ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.00 น. ได้เข้าร่วมการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 9.00 น. ถ่ายทำวิดีโอเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด -19 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนบ้านสิงห์
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคา 2564 เวลา 9.00 น.ได้เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 ที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. ได้เข้าร่วมการอบรมการรณรงค์การฉีดวัคซีน ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. ได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่หมู่ 4 หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทนำ
การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ ขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์และขนมบ้าบิ่นของพี่มาลี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้ต่างไปจากเดิม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์และเหมาสมกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จึงควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่าง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเกิดการจดจำผลิตภัณฑ์ได้ จึงสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ให้ดูสวยงามน่าจดจำ
วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานเฉพาะกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชนของตำบลบ้านสิงห์ เวลา 14.00 น.ไปพร้อมกันที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และให้ผู้ปฏิบัติงานประสานงานกับกลุ่มขนมที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มขนมกล้วยฉาบ บ้าบิ่น ทองม้วน รวมทั้งขนมใส่ไส้ โดยให้ผู้ที่ทำขนม นำตัวอย่างขนมมาพร้อมกับโลโก้ที่มี โดยมีงบสนับสนุนกลุ่มละ 200 บาท และ 1 กลุ่ม สามารถมาได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน โดยกลุ่มนักศึกษาจะประชุมผ่าน live ในช่องทาง line ในการอบรม อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การออกแบบโลโก้และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ว่าจะต้องออกแบบโลโก้ยังไงให้คนจดจำ โลโก้ต้องมีลักษณะแบบไหนและสีจะต้องเป็นอย่างไร ต้องมีขนาดเท่าไหร่ถึงจะไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป ตัวหนังสือบนโลโก้ต้องมีมากน้อยแค่ไหน และเวลาถ่ายเอกสารออกมาโลโก้ยังคงชัดแบบเดิมอยู่ไหม และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังไงให้ดูสวยงามดึงดูดลูกค้า และออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างไรให้เก็บผลิตภัณฑ์ไว้ได้นาน และขนมแตละประเภทต้องใส่บรรจุภัณฑ์แบบไหนถึงจะดูเหมาะสม และบนบรรจุภัณฑ์ต้องมีข้อความอะไรบ้าง ที่จะบ่งบอกถึงว่า ขนมกล้วยฉาบหรือขนมบ้าบิ่นนี้ใครเป็นคนผลิต และหาซื้อไดจากที่ไหน มีช่องทางการติดต่อหรือไม่ มีส่วนผสมอะไรบ้าง เป็นต้น และเมื่ออาจารย์ได้อบรมให้ความรู้เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ที่ให้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เพราะมีขนมที่ต้องออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์และขนมบ่าบิ่นของพี่มาลี อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จะใส่ขนม ซึ่งการที่แต่ละกลุ่มจะออกแบบโลโก้บรรจุภัณฑ์ได้นั้น ต้องสอบถามเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วยว่าเขาต้องการให้โลโก้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นแบบไหน ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะอย่างไร และในการแบ่งกลุ่ม ส่วนตัวดิฉันก็ได้ไปอยู่กลุ่มขนมบ้าบิ่นของพี่มาลี ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็จะประสานงานกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ง่ายหน่อย เพราะมีสมาชิกในกลุ่มรู้จักกับพี่มาลีซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ จึงสอบถามข้อมูลกับพี่มาลีได้เยอะพอสมคววร ว่าพี่มาลีต้องการให้โลโก้ออกมาเป็นแบบไหน อยากได้ชื่อผลิตภัณฑ์เป็นชื่อของใคร ซึ่งก็ได้ข้อมูลมามากพอสมควร ที่จะมาออกแบบ หลังจาากออกแบบเสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโลโก้ผลิตภัณฑ์ที่แต่ละกลุ่มได้ออกแบบมาให้อาจารย์ฟังว่า แม่อารมณ์และพี่มาลีต้องการโลโก้และบรรจุภัณฑ์ออกมาเป็นแบบไหน โดยเริ่มจากกลุ่มขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์ นำเสนอเป็นกลุ่มแรก และตามด้วยกลุ่มขนมบ้าบิ่นของพี่มาลี และเมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็มีคำถามและคำติชมให้กับแต่ละกลุ่ม ว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไรบ้าง และคำติชมต่าง ๆ อีกมากมาย ที่อาจารย์ต้องตั้งคำถามและมีคำติชม เพื่อที่จะอยากให้งานของแต่ละกุ่มออกมาดีที่สุด
สรุป
ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานของโครงการ U2T ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ขนมบ้าบิ่น และ ขนมกล้วยฉาบ เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ขนมกล้วยฉ่บและขนมบ้าบิ่น ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่าง และเป็นการนำเสนอแนวทางพัฒนาในแง่ของการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับผู้ผลิตชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาอีกประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีความกินดีอยู่ดี ตลอดจนกระทั่งการต่อยอดสู่การส่งออกไปยังต่างจังหวัด
บทนำ
การถ่ายทำวีดีโอเกี่ยวกับมาตราการการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคววิท -19 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพฟติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิท -19 ตลอดจนความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคล ของประชาชนใน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึงมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ท่านปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ในวีดีโอ
วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้มีการนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไปถ่ายทำวีดีโอเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด -19 และการฉีดวัคซีน Sinovac ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ ซ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ท่านปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ในวีดีโอ และมีกิจกรรมหลังหลังจากถ่ายวีดีโอเสร็จ ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ได้ช่วยกันทำความสะอาดในบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ และเนื้อหาในวีดีโอนั้นก็ได้สัมภาษณ์ นายประกิจ แดงชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ท่านนายกได้ให้สัมภาษณ์ในส่วนของการแก้ไข และช่วยเหลือพี่น้องประชาชน คือการตั้งงบประมาณเอาไว้ดูแลพี่น้องประชาชนในทุก ๆ เรื่องเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาก ซึ่งแนวทางการแก้ไข ดร.สันติชาติ บุรัตน์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า อัดับแรกในทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ได้ประสานหน่วยงานทุกหน่วยงานที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส่วนข้าราชการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ส่วนมาตรการการป้องกัน นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ว่า ส่วนแรกคือ ในเรื่องของสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ มีมาตรการโดยรณรงค์ให้ผู้เข้ารับบริการ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยก่อนเข้ารับบริการทุกคน ในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันต่าง ๆ มีเครื่องวัดอุณหภูมิ มีเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการสำหรับผู้รับบริการ ส่วนหนึ่งในชุมชนจะมีอาสาสมัครสาธารณะสุขคัดกรองตั้งแต่กลุ่มผู้ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ในตำบลบ้านสิงห์ เราจะต้องมีการกักตัว 14 วัน มีศูนย์กักตัวในบ้าน เรียกว่า HOME QUARANTINE และ LOCAL QUARANTINE อยู่ที่วัดโพธิ์คงคา ซึ่งเป็นการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด ณ ปัจจุบันยังไม่มีผู้ป่วยในเขตพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ ต่อมาเป็นประสบการณ์การฉีดวัคซีน ให้สัมภาษณ์โดย นางสาวภัคธิรา เชิดชัยภูมิ พยาบาลวิชาชีพ โดยให้สัมภาษณ์ว่า สาเหตุที่ต้องไปฉีดวัคซีนในครั้งนี้ เพราะว่าด้วยวิชาชีพทำงานเกี่ยวกับคนไข้ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดคนไข้ อย่างเช่นต้องไปฉีดวัคซีนให้คนไข้ ด้วยเพราะเป็นบุคลากรทางการแพทย์อยู่ด่านหน้า จำเป็นที่จะต้องไปฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงในการฉีดวัคซีนที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ อาจจะมีปวดบวมบริเวณที่ฉีดได้ อาจจะมีขัดแขนยกแขนไม่ขึ้นบ้าง การป้องกันที่ดีที่สุดคือ คนที่ยังไม่เป็นถึงเป็นก็ต้องลดความเสี่ยง เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความรุนแรงก็คือ การได้รับวัคซีน ถือเป็นเรื่องที่ดี ดูแลตนเองไปด้วย จะช่วยทำให้เราปลอดภัยจากโควิด -19 ได้ในพื้นที่ของเรา และในส่วนของการทำความสะอาดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนของตำบลบ้านสิงห์นั้น ผู้ปฏิบัติงานทุกคนก็ช่วยกันปัดกวาด เช็ดถูในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ และได้ขัดห้องน้ำล้างห้องน้ำให้มีความสะอาดเรียบร้อย พร้อมเปิดรับบริการผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์
สรุป
จากบทสัมภาษณ์ในวีดีโอ ทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และในสถานบริการต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล ก็ได้มีการวัดอุณหภูมิก่อนเข้าใช้บริการเสมอ มีเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการ และผู้เข้ารับบริการจะต้องสมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเองอยู่เสมอ
บทนำ
โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ การเสวนาป่าชุมชน และการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 22 ไร่ บริเวณด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์
วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้ไปเข้าร่วมโครงการรวมใจต้นไม้ปลูกธรรมะวิสาขบูชา 2564 ที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ผู้ปฏิบัติงานไปพร้อมกันที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ และเมื่อถึงพิธีกล่าวเปิดงาน ท่านเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติและประธานการกล่าวเปิดการเสวนาป่าชุมชน และผู้ทรงภูมิความรู้ที่ร้วมเสวนาในวันนั้นคือ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ / พ่อคำเดื่อง ภาษี / ดร.พิสมัย ประชานันท์ / นายกฯ เกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง / กำนันเดช สวัสดิ์ / อาจารย์ไพรัช
ชื่นศรี / ผอ.ณรงค์ฤทธิ์ เสนาสังข์ / คุณคำนึง เจริญศิริ / ช่างดำอินดี้ / คุณมนัญญา ม่วงสมมุข และภายในงานก็จะมีการแจกโรงทาน ผู้ที่เข้าร่วมโครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 สามารถไปรับน้ำรับอาหาร ณ จุดแจกโรงทานได้ฟรี มีผู้เข้าร่วมโครงการมากมาย ได้แก่ กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน / ศูนย์ประสานงานชุมชน สัมพันธ์คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ / ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น / ผู้บริหารการปกครองท้องที่ / เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ / และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T อีกหลายตำบล และในช่วงบ่ายก็เป็นเวลาที่จะเริ่มพิธีการปลูกต้นไม้ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมถึงอาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้นำต้นไม้ไปปลูกในพื้นที่ที่ทำการขุดดินไว้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้น และหลังจากที่ปลูกต้นไม้ได้ 2 วัน วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 5 คน ไปสำรวจต้นไม้ที่ปลูกไว้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ยังอยู่ดีหรือไม่ สรุปว่าต้นไม้ไม่ได้รับความเสียหาย และผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้ไปสำรวจต้นไม้ อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานไปกรอกสเปรย์แอลกอฮอล์ที่อาคาร 25 ชั้น 1 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เวลา 9.00 น. และดิฉันเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานที่ไปกรอกสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อที่จะเอาสเปรย์ไปแจกชาวบ้านภายในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
สรุป
การอนุรักษ์และการฟื้นฟูต้นไม้เหล่านี้ ไม่เพียงเป็นแนวทางในการทำงานของโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ตลอดถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ยังเป็นหลักคิดให้กับประชาชนในการสืบสานพระราชปณิธานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นต้นธารที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยทั้งแผ่นดิน
บทนำ
การระบาดของโรคโควิด -19 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัย งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนคือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด -19
วันที่ 13 มิถุนายน 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน เข้าร่วมการอบรมการรณรงค์การฉีดวัคซีน โดยมีการอบรมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ มาอบรม จากนั้นจะแจกสเปรย์แอลกอฮอล์ในพื้นที่ทั้ง 14 หมู่บ้าน และให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่รับผิดชอบประจำหมู่บ้านแต่ละหมุ่บ้านช่วยประสานให้ตัวแทนหมู่บ้านมารับสเปรย์แอลกอฮอล์ไปแจกประชาชนในหมู่บ้าน และในการอบรม นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์เป็นผู้อบรมให้ความเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด -19 ว่าต้นกำเนิดมันเกิดจากอะไร และเกิดจากที่ไหน ทำไมถึงเกิดการระบาดของโรคโควิด -19 ขึ้น รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันว่าควนทำอย่างไร จึงจะไม่ให้เสี่ยงต่อการติดโรคโควิด -19 และในเวลาต่อมา เป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โดยพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด ได้แก่ Pfizer และ Moderna เป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม จากข้อมูลในปัจจุบัน วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95 % ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100 % วัคซีนของ Pfizer ควรได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็ม เข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 4 สัปดาห์ Astar Zeneca เป็นวัคซีนชนิดไวรัสพาหะ มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 70-80 % ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100 % Sinovac เป็นวัคซีนชนิดเนื้อตาย มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 50-70 % ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100 % ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด -19 เนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่ เรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดสถสนพยาบาล และควรเฝ้าระวังอาการหลังฉีดอย่างน้อย 30 นาที และเมื่อมีอาการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ปวดศรีษะรุนแรง อาเจียน ให้รีบพบแพทย์ทันที และก่อนที่จะไปรับวัคซีน ไม่ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2 วัน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และเมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้สาธิตการทำสเปรย์แอลกอฮอล์ ให้ตวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วมการประชุมได้รับชม ว่าในสเปรย์แอลกอฮอล์ มีส่วนผสมอะไรบ้าง จากนั้นก็ให้ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านทำกิจกรรมร่วมกันโดยการช่วยกันกรอกสเปรย์แอลกอฮอล์ใส่ขวดพร้อมทั้งติดสติ๊กเกอร์โลโก้ของโครงการ U2T หลังจากที่กรอกสเปรย์เสร็จ อาจารย์ก็ได้มอบสเปรย์มห้แก่ตัวแทนหมู่บ้านที่มาเข้าร่วมการอบรมหมู่บ้านละ 60 ขวด เพื่อที่จะนำไปแจกชาวบ้านในหมู่บ้าน และสำหรับตัวแทนหมู่บ้านหมู่ไหนที่ไม่ได้มาเข้าร่วมการอบรม ก็ให้ผู้ปฏิบัติงานประจำหมู่บ้านนั้น ๆ นำสเปรย์ไปให้ตัวแทนหมู่บ้าน เพื่อที่จะให้ตัวแทนหมู่บ้านนำไปแจกชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน ในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
สรุป
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด -19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างให้ย่อย และเลี่ยงพื้นที่แออัด ดังนั้นก่อนฉีดวัคซีนโควิด -19 ควรรู้และเข้าใจข้อมูลให้ถูกต้อง
บทนำ
ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในครั้งนี้ ได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติมจากเดือนที่แล้ว ซึ่งข้อมูลที่จะต้องสอบถามมีดังนี้ ชื่อ ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ ประเภทของการเกษตร พื้นที่ในการทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยต่อปี จำนวนแรงงานที่ใช้ ใช้ระบบเทคโนโลยีทุ่นแรงหรือไม่ เปิดให้ผู้คนเข้าชมได้หรือไม่ และรูปภาพ อย่างน้อย 5 ภาพ และในการสำรวจครั้งนี้ เพื่อที่จะเอาข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นไปพัฒนาหมู่บ้านให้ดียิ่งขึ้นไป
อาจารย์ประจำกลุ่มได้แจ้งผู้ปฏิบัติงานทุกคน คือให้ผู้ปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลในส่วนของ application U2T เก็บข้อมูลในส่วนของเกษตรกรในท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 1-16 มิถุนายน 2564 โดยมอบหมายงานให้ดังนี้
- ทีมบัณฑิต เก็บข้อมูล รายบุคคล จำนวน 50 คน
- ทีมประชาชน เก็บข้อมูลรายบุคคล จำนวน 30 คน
- ทีมนักศึกษา เก็บข้อมูลรายบุคคล จำนวน 20 คน
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. การลงสำรวจพื้นที่ยังเป็นปัญหาในการเข้าถึงได้ยาก เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเก็บส่วนที่สามารถทำได้ ยังต้องระวังตนเองให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง จึงได้สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างระหว่าเก็บข้อมูล ล้างเจลแอลกอฮอล์ และในส่วนของการเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือดี บอกข้อมูลได้ครบถ้วน ชาวบ้านบางส่วนไม่มีโทรศัพท์ใช้ จึงไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรติดต่อ Line หรือ Facebook ได้ ชาวบ้านส่วนมากจะมีรายได้จากการขายข้าวขายมันเฉลี่ยปีละ 20,000-30,000 บาทต่อปี และรายได้บางปีอาจจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับราคาข้าวและมัน บางปีขายไม่ได้เลย เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้ง และก็มีชาวบ้านบางส่วนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล เนื่องจากกลัว เพราะสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ขึ้น ทำให้ชาวบ้านไม่เปิดบ้านต้อนรับให้คนนอกพื้นที่เข้า แต่สถานการณ์แบบนี้ก็มีเป็นส่วนน้อย ทางเราจึงไม่ได้เข้าไปขอข้อมูล ในส่วนนี้ทางเราก็เข้าใจ
สรุป
จากการลงพื้นที่พบว่าภายในหมู่ 4 หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเกือบทุกหลังครัวเรือน และจากการสำรวจพื้นที่ก็ยังเป็นปัญหา ในการเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเก็นส่วนที่สามารถทำได้ และยังต้องระวังตนให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงอีกด้วย