HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง

การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤษภาคม

ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนนี้มีกิจกรรม ดังนี้

-ประชุมงานผ่าน Google Meet

-เข้าร่วมฟังการบรรยายงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน”

-ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

วันที่  7 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เนื่องจากสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นจากเดิมทำให้หลายพื้นที่ต้องป้องกันและดูแลไม่ให้มีการชุมนุมกันเป็นจำนวนมากจึงมีการนัดประชุมผู้ดำเนินงานผ่าน Google Meet เพื่อมอบหมายงานและสอนวิธีการใช้ https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว.  ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติม มีการแนะนำให้ผู้ดำเนินงานนั้นเข้าพื้นที่อย่างปลอดภัยด้วยการสวมหน้ากากอนามัย 100% เพื่อป้องกันตนเองและชาวบ้านที่จะเข้าไปสอบถามข้อมูล

 

วันที่  12  พฤษภาคม พ.ศ.2564 เนื่องด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้นั้นทำให้มีมาตรการป้องกันด้วยการห้ามชุมนุมกันเกินจำนวนที่กำหนด จึงมีการจัดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน” ในรูปแบบออนไลน์เพื่อผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมงานจะได้ร่วมงานและรับฟังการบรรยายจากวิทยากร  2 ท่านด้วยกัน คือ ท่าน ดร. ยักษ์ วิวัฒน์ ศีลยกำธร และท่านอาจารย์โจน จันได โดยมีการถ่ายทอดสดพร้อมกันทั่วโลกสดผ่านช่อง HOSOC-BRU Channel ทาง Youtube ตั้งแต่เวลาเวลา 09:00 น.

ท่าน ดร. ยักษ์ วิวัฒน์ ศีลยกำธร ได้บรรยายถึงความตั้งใจในการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่เกี่ยงข้อง ใจความสำคัยของการสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้คือแนวทางการดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ท่านอาจารย์โจน จันได ได้บรรยายถึงการดำรงชีวิตที่แย่ลงในปัจจุบัน และอยากให้ทุกคนเปลี่ยนความคิดในการดำรงชีวิตให้ดีกว่านี้ หลายปีที่ผ่านมามนุษย์สามารถทำให้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดกลายเป็นดินที่ตายด้านไปเกือบหมด เราสามารถทำให้น้ำที่มีมากกว่าแผ่นดินซึ่ง 3 ใน 4 ของโลกคือน้ำ มนุษย์ทำให้น้ำที่มีอยู่กินไม่ได้เพราะทำให้มันปนเปื้อนด้วยเคมีและขยะมูลฝอย ป่าไม้ที่เคยมีอยู่เต็มโลกก็หายไป ท่านได้พูดถึงเศษฐกิจพอเพียงว่า ดังนั้นคำว่าพอเพียงหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป้าหมายจริงๆคือการกลับไปสู่การพึ่งตนเอง พึ่งตนเองบนพื้นฐานปัจจัย 4 คือ 1.อาหาร 2.ที่อยู่อาศัย 3.ของใช้ 4.การดูแลรักษาสุขภาพ ทั้ง 4 อย่างนี้คือพื้นฐานของชีวิตที่ต้องเพิ่งตนเองได้

ในการจัดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน”ในครั้งนี้ เพื่อสบทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ณ บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษา โดยการนำหลักเศษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ได้พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในการประกอบอาชีพต่าง ๆ และเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้และดูงานต่อไป

วันที่  16  พฤษภาคม พ.ศ.2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย ลงพื้นที่ในหมู่บ้านสระหมู หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่สุดในตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งมีทั้งหมด 54 ครัวเรือน พื้นที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากถนนหลักพอสมควรบริเวณรอบๆเต็มไปด้วยป่าไม้และพื้นที่ทำเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรอีกด้วย จากการลงพื้นที่รอบนี้ตามที่ https://cbd.u2t.ac.th/ ต้องหาข้อมูลตามนี้ พบว่า

ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

ไม่มีผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

แหล่งท่องเที่ยว

ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

ที่พัก/โรงแรม

ไม่มีที่พัก/โรงแรม

ร้านอาหารในท้องถิ่น  

ไม่มีร้านอาหารในท้องถิ่น

อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

ไม่มีอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

เกษตรกรในท้องถิ่น

เกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่ทำนาข้าว ทำสวนมันสัมปะหลัง และเลี้ยงสัตว์

พืชในท้องถิ่น

          พืชในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นข้าว มันสำปะหลัง ผักสวนครัว

สัตว์ในท้องถิ่น

          สัตว์ในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น วัว ควาย เป็ด และไก่

ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

          ไม่มีภูมิปัญญา

แหล่งน้ำในท้องถิ่น

          แหล่งน้ำที่พบมี 1 แห่ง คือ หนองสระหมู อยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน

 

เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กชาวบ้านดำรงชีวิตโดยการทำเกษตรและปลูกผักรับประทานเองและหาอาหารที่มีตามฤดูการในพื้นที่จึงมีร้านขายของชำเพียงที่เดียว ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยความสงบจึงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว 

 

 

อื่นๆ

เมนู