ดิฉัน นางสาววรลักษณ์ ไกรษร กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย HS03

เดือนพฤษภาคม

              การปฏิบัติงานในเดือนเมษายน – พฤษภาคมที่ผ่านมามีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ถึงแม้จะมีการสะดุดในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่กลับมาระบาดหนักอีกครั้งในระลอกที่ 3  แต่ก็ยังมีการแก้ไขปัญหาในการทำงานกันได้ดีโดยการปฏิบัติงานมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

              ในช่วงปลายเดือนเมษายน ดิฉันได้ทำการอบรมทักษะทางด้านการเงินจนเสร็จเรียบร้อยครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด ซึ่งเป็นการอบรมทักษะด้านสุดท้ายที่ทำให้ได้อบรมทักษะทั้งหมดครบทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านดิจิทัล 2.ด้านภาษาอังกฤษ 3.ด้านการเงิน 4.ด้านสังคม ซึ่งได้มีการอบรมมาตั้งเเต่เดือนเเเรกของการทำงานเป็นอันเสร็จสิ้นทั้งหมด  

 ในเดือนพฤษภาคมได้มีการนัดหมายวางแผนการปฏิบัติงานทางออนไลน์โดยอาจารย์ประจำหลักสูตร เริ่มที่การนัดประชุมออนไลน์ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เป็นการประชุมเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงาน ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลอีกครั้งในช่วงสถาณการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยเป็นการเก็บข้อมูลผ่านทาง Application https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. เป็นการประชุมออนไลน์เพื่อทำความเข้าใจและให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลในแอพโดยมีอาจารย์คอยแนะนำและชี้แจงเเนวทางการปฏิบัติงาน 

                    

ต่อมา วันที่ 12 พฤษภาคม ดิฉันได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสด งานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์จับโจน” ผ่านทางช่อง Youtube : HUSOC-BRU Channel งานเริ่มตั้งเเต่เวลา 09.00 – 16.00 น.  โดย นายธัชกร  หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธีเเละมีวิทยากรพิเศษที่ได้รับเชิญมาร่วมบรรยายด้วย 2 ท่านคือ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ ดร. ยักษ์ บรรยายในหัวข้อ “กสิกรรมธรรมชาติ บนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งเเละยั่งยืน” โดยเริ่มบรรยายตั้งเเต่เวลา 10.00-11.00 น. เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 เพื่อพัฒนามนุษย์สร้างความเกื้อกูลแก่ธรรมชาติ อนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์ดิน ฟื้นฟูระบบนิเวศ ให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย มีรายได้เหลือพอสำหรับใช้สอยในสิ่งจำเป็นดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเป็นสุขและยั่งยืน การเรียนรู้นี้จะทำให้ทัศนคติการดำรงชีวิตมีเหตุมีผลมากขึ้น โดยเริ่มจากจากหาข้าวหาปลาในที่ดินของตนเอง ซึ่งจะต้องทำดินให้มีคุณภาพ พื้นที่กักเก็บน้ำได้ และสามารถปลูกพืชนานาชนิดร่วมกัน เช่น ไม้กิน ไม้ใช้งาน ร่วมกับสมุนไพร  สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเกิดจากผลลัพธ์ที่มาจากการบริหารจัดการพื้นที่ทำกิน

 และ คุณโจน จันได บรรยายในหัวข้อ “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชาทางเลือกและทางรอดในโลกยุคโรคระบาด” เริ่มบรรยายตั้งเเต่เวลา 13.00-14.30 น. เป็นการบรรยายเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในการเดินทางสายกลางด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่ดีพอสมควร อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งมีบทพิสูจน์แล้วสามารถหลุดพ้นจากหนี้สิน และสร้างความยั่งยืน จึงทำให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ  คนมักจะไม่เข้าใจคำว่าพอเพียงและหลายคนก็มักจะคิดว่าคำว่าพอเพียงหมายถึงไปอยู่แบบเป็นชาวไร่ชาวนาตากฝนตากลมและก็ไม่ชอบไม่แคร์อะไรมากมาย นั่นคือความคิดที่ผิด คำว่าพอเพียงไม่ได้หมายความว่าอดอยาก แต่ก็ทำให้มันเพียงพอ ไม่ให้ความขัดสนในชีวิตจริงหรือเรารู้สึกว่าเรามีมากเกินไป แน่นอนแล้วเราขัดสนมากเลยทุกวัน

ต่อมาวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2564 ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตาม Application https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. โดยข้อมูลทั้งหมดที่มีคือ 

-ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19                                                                                               

-แหล่งท่องเที่ยวตามชุมชน                                                                                                                               

-ที่พัก/โรงแรมในท้องถิ่น                                                                                                                                       

-ร้านอาหารในท้องถิ่น                                                                                                                                           

-อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น                                                                                                                                 

-เกษตรกรในท้องถิ่น                                                                                                                                             

-พืชในท้องถิ่น                                                                                                                                                       

-สัตว์ในท้องถิ่น                                                                                                                                                     

-ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                                                                                                             

-แหล่งน้ำในท้องถิ่น                                                               

ซึ่งจะมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามพื้นที่หมู่บ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ โดยดิฉันรับผิดชอบบ้านหนองม่วง ม.12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ได้เก็บข้อมูลมาในบางส่วนซึ่งมีข้อมูลดังนี้

ร้านอาหารในท้องถิ่น ชื่อ ร้านป้าชำนาญ เมนูที่มีในร้านคือก๋วยเตี๋ยวและน้ำแข็งใส สามารถนำเด็กเล็กเข้าใช้บริการได้นั่งทานในร้านได้ (แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะให้บริการแบบซื้อกลับบ้านมากกว่า) มีที่จอดรถ จำนวน 5 คัน จำนวนที่นั่งประมาณ 5-6 คน เวลาเปิดให้บริการคือ 06.00-20.00 น.และเปิดให้บริการทุกวัน

แหล่งน้ำในท้องถิ่น ชื่อ หนองน้ำบ้านหนองม่วง เป็นแหล่งน้ำประเภทหนองน้ำ ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำมากคือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม  ช่วงเวลาน้ำน้อยคือช่วงหน้าเเล้งเดือนตุลาคม-มีนาคม คุณภาพของน้ำยังน้อยมากซึ่งสามารถใช้ในการทำการเกษตรได้เท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้

สัตว์ในท้องถิ่น ชื่อเรียกของสัตว์ วัว เป็นสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  จำนวนสัตว์เพศผู้ที่พบโดยประมาณคือ 150 ตัว จำนวนสัตว์เพศเมียที่พบโดยประมาณคือ 150 ตัว โดยการเลี้ยงของชาวบ้านส่วนใหญ่คือการเลี้ยงไว้จำหน่าย เลี้ยงไว้เป็นอาหาร และเลี้ยงไว้เพื่อทำเป็นพ่อพันธุ์/แม่พันธุ์ 

พืชในท้องถิ่น คือ กล้วย มะพร้าว โดยปลูกเพื่อเอาไว้ใช้เป็นอาหารและจำหน่าย จำนวนที่พบในท้องถิ่นโดยประมาณคือ 50 ต้น โดยส่วนใหญ่จะปลูกในสวนของใครของมัน

ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้เป็นเเค่ข้อมูลบางส่วนที่ดิฉันได้ทำการลงพื้นที่เก็บมา โดยเป็นการลงสำรวจพื้นที่และมองภาพรวมของบ้านหนองม่วง ม.12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เเพร่ระบาดอย่างหนักทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า ดิฉันจึงจะพยายามเก็บข้อมูลให้ได้ครบตามจำนวนและให้ได้เร็วที่สุดตามกำหนด

อื่นๆ

เมนู