ข้าพเจ้านายพัชระ ปะกัง ประเภทนักศึกษา ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตรการแปรรูปขนมไทย

วันที่ 2 ตุลาคม 2564

ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ เพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 เดือน พร้อมแนะนำผู้ปฏิบัติงานท่านใหม่ให้กับทีมงานบ้านหนองโบสถ์และบ้านสิงห์ และได้แบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจตามที่ได้รับมอบหมาย

ภาพประกอบ

 

วันที่ 5 ตุลาคม 2564

ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ เพื่อรับทราบงานเกี่ยวกับ แบบสอบถาม U2T-SROI และได้แบ่งให้ผู้ปฏิบัติงานกรอกแบบสอบถามตามกลุ่มเป้าหมายต่อไปนี้

1. ตำบลเป้าหมาย  => ประธานวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร

2. ลูกจ้างโครงการ  => นักศึกษา, บัณฑิต, ประชาชน

3. ครอบครัวลูกจ้าง  => ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ

4. ชุมชนภายใน  => ชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ ) เช่น เจ้าของร้านข้าวมันไก่ในตำบล

5. ชุมชนภายนอก  => ชุมชน/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ภายนอกชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ ) เช่น เจ้าของร้านอุปกรณ์การเกษตรที่อยู่นอกตำบล

6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ  => อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในแต่ละตำบลนั้นๆ

7. เจ้าหน้าที่โครงการ (USI)  => เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ

8. ผู้แทนตำบล  => เจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล *ผู้ได้รับหมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล

9. หน่วยงานภาครัฐ  => หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล/พัฒนาชุมชน/รพ.สต.

10. อปท.  => ตัวแทน อปท.มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต/เทศบาลตำบล

11. เอกชนในพื้นที่  => บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก/บริษัท ภายในตำบล

ภาพปะกอบ

 

วันที่ 8 ตุลาคม 2564

ข้าพและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนักศึกษาบ้านหนองโบสถ์และบ้านสิงห์ ได้มาเตรียมอุปกรณ์ ณ อาคาร 7 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำหรับการทำยาหม่อง ยาหอม และสเปรย์ไล่ยุง เพื่อใช้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ศาสากลางบ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพประกอบ

 

วันที่ 12-16 ตุลาคม 2564

ข้าพได้ลงพื้นเก็บแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ณ บ้านหนองทองลิ่ม  ตำบลหนองโบสถ์   อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 ชุด ในการเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ หลังจากที่ได้พูดคุย ซักถามข้อมูลรายละเอียดตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางได้ให้มา พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครวบครัว ว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร  และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้ว เป็นต้น  เมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยและเมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน จะล้างมือ ชำระร่างกาย หรือเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที

วันที่ 15 ตุลาคม 2564

ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดการอบรมการทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร ยาหม่องไพล และน้ำมันเหลือง ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางนอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี ดร.สุกัญญา  ทองขัน และ ดร.สุภาวรัตน์  ผลินยศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และอธิบายขั้นตอนการทำเปรย์กันยุงสมุนไพร ยาหม่องไพล และน้ำมันเหลือง

การทำเปรย์กันยุงสมุนไพร

ส่วนประกอบของการทำเปรย์กันยุงสมุนไพร

1. เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร

2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม

3. ผิวมะกรูด 50 กรัม

4. การบูร 50 กรัม

ขั้นตอนการทำเปรย์กันยุงสมุนไพร

1. นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง

2. แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาให้สนิทหมักทิ้งไว้ 1สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)

3. กรอกใส่ขวดพร้อมน้ำไปใช้งาน

การทำยาหม่องไพล

ส่วนประกอบของการทำยาหม่องไพล

1. วาสลีน 120 กรัม

2. พาราฟิน 80 กรัม

3. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร

4. พิมเสน 20 กรัม

5. เมนทอล 20 กรัม

6. การบูร 20 กรัม

7. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร

8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

ขั้นตอนการทำยาหม่องไพล

1. ชั่งพาราฟินและวาสลีนลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตุว่าพาราฟินวาสลีนจะเริ่มละลาย (น้ำใสๆ)

2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

3. เมื่อพาราฟินและวาสลีนใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมส่วนผสมระหว่าง เมนทอล การบรู พิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน

4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

*หมายเหตุ

1. ไม่ควรให้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้

2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้

3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

การทำน้ำมันเหลือง

ส่วนประกอบของการทำน้ำมันไพล

1. ไพล 200 กรัม

2. ขมิ้น 50 กรัม

3. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

ขั้นตอนการทำน้ำไพล

นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดปลอกเปือกให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพล และขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70 – 80 มิลลิลิตร)

ส่วนประกอบของการทำน้ำมันเหลือง

1. เมนทอล 120 กรัม

2. การบรู 80 กรัม

3. พิมเสน 40 กรัม

4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

ขั้นตอนการทำน้ำมันเหลือง

ผสมเมนทอล การบรู และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล แล้วจึงเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

ภาพประกอบ

 

สรุปผลการปฏิบัติงาน

ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดการอบรมการทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร ยาหม่องไพล และน้ำมันเหลือง เพื่อให้คนในชุมชนได้ทราบถึงขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และจากที่ได้พูดคุย ซักถามข้อมูลการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครวบครัวอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และเมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

วีดีโอ

 

อื่นๆ

เมนู