ข้าพเจ้า นางสาวระวิวรรณ ฉิมกูล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มกพร. ตำบลบ้านสิงห์ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ด้วยอำเภอนางรองขอเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงในการประกาศข้อบังคับการปฏิบัติตนภายใต้คำสั่งของทางจังหวัดนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งทางจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีการแถลงข่าว โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์เรื่อง”รับคนบุรีรัมย์กลับบ้าน มีที่รักษา มีที่กักตัวครบ 14 วัน ได้ฉีดวัคซีนทุกคน กลับมาไม่แจ้งดำเนินคดีมีโทษสูงสุด”มีนายธัชกร หัตถาธยากูล ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน จากข้อมูลการเฝ้าระวัง พบว่าขณะนี้มีประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดงเข้ม และพื้นที่สีแดงได้กักกันตัวในพื้นที่กักกันโรคของรัฐในระดับจังหวัด/อำเภอ(Local Quarantine) ในท้องที่ที่อำเภอกำหนด  เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่ต้องการกลับมา ทั้งรักษาตัวและกักตัวสามารถประสานงานล่วงหน้าที่เบอร์ Hotline EOC COVID จังหวัดบุรีรัมย์ที่เบอร์ 191 หรือ044-602-215 หรือเบอร์โทรศัพท์ Hotline EOC COVID ประจำหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่สามารถติดตามที่เพจ สสจ.บุรีรัมย์สุดท้ายนี้ขอความร่วมมือจากประชาชนทุกท่านที่จะเดินทางเข้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์ ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตนตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้คนบุรีรัมย์ปลอดภัยปลอดโรคและมีสุขภาพที่ดีร่วมกัน พร้อมเปิดเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ และสร้างความสุขให้คืนกลับมาสู่พี่น้องชาวบุรีรัมย์ดังเดิม

“ ข้าวมีกิน หมอมีให้ กักตัวครบ จบด้วยวัคซีน กลับมาไม่แจ้ง ดำเนินคดีมีโทษสูงสุด “

สำหรับการดำเนินงานในส่วนของกลุ่มงานอำนวยความเป็นธรรมอำเภอนางรอง (ห้องศูนย์ดำรงธรรม) วาระงานที่ต้องรับผิดชอบ มีคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ ดำเนินการรับเรื่องร้องเรียน /ร้องทุกข์ของประชาชนในเขตพื้นที่ที่ได้เดินทางมาใช้บริการทางอำเภอและในระบบออนไลน์  รวมทั้งช่วยประสานเร่งรัดติดตามการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ (กระจายงานและติดตามงาน เพื่อต้องการให้หน่วยงานราชการในท้องถิ่น หน่วยงานราชการอื่น ๆได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยกัน เพราะมีเจ้าหน้าที่เฉพาะเรื่องอาจมีข้อมูลมากกว่าทางอำเภอ) อีกยังรับผิดชอบในการประมวลแยกแยะเรื่องร้องทุกข์จากช่องทางในระบบออนไลน์และหน่วยงานต่าง ๆ เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานต่อไป ภายในห้องศูนย์ดำรงธรรมจะมีท่านปลัดและเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อกฎหมายต่าง ๆ กับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติเพื่อนำประกอบข้อมูลในการดำเนินเรื่องต่อไปได้อย่างถูกต้อง และยังเป็นตัวกลางในการประสานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน) เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมทั้งยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศูนย์ดำรงธรรมให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้ตั้งไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทางอำเภอนางรองจัดตั้งหน่วยประสานการจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วในลงพื้นที่ในเขตที่รับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข้อมูล หลักฐาน และข้อพิพาทต่าง ๆ เพื่อต้องการส่งเสริม สนับสนุนการ และพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนให้รวดเร็วและถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล อีกทั้งยังบริการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (E-Report) เพื่อเร่งรัด ติดตามประเมินผลงานที่ได้รับผิดชอบและรายงานผลการดำเนินงานให้กับทางจังหวัดทราบ

การปฏิบัติงานส่วนอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากทางที่ว่าการอำเภอและข้าพเจ้าได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง

วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 14.00 น.

-นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรองประธานประชุม พร้อมด้วย ปศุสัตว์อำเภอนางรอง ท้องถิ่นอำเภอนางรอง นายกเทศบาลเมืองนางรอง นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งแสงทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง และกำนัน ทุกตำบล ร่วมประชุมเตรียมการป้องกันโรคระบาดสัตว์ (โรคลัมปี สกิน Lumpy skin disease : LSD )ณ ห้องประชุมอำเภอนางรอง ชั้น 2 จังหวัดบุรีรัมย์
     

วันที่17 มิถุนายน 2564

-ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรองได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดูความคืบหน้าโครงการขุดลอก เทพื้นหินคลุก ณ บ้านสนวน ตำบลถนนหัก เพื่อความถูกต้องตามและบรรลุเป้าหมายของโครงการ โดยมีปลัดประจำห้องศูนย์ดำรงธรรมมอบหมายแผนงานโครงการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล

     

วันที่ 30 มิถุนายน 2564

-ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรองได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ กรณี สถาบันการเงินชุมชน เดินมามาไกล่เกลี่ย(กรณีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน) จำนวน 55 ราย โดยมีท่านปลัดและเจ้าหน้าที่ช่วยกันปรับโครงสร้างหนี้และดอกเบี้ยให้เป็นยอดหนี้ปัจจุบัน เนื่องจากสมาชิกคงค้างเงินในสถาบันเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้การดำเนินเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการไกล่เกลี่ยหนังสือประนีประนอมยอมความ(หนี้) และให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย สามารถตกลงกันได้โดยดี

      

วันที่ 12 กรกฎาคม 2564

-ปลัดประจำศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรองได้ให้คำปรึกษากับราษฎรที่เดินทางเข้ามาใช้บริการ กรณี การแบ่งที่ดิน เพื่อต้องการไม่ให้เกิดปัญหาตามภายหลังและได้ความรู้ด้านข้อกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

     

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.00 น.

-นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานศูนย์ควบคุมโรคติดต่ออำเภอนางรองได้ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ พี่น้องประชาชนที่มารับการฉีดวัคซีน พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์/ เจ้าหน้าที่ อปท./ เจ้าหน้าที่เทศบาล และ อสม. รวมทั้งบุคลากร ที่ทำการปกครองอำเภอนางรอง ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงพยาบาลสนาม โดมเทศบาลเมืองนางรองรวมทั้งรับมอบอาหารกลางวัน จาก อบจ.บุรีรัมย์

   

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564

-ปลัดมอบหมายให้ดูแล ตรวจสอบสถานะการร้องเรียน/ร้องทุกข์ของระบบงานห้องศูนย์ดำรงธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งรับหนังสือจากหน่วยงานอื่น และพิมพ์งานเอกสารทางราชการเพื่อนำส่งหนังสือไปให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวได้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย

ผลที่ได้รับจากการลงมือปฏิบัติงาน
1.ได้ความมีระเบียบวินัยในการทำงาน ต้องทำงานอย่างมีสติ มีความรอบคอบ และต้องคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาหากทำงานผิดพลาด

2. ต้องมีความตรงต่อเวลา ถ้าเรามาเข้างานสายงานไม่ก็สามารถรันได้ เพราะส่วนที่เรารับผิดชอบไม่บรรลุวัตถุประสงค์

3. ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง และทำให้เรามีความคิดที่จะตั้งใจเรียนรู้งานได้มากขึ้น

4. ได้มิตรภาพที่ดี ได้เพื่อนใหม่มากมาย ได้รู้จักคนมากขึ้น

5. ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้ รียนรู้เทคโนโลยีภายในส่วนราชการอย่างถูกต้อง

6. มีความรับผิดชอบมากขึ้น รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน และอีกหลาย ๆ อย่าง ที่ได้รับหมอบหมาย

7.ได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ เพราะการปฏิบัติงานอาจจะแตกต่างกันไป ทำให้ได้ความรู้ ข้อมูลและวัฒนธรมมของแต่ละองค์กรเพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการปฏิบัติต่อไป

อื่นๆ

เมนู