ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน
Google meet ในเวลา 13:00 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานในเดือนกรกฎาคม
ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจ้งรายละเอียดงานและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด 19 สถานที่ที่ต้องสำรวจคือพักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
1. การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
-กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน
-กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน
-กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
2. การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3. การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบโดยแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม
สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด
หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้สำรวจข้อมูลดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ทำการติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านหนองบัวรายเพื่อขออนุญาตเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งผู้ใหญ่ได้อนุญาตให้ลงพื้นที่ได้ จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
-เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
-ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
-ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ
สำรวจข้อมููลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 3 ท่าน
ในตำบลบ้านสิงห์มีสถานศึกษาจำนวน 5 แห่งได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
3.โรงเรียนบ้านสิงห์ราษฎร์นุสรณ์
4.โรงเรียนบ้านหนองกง
5.โรงเรียนสิงวิทยาคม
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงนี้ทำให้มีประชาชนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการณ์โดยให้สถานศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด ข้าพเจ้าจึงได้ขออนุญาตผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่ิอสอบถามข้อมูลพบว่าโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์มีมาตรการณ์ในการรับมือกับโรคระบาดดังนี้
1. ด้านความปลอดภัยเพื่อการลดการแพร่เชื้อโรค
-มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
-มีการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนในสถานศึกษา
-มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ และมีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหารอย่างเพียงพอ
-มีการจัดโต๊ะเรียนเก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
-การกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า
2. ด้านการเรียนรู้
-มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอกคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา
3. ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง
-มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน
-มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม (Social stigma)
-มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรรวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน
-มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
4. ด้านนโยบาย
-มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครองโดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน
-มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน
5. ด้านการบริหารการเงิน
-มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
-มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่
-มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด 19 สำหรับที่พักอาศัยและทางสถานศึกษาทั้ง 5 แห่งในตำบลบ้านสิงห์พบว่า ชาวบ้าน รวมถึงบุคคลที่เข้าออกหมู่บ้าน ครู นักเรียนและผู้เข้ามาในสถานศึกษามีสวมหน้ากากอนามัย มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการทำความสะอาดบริเวรจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกันตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด