HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง
การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน มิถุนายน
ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือนนี้มีกิจกรรม ดังนี้
– อบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปขนมของตำบลบ้านสิงห์
– กิจกรรม covid-19 week ณ โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– ปลูกต้นไม้ใน “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา ๒๔๖๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– ตรวจดูต้นไม้ที่ปลูกไว้
– อบรมการรณรงค์ฉีดวัคซีน covid-19
– ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2564
ได้จัดการอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปขนมของตำบลบ้านสิงห์ โดยได้ให้ผู้ดำเนินงานประสานงานไปยังตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านที่มีการทำขนมและสนใจเกี่ยวกับการยกระดับสินค้าของตนเองให้มาเข้าร่วมในการอบรมในครั้งนี้ ซึ่งการจัดการอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้มีผู้สนใจและเข้าร่วมทั้งหมด 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มขนมกล้วยฉาบ และกลุ่มขนมบ้าบิ่น จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดและออกแบบรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สินค้าที่มีอยู่เพิ่มมูลค่ามากขึ้นและน่าสนใจมากขึ้น
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2564
กิจกรรม Covid-19 Week ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้สิ่งที่ต้องทำคือการถ่ายทำวิดีโอเพื่อเป็นสื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Covid-19 ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เชิญวิทยากรในพื้นที่มาร่วมให้ข้อมูล ดังนี้ นายประกิจ แดงชาติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ดร.สันติชาติ บุรัตน์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ และนางสาวภัคธิรา เชิดชัยภูมิ พยาบาลวิชาชีพ หลังจากการถ่ายทำวิดีโอเสร็จสิ้นผู้ดำเนินงานทุกคนได้ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค เพราะพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์เป็นศูนย์รวมของผู้ที่เจ็บป่วยในโรคต่าง ๆ มารับการรักษาที่นี่ จึงจำเป็นต้องรักษาความสะอาดเป็นอย่างมาก
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2564
ร่วมกันปลูกต้นไม้ใน “โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา ๒๔๖๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีกิจกรรมหนึ่ง ที่ได้ร่วมกันทำความดีและอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่สนุกและอิ่มท้องมากเนื่องจากมีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่และมีจิตอาสาร่วมแรงร่วมใจกันทำโรงทานที่มีอาหารอร่อย ๆ มากมายทำให้มีกำลังในการปลูกต้นไม้มากขึ้น
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2564
เนื่องจากที่ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ไปแล้วในวันที่ 26 นั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ตัวแทน 5 คนไปลงพื้นที่ติดตามและดูแลต้นไม้ที่ปลูกว่าเป็นอย่างไรบ้าง จากการติดตามดูแลได้ร่วมกันกับชาวบ้านและตัวแทนจากตำบลอื่น ๆ ได้ช่วยกันพรวนดินและปลูกต้นไม่ทดแทนต้นที่ตายไปและเก็บขยะที่อยู่ในบริเวณนั้นให้สะอาด เสร็จเรียบร้อยจากนั้นร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2564
จัดอบรมการรณรงค์ฉีดวัคซีน covid-19 โดยมีการอบรม ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการเชิญชวนตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์มาเข้าร่วมการฟังการอบรมจากนายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้กับผู้ร่วมอบรมได้เข้าใจและทราบถึงปัญหา และมีนางสาววิไลวัลย์ ต้องกระโทก นักวิชาการสาธารณะสุข ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ว่ามีประโยชน์และผลข้างเคียงอย่างไรบ้างเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้าน หลังจากที่ได้ฟังการอบรมนั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการสาธิตและสอนวิธีการผสมแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดให้กับตัวแทนชาวบ้านและผู้ดำเนินงานได้ทราบและร่วมกันทำและแจกจ่ายไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำบลบ้านสิงห์
ทั้งนี้ในเดือนมิถุนายนนี้ ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลงานใน https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามพื้นที่ที่แต่ละผู้ดำเนินงานได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนการเก็บข้อมูลจากเดือนที่แล้วนั่นเอง
เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กชาวบ้านดำรงชีวิตโดยการทำเกษตรและปลูกผักรับประทานเองและหาอาหารที่มีตามฤดูการในพื้นที่จึงมีร้านขายของชำเพียงที่เดียว ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยความสงบจึงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว มีแต่แหล่งธรมชาติ