ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทนำ
การลงพื้นที่ในการเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาชุมชน และเพื่อดูแลสุขอนามัยที่ดีของประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโคกไม้แดงว่าเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 หรือไม่ และมีความรู้เรื่องโควิด-19 มากน้อยเพียงใด โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือน และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งแบบสอบถามที่เก็บทางเราจะแบ่งเก็บเป็นชุด คือมีตั้งแต่แบบสอบถาม 01 ไปจนถึงแบบสอบถาม 06 รวมทั้งสิ้น 6 ชุด แต่การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทางเราได้เก็บแบบสอบถาม 01 02 และ 06 จากกลุ่มตัวอย่างในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บแบบสอบถาม 01 จำนวน 35 หลังครัวเรือน แบบสอบถาม 02 จำนวน 100 คน และแบบสอบถาม 06 จำนวน 35 หลังครัวเรือน โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาชุมชน และให้เป็นความรู้ ในการป้องกันการเสี่ยงที่จะเกิดโรคโควิด-19 จึงใคร่ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย
เนื่อเรื่อง
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการมอบหมายงานให้กับ กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มประชาชน ให้ไปเก็บข้อมูลสำรวจแบบสอบถามเพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการสำรวจพบว่า ในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากข้อมูลที่มีอยู่คือ ส่วนใหญ่ชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และมีค้าขายและรับจ้างทั่วไปบ้างบางส่วน และจะมีชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุก็จะมีรายได้มาจากลูกหลานที่ไปทำงานนอกเขตจังหวัดส่งเงินมาให้ใช้ และปัญหาที่พบเป็นส่วนมากในชุมชนคือ ชาวบ้านในชุมชนจะประสบปัญหาความยากจนเป็นส่วนมาก และในหมู่บ้านโคกไม้แดงมีทรัพยากรที่เด่นคือชาวบ้านปลูกมันสำปะหลังเกือบทุกหลังครัวเรือน ชาวบ้านมีทรัพยากรที่แปรรูปได้ แต่ไม่รู้จักใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลูกไว้เพื่อจำหน่ายอย่างเดียว และจากการสำรวจแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ทราบว่าเวลาออกจากบ้านไปในยังสถานที่ต่าง ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รักษาความสะอาด ไม่ใช้สิ่งของที่จำเป็นร่วมกับผู้อื่น ทราบว่าถ้าไปสัมผัส หมา แมว หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ต้องล้างมือทำความสะอาด ชาวบ้านส่วนใหญ่ทราบว่า โรคโควิด-19 มีอาการเป็นอย่างไร และดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ชาวบ้านส่วนใหญ่รู้สึกหงุดหงิดเพราะเหตุการณ์ของโรคโควิด-19 เพราะมันส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในหลายๆด้าน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็ลำบาก ต้องกักตัว และมีผลกระทบต่อรายได้ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพค้าขาย ต้องขาดรายได้เพราะออกไปขายของไม่ได้ต้องกักตัวอยู่บ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟก็เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเกิดโรคโควิด-19
สรุป
การลงพื้นที่ในชุมชนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ประชากรในชุมชนเกิดความรู้ ความสามารถและความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ โดยการมีส่วนร่วมในการตอบแบบสัมภาษณ์แบบสอบถามด้วยความเป็นจริง เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน และเพื่อให้คนในชุมชนไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เป็นการให้ข้อมูลที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตอบสนอง