ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 08.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 เวลา 14.00 น. ประชุมผ่าน google meet เกี่ยวกับการทำงานในเดือนเมษายน
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. อบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ณ ห้องประชุมองค์การบริการส่วนตำบลบ้านสิงห์
บทนำ
ในแต่ละพื้นที่จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป และในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การยกเสาเอก เสาโท เป็นพิธีกรรมโบราณ จะนิยมทำกันในช่วงเวลาที่จะปลูกบ้านใหม่ สร้างบ้าน อาคาร สำนักงาน โรงงาน บริษัท หรือ ออฟฟิต ฉะนั้น พิธีกรรมการยกเสาเอก เสาโท จึงเป็นพิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย และในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จะมีขนมไทยที่ขึ้นชื่อและแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะเป็นขนมที่มีมานานแล้ว เช่น ขนมบ้าบิ่น ทองม้วน ขนมใส่ไส้ กล้วยฉาบ เป็นต้น ขนมเหล่านี้สามารถที่จะนำมาแปรรูป เพื่อยกระดับขนมไทยที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดูมีมูลค่าและโดดเด่น ให้มีความหลายหลาย รสชาติที่แตกต่าง จะส่งผลให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและถ้าเป็นที่รู้จักแล้ว ขนมเหล่านี้ก็สามารถทำกำไรให้หมู่บ้านได้มากมาย
เนื้อเรื่อง
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์และหนองโบสถ์ เข้าร่วมพิธียกเสาร์เอก เสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้ บ้านโคกว่าน เวลา 08.30 น. โดยมีกำหนดการยกเสาเอก – เสาโท ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้
เวลา 09.00 น. พร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธียกเสาเอก – เสาโท
เวลา 09.19 น. ประกอบพิธีทางศาสนา
- ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง และเจ้าคณะตำบลหนองกง
- ประธานฝ่ายฆราวาส นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง
- ประธานยกเสาเอก ดร.สนธยา ไกรรณภูมิ รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- ประธานยกเสาโท นายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ นายก อบต. เย้ยประสาท
เวลา 10.00 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล
เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา 13.00 น. ประชุมเตรียมงานการทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้
ณ เวลา 08.00 น. พอไปถึงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าก็ได้ไปลงชื่อเข้างานกับอาจารย์ประจำหลักสูตร และได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อรอรับแขกที่มาร่วมงาน และเมื่อถึงเวลาประกอบพิธี ข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมงานก็ได้ไปเข้าร่วมพิธีเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา และเมื่อทำพิธีเสร็จ อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้นัดหมายเพื่อพบปะพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน พูดถึงแผนงานที่เราจะทำในลำดับต่อไป
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ขอนัดหมายประชุมผ่าน google meet เวลา 14.00 น. เพื่อพูดคุยวางแผนการทำงานในเดือนเมษายนนี้
ในการประชุม อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการพูดคุยถามถึงผู้ปฏิบัติงานประจำแต่ละหมู่บ้านว่า หมู่บ้านที่ตนไปสำรวจนั้นมีขนมไทยอะไรที่เด่นๆในหมู่บ้านบ้าง ในแต่ละหมู่บ้านก็จะมีขนมที่แตกต่างกันไป บางหมู่บ้านก็ไม่ได้มีขนม จะมีก็เป็นพวกงานฝีมือ เช่น การจักสาน ส่วนหมู่บ้านที่ข้าพเจ้าได้ไปสำรวจคือหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ขนมที่ชุมชนได้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น ได้แก่ ขนมดอกจอก ไข่เค็ม กล้วยฉาบ เป็นต้น และเมื่อจบการประชุม อาจารย์ประจำหลักสูตรก็ได้ให้ผู้ปฏิบัติงาน แจ้งเข้าไลน์กลุ่มว่าหมู่บ้านที่ตนได้สำรวจนั้นมีขนมอะไรที่โดดเด่นบ้าง
วันพฤหัสบดี ที่ 8 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงาน
เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป จะมีการจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งได้มีการมอบหมายให้ปฏิบัติงานดังนี้
1.ให้สมาชิกที่รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้าน เรียนเชิญสมาชิกในหมู่บ้านที่สำรวจที่มีการแปรรูปขนม เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย หรือขนมชนิดอื่นมาหมู่บ้านละ 3 คน ยกเว้นบ้านหนองขามเรียนเชิญมาทั้งกลุ่ม
2.ให้สมาชิกที่มานำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่กำลังดำเนินงานมาด้วย อย่างมากกลุ่มละไม่เกิน 200 บาท ทางโครงการจะจ่ายค่าผลิตภัณฑ์ในวันที่อบรม
3.กลุ่มบัณฑิตและประชาชน รบกวนประสานกับพี่เย็น พัฒนาชุมชนของ อบต.และไปดำเนินการจัดสถานที่ ในวันที่ 7 เมษายน รบกวนประสานพี่เย็นให้เรียบร้อย
4.ขอให้ทีมนักศึกษาลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการให้เรียบร้อย
5.มอบหมายทีม admin ดำเนินการถ่ายภาพและอัดวีดิโอในการอบรมครั้งนี้
6.ขอให้ทุกคนพร้อมกัน เวลา 8.30 น.เพื่อเตรียมความพร้อม
7.มอบหมายให้ทีมบัณฑิตช่วยเสริฟอาหารว่างและดูแลอาหารกลางวัน
8.แต่งกายให้เรียบร้อย พร้อมปฏิบัติงาน
และในวันงานอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน มีตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่ทำขนมขายมาเข้าร่วมอบรม รวมทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 หนองขาม, หมู่ 4 โคกไม้แดง, หมู่ 8 บ้านหนองกง, หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง, หมู่ 11 บ้านหนองโคลน, หมู่ 12 บ้านหนองม่วง, หมู่13 บ้านหนองสองห้อง
และในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรก็ได้ถามถึง ผลิตภัณฑ์ แหล่งการจัดจำหน่าย ปัญหาและอุปสรรค ของแต่ละหมู่บ้านว่า มีผลิตภัณฑ์อะไรที่โดดเด่นบ้าง และไปจำหน่ายที่ไหน มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องใดบ้าง
และก็ได้ข้อสรุปว่า
- หมู่ 2 บ้านหนองขาม
ผลิตภัณฑ์ คือ ทองม้วน ดอกจอก รังแตน กล้วยฉาบ มันฉาบ รังนก
แหล่งการจัดจำหน่าย จะมีตลาดมารับซื้อ และทำตามสั่งออร์เดอร์ จะมีโรงเรียน อบต. มาสั่งซื้อ และทำส่ง ในอำเภอปากช่องด้วย
ปัญหาและอุปสรรค ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ไม่มีคนมารับของไปขาย มะพร้าวแพง
- หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง
ผลิตภัณฑ์ คือ ดอกจอก มะขามแก้ว ลอดช่อง มันเชื่อม ไข่เค็ม ถั่วเคลือบ ไส้กรอก กล้วยฉาบ
แหล่งการจัดจำหน่าย ทำตามออร์เดอร์ และฝากขายตามร้านขายของในหมู่บ้าน
ปัญหาและอุปสรรค มะพร้าวหายากเป็นบางช่วง ถั่ว วัตถุดิบแพงขึ้น
- หมู่ 8 บ้านหนองกง
ผลิตภัณฑ์ คือ ขนมตาล ขนมต้ม น้ำพริกปลาย่าง ข้าวหมาก บ้าบิ่น
แหล่งการจัดจำหน่าย ขายในตลาดอำเภอลำปลายมาศ ทำตามออร์เดอร์ที่สั่งและขายตามหมู่บ้าน
ปัญหาและอุปสรรค ขาดแคลนมะพร้าว และวัตถุดิบมี่ใช้ทำก็มีราคาที่สูงขึ้น
- หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง
ผลิตภัณฑ์ คือ ขนมใส่ไส้ ถั่วแปบ
แหล่งการจัดจำหน่าย ทำส่งโรงเรียนบ้านหนองกงตามออร์เดอร์ทีสั่ง
ปัญหาและอุปสรรค มะพร้าวหายาก วัตถุดิบที่ใช้แพง กำไรน้อย
- หมู่ 11 บ้านหนองโคลน
ผลิตภัณฑ์ คือ กล้วยฉาบ มันฉาบ กล้วยอบเนย กล้วยปาปริกา ขนมตาล ไข่เต่า
แหล่งการจัดจำหน่าย ฝากขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน ทำตามออร์เดอร์ที่สั่ง และขายตามตลาด
ปัญหาและอุปสรรค กล้วยหายาก วัตถุดิบที่ใช้ทำมีราคาแพง น้ำมันพืชมีราคาที่สูง
- หมู่ 12 บ้านหนองม่วง
ผลิตภัณฑ์ คือ ข้าวโพดต้ม มะพร้าวเผา ข้าวหลาม
แหล่งการจัดจำหน่าย ขายตามตลาด ตั้งร้านขายหน้าบ้านและขี่รถขายตามหมู่บ้าน
ปัญหาและอุปสรรค ขาดแคลนมะพร้าว
- หมู่ 13 บ้านหนองสองห้อง
ผลิตภัณฑ์ คือ ดอกจอก พริกเผา
แหล่งการจัดจำหน่าย ทำตามออร์เดอร์ที่สั่ง ทำเป็นครั้งคราว ไม่ได้ทำขายประจำ
ปัญหาและอุปสรรค ขาดแคลนมะพร้าวและขาดแคลนแรงงาน
ปัญหาและอุปสรรคของแต่ละหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็น ขาดแคลนมะพร้าว และวัตถุดิบที่ใช้ทำมีราคาที่แพงขึ้น ต้องใช้เงินทุนมากขึ้น และกำไรที่ได้ก็น้อย เพราะทำขายในหมู่บ้าน ถ้าขายในราคาที่สูงขึ้นชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะไม่ซื้อ
สรุป
พิธียกเสาเอก-เสาโท เป็นพิธีที่สำคัญ มีความเชื่อว่าการทำพิธียกเสาเอก-เสาโท จะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่น ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้าง และจากข้อมูลที่กล่าวมาทำให้เห็นว่า ขนมไทยในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ขนมที่โดดเด่น จะเป็นกล้วยฉาบ ท้องม้วน บ้าบิ่นและ ขนมใส่ไส้ วัตถุดิบที่ใช้ก็จะเป็นกะทิที่ทำจากมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ การจัดจำหน่ายส่วนมากจะทำตามออร์ดอร์ ขายตามตลาดและขายในหมู่บ้าน ปัญหาและอุปสรรคที่พบเลยหลักๆก็คือ ขาดแคลนมะพร้าว และวัตถุดิบที่ใช้มีราคาสูงขึ้น กำไรน้อยเพราะขายในราคาหมู่บ้าน ข้าพเจ้าจึงอยากที่จะแปรรูปขนมไทยที่มีอยู่ให้แตกต่างจากเดิม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ขนมและสร้างความโดดเด่น ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น