ข้าพเจ้า นางสาวเบญจพร เพ็งคำ ประเภทประชาชน ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   หลักสูตรการแปรรูปขนมไทย HS03 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 บ้านโคกพลวง ณ ศาลากลางบ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  

วันที่ 2 ตุลาคม  2654

     อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายการประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Google Meet เพื่อชี้แจงการทำงานในเดือนสิงหาคมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ตำบล ทั้งตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ ได้มีการชี้แจงรายละเอียดตารางงานและได้มอบหมายงานเดือนตุลาคมคือจัดเก็บข้อมูลลงในระบบ U2T Tracker และยังได้แนะนำสมาชิกใหม่เพื่อให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้รู้จัก     

                                                   

วันที่ 5  ตุลาคม  2654

       อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายการประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Google Meet เพื่อชี้แจงการทำงานในเดือนสิงหาคมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ตำบล ทั้งตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์

 และทางอาจารย์ได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้กรอกแบบสอบถามลงในระบบ U2T-SROI โดยแบ่งมอบตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผิดชอบ

ตำบลเป้าหมาย ประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร ตำบลละ 3 ราย(ทุกตำบลที่เข้าร่วมโครงการ)
ลูกจ้างโครงการ นักศึกษา, บัณฑิต, ประชาชน ตัวแทนนักศึกษา3ราย,บัณฑิต3ราย, ประชาชน 3 ราย
ครอบครัวลูกจ้าง ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการลูกจ้าง 1 ครอบครัว/ตำบล
ชุมชนภายใน ชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้ำที่ตั้งอยู่ใน”พื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ ) เช่นเจ้าของร้านข้าวมันไก่ ในตำบล 1 ราย/ตำบล
ชุมชนภายนอก ชุมชน ชุมชน/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ภายนอกชุมชน(ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ )เช่นเจ้าของร้านอุปกรณ์การเกษตร ที่อยู่นอกตำบล 1 ราย/ตำบล 
อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ อาจารย์ผู้ดูแลอาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในแต่ละตำบลนั้นๆ 1 คน/1แบบสอบถาม
เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ 1 คน/usi
ผู้แทนตำบล เจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล *ผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล 1 คน/ตำบล
หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่นภาครัฐ โรงพยาบาล/พัฒนาชุมชน/รพ.สต 1 คน/หน่วยงาน
อปท. ตัวแทน อปท.มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต/เทศบาลตำบล  

1 คน/ตำบล

เอกชนในพื้นที่ บริษัทห้างร้านหรือกิจการในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างหจก/บริษัท ภายในตำบล 1 คน/ตำบล

               

วันที่ 15   ตุลาคม  2654

ทางคณะอาจารย์ประจำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มตำบลหนองโบสถ์  ได้ลงพื้นที่บ้านโคกพลวง ณ ศาลากลางบ้านโคกพลวงเพื่่อสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรโดยทางวิทยากรได้สอนวิธีทำสมุนไพร   ดังต่อไปนี้

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

 

 

สเปรย์กันยุงสมุนไพร

 

ส่วนประกอบ

 

           

1) เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร                        2) ตะไคร้หอมนั่นฝอย 100 กรัม                                         3) ผิวมะกรูด 50 กรัม

4) การบูร 50 กรัม

วิธีทำ

1) นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดนั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อ ด้วยผ้าขาวบาง

2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)

3) กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน

 

สำหรับวิธีใช้ ให้ฉีดตามผิวกายแต่ควรระวังการสัมผัสกับเยื่อบุอ่อนที่บอบบาง เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง

  น้ำมันเหลือง

การเตรียมน้ำมันไพล

ส่วนประกอบ:

 

                                   

(1) ไพล 200 กรัม                                                                      (2) ขมิ้น 50 กรัม                                             (3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทำ

นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มโดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพล ประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)

 

                                     

 

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง

 

             

1) เมนทอล 120 กรัม                                                     2) การบูร 80 กรัม                                            3) พิมเสน 40 กรัม

 

4) น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทำ                                                                                                                                                                                                                                                          ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมด สามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

สรรพคุณ       ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือสูดดม บรรเทาอาการวิงเวียน

 

ยาหม่องไพล

 

ส่วนประกอบ

   

1) วาสลิน 120 กรัม                                                                       2) พาราฟิน 80 กรัม

 

 

                         

3) น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร                                                                             4) พิมเสน 20 กรัม

 

 

                           

5) เมนทอล 20 กรัม                                                                                         6) การบูร 20 กรัม

                             

7) น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร                                                              8) น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ

  1. ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
  2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  3. เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่าง เมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

หมายเหตุ

  1. ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
  2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
  3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

   เกร็ดความรู้

  1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
  2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
  3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
  4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว 5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
  5. น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
  6. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด

 

สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแบบสอบถาม U2T-SROI

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแบบสอบถาม U2T-SROI โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอบถามข้อมูลผู้แทนตำบลเจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล ได้มีการสอบถามและบันทึกข้อมูลจนเสร็จสิ้น  โดยการสอบถามครั้งได้เจ้าหน้าที่ให้สัมภาษณ์ว่า อยากให้มีโครงการแบบนี้อีกเพราะได้ให้ความรู้กับประชาชนและยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้    ได้ความรู้จากการทำสมุนไพรต่างๆและยังได้รู้ถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์นั้น

อุปสรรค์ในการทำกิจกรรม  การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ทำให้ชาวบ้านมาได้น้อยและเวลาจำกัด

สรุปในผลการดำเนินกิจกรรมในเดือนตุลาคม                                                                                                                                                                                         ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ชาวบ้านได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์และยังได้ลงมือปฏิบัติเองทำให้ชาวบ้านได้มีเกร็ดความรู้และยังได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการแปรรูปสมุนไพรสามารถทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้และการนำไปใช้ชีวิตประจำวันและยังสามารถนำสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนได้ส่วนในด้านการเก็บข้อมูลการจัดเก็บแบบสอบถาม U2T-SROI โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในเจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล โดยได้มีการสอบถามถึงกระบวนการทางโครงการซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลและอยากให้มีโครงการแบบนี้อีกเพื่อที่จะได้นำไปเผยแพร่ให้กับชาวบ้านเพื่อที่จะไดีรายได้และอาชีพเสริมและยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

 

อื่นๆ

เมนู