ข้าพเจ้า นางสาวจิราพร สุบงกช ประเภทประชาชน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 22 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมอบรมการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียน OTOP โดยมีวิทยากรคือ คุณภัทรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และคุณชยุต ชำนาญเนาว์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อำเภอนางรอง มาให้ความรู้ในครั้งนี้
ความหมายของกลุ่มและกลุ่มอาชีพ
กลุ่ม คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันโดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กันและมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี
กลุ่มอาชีพ คือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกันดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มมีระเบียบข้อบังคับ
การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)
ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน
การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP
จากแนวคิดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP) ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชนหรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน (3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน
ประเภทผลิตภัณฑ์ ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญาจำนวน 5 ประเภท ดังนี้
- ประเภทอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด 2) ผลิตผลทางการเกษตรที่ เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น 3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป
- ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
- ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
- ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
- ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
“ ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง ”
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กำหนดมีลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องกันภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเอียงเป็นมุม 45 องศา
หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
- ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
- ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
- สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
- เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.
- รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตลอดระยะเวลาที่ได้รับ การรับรองและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
- นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
- ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการพักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
- จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
- แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน เปลี่ยนชื่อ นิติบุคคล ย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์
การตรวจติดตามผล
- ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรอง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจประเมิน ณ สถานที่ทำของผู้ได้รับการรับรอง อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ
การต่ออายุใบรับรอง
- ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
- หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.
การสิ้นอายุใบรับรอง
- ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
- ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
- ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
- มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
- มาตรฐานมีการยกเลิก
- ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน
เอกสารด้านอาหาร (อย.)
1. แผนที่ตั้งสถานที่ผลิตอาหาร 2. แผนที่ใกล้เคียงสถานที่ผลิตอาหาร
3. แผนผังภายใน 4. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ผลิต
5. สำเนาบัตรประชาชนผู้ขออนุญาต 6. สำเนาทะเบียนพาณิชย์
7. กระบวนการผลิตอาหาร 8. ตัวอย่างฉลากอาหร
ฉลากอาหาร ประกอบด้วย
1. ชื่ออาหาร 2. สถานที่ผลิต
3. ส่วนประกอบ รวมกันได้ 100% 4. อย.
5. วันเดือนปีที่ผลิต 6. วันเดือนปีที่หมดอายุ
7. ปริมาณสุทธิ
วันที่ 24 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ เพื่อไปสำรวจข้อมูลในชุมชนแล้วทำการคีย์ข้อมูลลงในระบบ https://cbd.u2t.ac.th ดังหัวข้อต่อไปนี้
ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว
ที่พักโรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น
อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น
พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น
วันที่ 30 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมอบรมการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากรอาจารย์ ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาให้ความรู้กับชาวบ้านในการขายของทางออนไลน์ ก่อนที่จะตั้งชื่อเพจได้มีการพูดคุยถึงผลิตภัณฑ์ในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งแบ่งเป็น ของกินและของใช้ เช่น กล้วยเบรกแตก กล้วยอบเนย ข้าวฮาง ทาร์ตไข่ ขนมตาล บ้าบิ่น เค้กกล้วยนึ่ง กระเป๋าสานพลาสติก หมวกไหล เสื่อไหล กระเป๋าผ้าขาวม้า และได้สร้างชื่อเพจ Facebook ให้กับชุมชนว่า “ผลิตภัณฑ์ดี ที่หนองโบสถ์” จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานถ่ายรูปผลิตภัณฑ์และทำการโพสต์เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับชุมชน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google Meet อาจารย์ได้มอบหมายให้กับผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ยอดตามเป้าหมาย บัณฑิตจบใหม่ 20 คน ประชาชน 15 และนำข้อมูล CBD มาวิเคราะห์ และได้เลือกหัวข้อ คือ แหล่งน้ำ ประชาชนและนักศึกษารับผิดชอบ แหล่งท่องเที่ยวและอาหารประจำท้องถิ่น บัณฑิตจบใหม่รับผิดชอบ
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร อาจารย์ ดร. สุกัญญา ทองขัน อาจารย์ ดร. วิริญรัชญ์ สื่อออก จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาให้ความรู้และขั้นตอนวิธีทำลูกประคบสมุนไพร และวิทยากรจากโรงพยาบาลนางรองมาให้ความรู้ข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวดแผนไทย
“การทำลูกประคบสมุนไพร”
วัสดุ-อุปกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)
– ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 × 40 เซนติเมตร – เชือกยาว 200 เซนติเมตร
– ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร – เครื่องชั่ง
ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งได้)
– ไพล 400 กรัม – ขมิ้นชัน 100 กรัม – ตะไคร้ 200 กรัม
– ผิวมะกรูด 100 กรัม – ใบมะขาม 100 กรัม – ใบส้มป่อย 50 กรัม
– การบูร 30 กรัม – พิมเสน 30 กรัม – เกลือ 60 กรัม
วิธีการทำ
- บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
- ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
- ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
- ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
- บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี
“กลุ่มน้ำมันหอมระเหย”
- ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
- ตะไคร้ แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวดเมื่อย
- ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
- ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
- ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)
- ผิวส้ม บรรเทาลมวิงเวียน
- ข่า รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
“กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อนๆ)”
- ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นอ่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
- ใบขี้เหล็ก ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย
- ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน
“กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม (จะระเหยเมื่อถูกความร้อน)”
- การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
- พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ
- เกลือ ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น
การเก็บรักษาลูกประคบ
- เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
- สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3-5 วัน
การใช้งาน
- สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
- นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
สรุปผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน ในการจัดกิจกรรมการอบรมหรือการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจึงต้องระมัดระวังตนเอง มีการจัดสถานที่เว้นระยะห่าง จำกัดผู้เข้าร่วมอบรม และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง