินรายการถ่ายทอดสดงานบุญผ้าป่า-ปาถกฐาชุมชนทางออนไลน์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวรายงานโดย นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง

ท่าน ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ ดร.ยักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ บรรยายในหัวเรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค World Disruption”

โจน จันได ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้า แห่งสวนพันพรรณ โดยกล่าวว่า หญ้าไม่ใช่ศัตรู หญ้าคือมหามิตรที่ยิ่งใหญ่ หญ้าเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยพัฒนาดิน เพื่อช่วยเกษตรกร ดังนั้นการฆ่าหญ้าจึงเป็นบาปที่มหันมาก

การใช้ประโยชน์จากหญ้า มีวิธีการดังนี้

  • หญ้าในสวน การตัดหญ้าลงเดือนละ 1 ครั้งในหน้าฝน ปล่อยให้หญ้าสูงขึ้นมาแล้วเราก็ตัดมันลง ถมไว้ ห้ามขนหนี ห้ามเผาเด็ดขาด แล้วรอไม่ถึง 2 อาทิตย์ หญ้าเหล่านั้นก็จะเปื่อยไปเป็นปุ๋ย

  • การปลูกต้นไม้หรือผลไม้เสร็จแล้ว หญ้าที่ขึ้นมาสูง ๆ เราก็จะเหยียบหญ้ารอบๆต้นไม้ลงแล้วก็เอาฟางคลุม เมื่อหญ้าเหล่านั้นไม่ถูกแสงแดด ก็จะเปื่อยเน่าไปเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ต่อไป
  • หญ้าในนา นาที่เราปลูกข้าว ปล่อยให้หญ้ากับข้าวขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เสร็จแล้วพอเราสังเกตว่าหญ้าเริ่มมีข้อ เพราะปกติหญ้าจะมีอายุสั้นกว่าข้าว พอเห็นหญ้ามีข้อ แต่ต้นข้าวยังไม่มีข้อ ให้ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดทั้งหญ้าและข้าวพร้อม ๆ กัน ให้เหลือตอไว้ประมาณ 2-3 นิ้ว หลังจากนั้นวันที่ 2 เราจะเห็นตอข้าวแทงยอดขึ้นมาสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ในขณะที่หญ้าแตกกอยังไม่ได้ เพราะว่าหญ้าเป็นข้อแล้ว ฉะนั้นข้าวก็จะสูงขึ้นมาแล้วก็มุงหญ้า ข้าวก็จะมุงแสงแดด ทำให้หญ้าไม่สามารถที่จะโตแข่งกับข้าวได้ ข้าวก็จะงามได้

  • หญ้าในแปลงผัก ในแปลงผัก ถ้าเป็นพวกผักต้นสูงพริก มะเขือ ข้าวโพด ถ้าหญ้าขึ้นมาเยอะ ๆ เราก็จะกดหญ้าลง แล้วก็เอาฟางคลุมหรือเอาหญ้าที่แห้งแล้วมาคลุม หญ้าเหล่านั้นก็จะยุติการเติบโตและก็เน่าเปื่อยไปเป็นปุ๋ยต่อไป ถ้าเป็นผักที่ต้นเล็กเราก็สามารถที่จะทำแปลงให้ดี แล้วก็เอาฟางคลุมให้หนา เสร็จแล้วก็เอาต้นกล้าแหวกปลูกลงไปในฟางเลย ทำให้เม็ดหญ้างอกไม่ได้เพราะไม่ได้แสงแดด ฉะนั้นสวนผักเราก็จะมีปัญหาเรื่องหญ้าน้อยลง

” หญ้าไม่ใช่ศัตรูพืช ไม่ใช่ศัตรูของมนุษย์ หญ้าคือสิ่งที่มาช่วยให้มนุษย์มีดินที่ดีขึ้น มาช่วยเราทำการเกษตร ดังนั้นเราจึงไม่ควรจะฆ่าหญ้า เราควรจะหาทางใช้ประโยชน์จากหญ้าน่าจะดีกว่า การหาสารเคมีมาฆ่าหญ้า จึงเป็นสิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยงให้ได้  “

-วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำข้อมูลไปบันทึกในแบบฟอร์มทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ 

  • ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • ที่พัก/โรงแรม
  • ร้านอาหารในท้องถิ่น
  • อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  • เกษตรกรในท้องถิ่น
  • พืชในท้องถิ่น
  • สัตว์ในท้องถิ่น
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกร เช่น ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนดอกไม้ (ดอกพุด ดอกมะลิ) รองลงมาคือเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ ชุมชนแห่งนี้มีการปลูกพืชที่หลากหลาย แต่ที่มีการปลูกเป็นส่วนใหญ่ คือ มันสำปะหลัง และดอกไม้ เช่น ดอกพุด ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ เพราะชาวบ้านปลูกเพื่อจำหน่าย และก็มีพืชที่ปลูกตามรั้วบ้านไว้กิน เช่น มะขาม แก้วมังกร กล้วย มะม่วง และผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ แหล่งน้ำในชุมชนจะเป็นสระน้ำกลางหมู่บ้าน แต่ชุมชนแห่งนี้ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรง และไม่มีร้านอาหารในท้องถิ่น มีเพียงร้านขายของชำเล็ก ๆ เท่านั้น

  • พืชในท้องถิ่น  
  • สัตว์ในท้องถิ่น

  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น

อื่นๆ

เมนู