HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง

การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน กรกฎาคม

ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนกรกฎาคมนี้มีกิจกรรม ดังนี้

-ประชุมงานผ่าน Google Meet

-ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

 

วันที่ 7 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564

                   อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเดือนกรกฎาคม โดยให้ผู้ดำเนินงานเก็บข้อมูลในแบบฟอร์ม 06 โดยการลงพื้นที่ตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย

โดยการเก็บข้อมูลนั้นได้เก็บข้อมูลประจำเดือน มิถุนายน และเดือน กรกฎาคม

แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

 เนื่องจากดิฉันรับผิดชอบหมู่ 6 บ้านสระหมู จึงได้ทำการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในเขตพื้นที่ที่ตนเองได้รับผิดชอบ สรุปข้อมูลได้ดังนี้

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

  1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า – เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่ – ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่ – ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่

– มีการประเมินตนเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ

  1. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่

– มีการสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือไม่ หรือเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา

  1. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่

– มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปข้างนอก

  1. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่

– มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก

  1. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่

– ไม่มีการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน

  1. เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่

– มีการทำความสะอาดมือและร่างกายอยู่เสมอ

กลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน ซึ่งศาสนสถานในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่

  1. วัดโพธิ์คงคา
  2. สำนักปฏิบัติธรรม วัด ตามุมเวฬวนาราม
  3. วัดบ้านหนองทะยิง
  4. ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
  5. วัดบ้านหนองกง
  6. สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า

แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน

  1. มีการคัดกรอง ผู้นำทางศาสนา ผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา/ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้เข้าร่วมประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา หากมีอาการไข้หรือ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับไอ น้ำมูก เจ็บ คอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ขอความร่วมมือไม่เข้าร่วมกิจกรรม/พิธีกรรมทางศาสนาและแนะนำไปพบแพทย์ หรือไม่

– มีการคัดกรอง โดยการตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ที่ทางเข้า-ออก เพื่อสังเกตตนเอง

  1. กำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็น หรือไม่

– มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ทำกิจกรรม

  1. จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไว้บริการบริเวณ ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ หรือไม่

– มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์ไว้ทุกจุดที่มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ

  1. มีมาตรการหรือกำหนดสัญลักษณ์เพื่อให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และ จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามขนาดพื้นที่ เพื่อลดความแออัด เช่น กระจายมุมประกอบพิธีกรรม หรือไม่

– มีมาตรการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ให้เยอะจนเกินไปเพื่อลดความแออัด

  1. จัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ด้วยแอพพลิเคชั่นที่ทางราชการกำหนด หรือ จัดให้มีสมุดสำหรับลงทะเบียน หรือไม่

– มีการจดวางสมุดบันทึกเพื่อลงทะเบียนชื่อและเวลาเข้า-ออก

  1. มีการทำความสะอาดพื้นผิว และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันทุกวัน เช่น ห้องสำหรับประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา ห้องสารภาพบาป เป็นต้น และทำความสะอาดห้องส้วม อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และอาจเพิ่มความถี่ กรณี มีผู้ใช้บริการมากขึ้น ด้วยน้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% โดยเน้นบริเวณจุด เสี่ยง ได้แก่ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำอ่างล้างมือ ที่กดโถส้วมหรือ โถปัสสาวะ และสายฉีดน้ำชำระ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีสบู่ สำหรับล้างมือ อย่างเพียงพอ หรือไม่

– มีการทำความสะอาดทุกวันปกติอยู่แล้ว

  1. จัดให้มีการระบายอากาศในอาคารอย่างเหมาะสม เช่น ให้เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายอากาศ หากมีเครื่องปรับอากาศให้ทำความสะอาดระบบระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่

– มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมออยู่แล้ว

  1. กรณี จัดให้มีการปรุง/ประกอบอาหาร ให้ปฏิบัติ ดังนี้

– หากผู้สัมผัสอาหารมีอาการไข้หรือ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจ มีอาการท้องเสียร่วมด้วย ให้งดปฏิบัติหน้าที่ แจ้งผู้นำ หรือหัวหน้างาน และไปพบแพทย์

– ในขณะปฏิบัติงาน ผู้สัมผัสอาหารต้องสวมหมวกคลุมผม ผ้ากันเปื้อน หน้ากากผ้า และถุงมือ และมีการปฏิบัติตนตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

– หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ก่อนหยิบหรือจับอาหารและหลังการใช้ส้วม

– ปกปิดอาหาร ใช้ถุงมือและที่คีบอาหาร ห้ามใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง และ จัดให้มีช้อนกลางเมื่อเสิร์ฟอาหารที่ต้องรับประทานร่วมกัน หรือ จัดให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว

– ทำความสะอาดสถานที่ พื้นที่ หรืออุปกรณ์ เช่น ห้องครัว อุปกรณ์ปรุง/ประกอบอาหาร โต๊ะ อาหาร เก้าอี้ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อาจเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด กรณี มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และล้างภาชนะอุปกรณ์หรือสิ่งของเครื่องใช้ให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

– สถานที่ปรุง/ประกอบอาหาร ควรจัดให้มีการระบายอากาศได้ดี

– จัดให้มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดไว้ภายในสถานที่ปรุง/ประกอบอาหาร ควรมีการคัดแยกขยะ อย่างน้อย 2 ประเภท ได้แก่ ขยะย่อยสลายได้ และขยะรีไซเคิล และเก็บรวบรวมขยะใส่ถุงขยะ ปิดปากถุงให้ มิดชิดก่อนส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ทุกวัน หรือไม่

– มีการคัดกรองผู้ที่ปรุงอาหารก่อนเข้าทำการปรุงอาหารทุกครั้ง และมีการรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

ในกรณีที่มีการจัดกิจกรรม

ศาสนสถานทั้งหมดนี้เมื่อต้องมีกิจกรรมต่าง ๆ ผู้จัดงานจะผสานงานกับหน่วยงานเพื่อขออนุญาตจัดงานและแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อให้เข้ามาดูแลและทำตามมาตรการกำหนด เช่น ตรวจคัดกรองผู้ร่วมกิจกรรม ตรวจวัดอุณหภูมิ จัดวางเจลแอลกอฮอร์ล้างมือทำความสะอาด สวมใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง

ในกรณีที่ไม่มีการจัดกิจกรรม

ทางศาสนสถานจะมีการจัดเวรกันทำความสะอาดสถานที่เป็นประจำอยู่แล้ว

 

อื่นๆ

เมนู