ข้าพเจ้านายทัศฎากรณ์  ศรีสุรินทร์  ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโบสถ์
หลักสูตร HS03 การแปรรูปขนมไทย
เขตพื้นที่รับผิดชอบ บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม มีดังนี้

การประชุมผ่าน Google Meet ครั้งที่ 1      

      เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ทุกท่านให้เข้าร่วมการประชุมผ่าน Google meet โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงการทำงานของเดือนตุลาคม แบ่งหน้าที่การเก็บข้อมูลให้ผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองโบสถ์ การมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ให้เรียนรู้ทักษะผ่านระบบ E-Lernning ให้ครบทั้ง 4 ด้าน และได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

        

                           ภาพการประชุมผ่าน Google Meet

การลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบสอบถาม

         เมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับที่พักอาศัยในชุมชนบ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนการปฎิบัติงาน ข้าพเจ้าได้มีติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านโคกพลวง เพื่อขออนุญาตเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่และประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนในหมู่บ้านจากการสอบประชากรในชุมชนพบว่า

      1. ประชาชนมีการป้องกันตนเอง และบุคคลในครอบครัวเป็นอย่างดี มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน ไม่มีบุคคลในครัวเรือนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
      2. ประชาชนมีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
      3. ประชาชนมีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนทำกิจวัตรประจำวันและเมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน
      4. ประชาชนรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่โดยใช้ช้อนส่วนตัว
      5. ประชาชนไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน
      6. เมื่อกลับจากการทำภารกิจแล้วอาบน้ำชำระร่างกายทันที

ภาพการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

การประชุมผ่าน Google Meet ครั้งที่ 2

       เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ทุกท่านให้เข้าร่วมการประชุมผ่าน Google meet โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI และมอบหมายงานในจัดเตรียมสถานที่อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ในวันที่ 15 ตุลาคม ณ ศาลาประชาคมบ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพการประชุมผ่าน Google Meet

อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง

     เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง โดยเรียนเชิญตัวแทนชุมชนในตำบลหนองโบสถ์เข้าร่วมอบรม  โดยมี ดร.สุกัญญา  ทองขัน และ ดร.สุภาวรัตน์  ผลินยศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในการจัดทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลืองและยาหม่องไพล ณ ศาลาประชาคมบ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร

ส่วนประกอบสเปรย์กันยุงสมุนไพร
     1) เอทิลแอลกอฮอล์      1 ลิตร
     2) ตะไคร้หอมนั่นฝอย   100 กรัม
     3) ผิวมะกรูด          50 กรัม
     4) การบูร            50 กรัม

วิธีทําสเปรย์กันยุงสมุนไพร
     1) นําตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นํามาห่อ ด้วยผ้าขาวบาง
     2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอยอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เขย่าทุกวัน
     3) กรอกใส่ขวดพร้อมนําไปใช้งาน

 

2. น้ำมันเหลืองและน้ำมันไพล

ส่วนประกอบน้ำมันไพล
     (1) ไพล 200 กรัม (2) ขมิ้น 50 กรัม
(3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทําน้ำมันไพล
     นําไพลและขมิ้นที่แก่จัดมาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง จากนั้นนําไปทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลางจนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง กรองเอาน้ำมัน จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
     1) เมนทอล 120 กรัม  2) การบูร 80 กรัม
     3) พิมเสน 40 กรัม    4) น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทําน้ำมันเหลือง
     ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย(ถ้าละลายไม่หมด สามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย)แล้วจึงเติมน้ำมันไพลและเทลงขวดบรรจุเพื่อนําไปใช้งาน

 

3. ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบของยาหม่องไพล
     1) วาสลิน 120 กรัม   2) น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
     3) เมนทอล 20 กรัม   4) น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
     5) พาราฟิน 80 กรัม   6) พิมเสน 20 กรัม
     7) การบูร 20 กรัม    8) น้ำมันระกํา 100

วิธีทํายาหม่องไพล
     1. ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนํามาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลายใส
     2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกํา น้ำมันยูคาลิปตัส และ น้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
     3. เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่าง เมนทอล การบูร พิมเสนน้ํามันระกําและน้ํามันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
     4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่อง แข็งตัว

หมายเหตุ
     1. ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทําให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทําให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
     2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทําการตันในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
     3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มา

เกร็ดความรู้
     1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรค ตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
     2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลําคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
     3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
     4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทําให้น้ำมันแข็งตัว
     5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทําให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
     6. น้ำมันระกําเป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
     7. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด

สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแบบสอบถาม U2T-SROI    

     เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแบบสอบถาม U2T-SROI โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอบถามข้อมูลจากลูกจ้างในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้มีการสอบถามและบันทึกข้อมูลจนเสร็จสิ้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฎิบัติงาน
     1. การติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่เพื่อชี้แจงขั้นตอนการปฎิบัติงาน
     2. การร่วมประชุมวางแผนก่อนการปฏิบัติงานก่อนทุกครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย
     3. การมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
     4. ได้เรียนรู้กระบวนการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน
     5. ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
     1. ยังขาดทักษะในการปฎิบัติงานและความรู้ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
     2. การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ทำให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจึงต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น

วิธีการแก้ไขปัญหา
     1. วางแผนการทำงานและเรียนรู้ทักษะการปฎิบัติงานจากอาจารย์ผู้ควบคุมและสมาชิกกลุ่มลูกจ้าง U2T
     2. มีการป้องกันตนเองโดยการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) จำนวน 2 เข็มและสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ปฎิบัติงานและร่วมทำกิจกรรม

สรุปผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม
     1. จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจและสอบถาม พบว่าประชาชนมีการป้องกันตนเองและบุคคลในครอบครัวเป็นอย่างดี มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน ไม่มีบุคคลในครัวเรือนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ข้าพเจ้าได้บันทึกภาพการลงพื้นที่เพื่อใช้ประกอบการจัดทำวิดีโอและสรุปการทำงานประจำเดือน ชาวบ้านโคกพลวงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการเว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัยตลอดการสนทนา ซึ่งเป็นดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกัน COVID-19 อย่างเคร่งครัด
     2. การเข้าร่วมอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเองนั้นได้รับความร่วมมือจากผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี มีการแบ่งกลุ่มการปฎิบัติงาน มีการจัดสรรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ ได้รับความรู้จากวิทยากรทำให้เกิดทักษะในการปฎิบัติงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้การจัดทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลืองและยาหม่องไพลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

บรรยากาศการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564 จัดทำขึ้นในรูปแบบวิดิโอ

อื่นๆ

เมนู