ข้าพเจ้านายกันตพงษ์ คำวิชัย ประเภทนักศึกษา ต.หนองโบสถ์                                                                       หลักสูตร:HSO3 การเเปรรูปขนมไทยเพื่อเพิ่มรายได้ในชุมชน

การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน

     วันที่ 22 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานพร้อมด้วยตัวเเทนชุมชน เข้าร่วมอบรมการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียน OTOP โดยมี คุณภัทรวดี มักขุดทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ คุณชยุต ชำนาญเนาว์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้
การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP
กลุ่มอาชีพ
     คือการรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ
การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP

จากแนวคิดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ

โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ความเป็นมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท

  1. ประเภทอาหาร
  2. ประเภทเครื่องดื่ม
  3. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
  4. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
  5. ประเภทเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก
หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
-สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
-สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)
สำนักงำนอุตสำหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ 97/7 ถ.อินจันทร์ณรงค์ ต.ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 โทร.044-612934 ต่อ 401-404
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
• ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
• สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
• เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.
  1. รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองตลอดระยะเวลาที่ได้รับ  การรับรองและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
  2. นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
  3. ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการพักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
  4. จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
  5. แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน เปลี่ยนชื่อ  นิติบุคคล ย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์
การตรวจติดตามผล

1.ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2.ตรวจประเมิน ณ สถานที่ท าของผู้ได้รับการรับรอง
– อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ
– แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ

การต่ออายุใบรับรอง
  1. ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ(หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
  2. หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.
การสิ้นอายุใบรับรอง
  1. ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
  2. ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
  3. ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
  4. มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
  5. มาตรฐานมีการยกเลิก
  6. ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน

 

 

 

 

วันที่ 25 ตุลาคม 2564

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานบันทึกข้อมูล CBD บ้านไทยทอง หมู่ที่ 14 ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ข้อมูล CBD มี 10 หัวข้อต่อไปนี้

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พักโรงแรม

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.เกษตรกรในท้องถิ่น

7.พืชในท้องถิ่น

8.สัตว์ในท้องถิ่น

9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

 

 

วันที่30 ตุลาคม 2564

ได้จัดกิจกรรมอบรมการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขนม “โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน”   เพื่อจะได้จัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อได่แก่ของกินและของใช้ จากนั้นผู้ปฏิบัติงานได้มีการถ่ายรูปและสร้างเพจ Face book เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่ายมากขึ้นโดยมี อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเพจ Face book โดยได้จัดสร้างเพจในชื่อว่า “ผลิตภัณฑ์ดี ที่หนองโบสถ์”

 

 

 

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564

ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ณ  ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.สุกัญญา ทองขัน และ อาจารย์ ดร.วิรัญรัชญ์ สื่อออก อาจารย์ประจำสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ได้สอนการทำลูกประคบสมุนไพร โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำดังนี้

อุปกรณ์

  1. ผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร
  2. ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  3. เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  4. เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง

  1. ไพล 400 กรัม
  2. ผิวมะกรูด 100 กรัม
  3. การบูร 30 กรัม
  4. ขมิ้นชัน 100 กรัม
  5. ใบมะขาม 100 กรัม
  6. พิมเสน 30 กรัม
  7. ตะไคร้ 200 กรัม
  8. ใบส้มป่อย 50 กรัม
  9. เกลือ 60 กรัม

วิธีทำ

1.บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ

2.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

3.ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า

4.ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น

5.บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

หลังจากทำลูกประคบสมุนไพรเสร็จได้มีกิจกรรมการสอนนวดแผนไทย หรือ การนวดแผนโบราณ เป็นการนวดขั้นพื้นฐานไม่เป็นอันตราย โดยการอบรมการนวดแผนไทยครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลนางรองเเละนักศึกษาฝึกสอน มาสาธิตวิธีการนวดที่ถูกต้อง  โดยก่อนทำกิจกรรมได้ให้ผู้เข้าอบรมออกกำลังกายยืดเส้นยืดสาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนจะมีการสอนนวดแผนไทยในขั้นตอนต่อไป

 

สรุปผลปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเเละมีความสำคัญหลายกิจกรรม ได้ทั้งความสนุกสนาน ได้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการ จัดทำผลิตภัณฑ์ การทำลูกประคบสมุนไพรแบบแผนโบราณ โดยมีวิธีการอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้ฝึกกระบวนการทำงานการเป็นทีมกับชาวบ้านในชุมชนและผู้ปฏิบัติงานที่เข้ามาใหม่ การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ทำให้การปฏิบัติงานในเดือนนี้ผ่านพ้นไปด้วยดี

 

วิดีโอการปฏิบัติงาน

 

อื่นๆ

เมนู